รีเซต
TRUE OPINIONS : Thanks My Dear Enemy "โคบี้ ไบรอัน" ... by "ต็อกตั้ม พรรษิษฐ์"

TRUE OPINIONS : Thanks My Dear Enemy "โคบี้ ไบรอัน" ... by "ต็อกตั้ม พรรษิษฐ์"

TRUE OPINIONS : Thanks My Dear Enemy "โคบี้ ไบรอัน" ... by "ต็อกตั้ม พรรษิษฐ์"
kentnitipong
20 ธันวาคม 2560 ( 18:42 )
662

TRUE OPINIONS : เมษายน ปี 2016 ผมรับคิวเกมนัดสุดท้ายของฤดูกาลปกติ มันเป็นเกมธรรมดาๆ ของทีมที่ไม่มีลุ้นอะไรแล้ว 2  ทีมสายตะวันตกอย่าง ยูท่าห์ แจ๊ซซ์ มาเยือน สเตเปิล เซ็นเตอร์ พบ แอลเอ เลเกอร์ส ทั้งที่ 2 ทีมไม่มีลุ้นอะไรมากกับผลแพ้ชนะในเกมนั้น แต่ตั๋วและความสนใจกลับสูงลิบ

 

 

นั่นเพราะมันเป็นเกมนัดสุดท้ายแล้ว ที่ NBA จะมีชื่อของ โคบี้ ไบรอันท์ การ์ดระดับตำนานยุค 2000 ลงเล่น หนึ่งในผู้เล่นที่ดีที่สุดเท่าที่โลกบาสเกตบอลเคยมี

ตอนนั้นใจหาย เพราะเขาคือนักกีฬาที่ผมเห็นมากับตา โตมาด้วยกัน เหม็นขี้หน้ามันก็หลายครั้ง ชอบไหมก็ไม่ค่อยแต่ถามว่าดูแล้วเพลินไหม ยอมรับไหม… มาก ผมยอมรับเขา

“แน่นอนผมเสียดายมาก และก็นึกอยู่นานจะพูดอะไรดีวันส่งเขาในเกมสุดท้ายสำหรับศัตรูที่รัก ( My Dear Enemy) คนนี้”

มันคงไม่ให้เกียรตินักหากจะพูดเล่นพูดหัว พูดผิดถูกออกไป ขณะบรรยายยิ่งคิดต่อว่าหากเขาได้ยินหรือมีคนไปเอาคลิปไปรวมแปลเอาไว้ตาม Youtube ผมจะพูดอะไรดี ที่จำได้แม่นก่อนพากย์เกมสุดท้ายผมทำข้อมูลตามปกติโดยมากเป็นเรื่องของเขา ทำมันออกมาเยอะมาก ยิ่งเปิดหาข้อมูล จับมาเรียงร้อย เรื่องไหนควรเล่าตอนไหน ใส่ความอารมณ์ดียังไง หากเกมขาดกระจุย ยูท่าห์ ยำเละจะเล่าเรื่องไหนให้เกมนี้มันเป็นเกม Kobe’s แบบเป็นจริงที่สุด

แปลกมากที่ยิ่งอ่าน ยิ่งนึกภาพตามนั่งน้ำตารื้น เขียนออกมายาวจัด ทั้งๆ ที่ไม่ได้ชอบอะไร ส่วนตัว ตื่นเต้นด้วย นึกสนุกด้วยขนาดชุดบรรยายวันนั้น หัวจรดเท้า แน่นอนเป็นผลิตตภัณฑ์ “โคบี้”

ถึงเวลาเกมจริง โคบี้ ในวัย 37 ปีไม่ทำให้แฟนๆ ผิดหวัง เขาเล่นราวเด็กวัยรุ่นเพลย์ที่เราอยากเห็นเป็นครั้งสุดท้ายมากันครบ ทุกอย่างราบรื่นดี ทั้งตัวผมกับพาร์ทเนอร์ในวันนั้น( คุณเอ๋ วัชรินท์ จัตุชัย) เอนจอยกันเต็มที่ ทว่าความสนุกมันสะดุดจนได้เมื่อเกมผ่าน 3 ควอเตอร์แรกสัญญาณเริ่มต้น 12 นาทีสุดท้ายแม่งยิ่งพากย์ยิ่งสั่น

เหมือนนับถอยหลังสู่อะไรสักอย่างที่จินตนาการไม่ออก “บี้” มึงจะเลิกแล้วจริงเหรอวะ นั่นคือคำถามที่ดังในหัวหน้าห้องบรรยายเหล่าพี่ๆ นักพากย์ และทีมงานเดินมารวมกันที่ห้อง หลายคนได้แค่แว่บมาดู คนไหนว่างก็จับจองที่รอดูฉากสุดท้าย

เกมจบด้วยผลงานมหาเทพ โคบี้ ที่เล่นกับทีมทีมเดียวมา 20 ปี ทำ 60 คะแนน แฟนๆ ในสนามเพื่อนนักกีฬาทุกคน Standing Ovation แน่นอนว่าบรรยากาศในห้องบรรยายก็เช่นกัน

การทำหน้าที่ของผมยังดำเนินไปตามปกติเหมือนทุกครั้ง รับหน้าที่ถอดความบทสัมภาษณ์สด ซึ่งคำอำลาที่จำแม่นในครั้งนั้นก็คือ “You can’t write something better than this” โคบี้ บอกทุกคน อย่างอื่นจำไม่ได้แล้วจำได้แค่ว่ามันจุก พูดได้ช้าลง และปิดไมค์สูดหายใจเป็นพัก

สุดท้ายร้องไห้คาไมค์ แน่นอนว่าเกมดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในที่สุดของอาชีพผู้บรรยายกีฬาของ พรรษิษฐ์ เลย

 

 

เวลาผ่านไปเร็วมากครับ ปีกว่าแล้วจากวันนั้น จนวันนี้ 19 ธันวาคม บ้านเรา เรื่องราวของ โคบี้ กลับมาถึงผมอีกครั้งกับงาน รีไทร์ หมายเลขเสื้อของเขา ทั้ง 8 และ 24 (ใช่ครับเขาเป็นคนแรกและคนเดียวใน NBA ขณะนี้ที่ได้ รีไทร์ เบอร์เสื้อ 2 เบอร์กับทีมทีมเดียวแถมวันเดียวกันอีกด้วย)

ทว่าเกมนี้ผมรับหน้าที่ผู้ติดตามผ่านหน้าจอ รอฟังคำพูดของเขาในสนาม นั่นเพราะตลอด 1 ปีกว่าๆ ผมรู้สึกมาตลอดนั่นคือ โคบี้ ยังมีอะไรค้างในใจจากการสัมภาษณ์ในเกมสุดท้าย แม้ที่ผ่านมาจะมีข่าวให้ตามเรื่อยๆแต่ โคบี้ ไม่เคยพูดถึงเกมนั้นอีกเลย โดยฉพาะเรื่องราวของ เลเกอร์ส จะเป็นอย่างไรเมื่อไม่มีเขา และแล้ววันไขปมก็มาถึง

ช่วงท้ายก่อนปิดงาน โคบี้ พูดถึงความสำคัญในการรีไทร์หมายเลขเสื้อที่เขาเข้าใจไว้น่าฟัง ที่ผ่านมาเวลาเขามองเสื้อที่แขวนไว้บนฮอลล์ มันทำให้เขาฮึกเหิม อยากจะเร่ง อยากรีดความสามารถออกมาให้มากที่สุดเพื่อทำผลงานระดับท็อปให้ได้ พอมาวันนี้ได้มีโอกาสนั้นเป็นของตัวเอง มันไม่เกี่ยวกับความรู้สึกเดิมๆ แล้วมันเป็นเรื่องทีมสปิริต ความรู้สึกหิวกระหายที่ถูกส่งต่อให้ทีม เลเกอร์ส พาองค์กรนี้ทะยานไปข้างหน้า ไปให้ไกลอีก 20 ปี มีการพัฒนาที่ดีขึ้น ยิ่งใหญ่ขึ้นกว่า 20 ปีที่ผ่านมา เพราะถ้าคุณทำงานหนัก สิ่งที่ดูเหมือนฝันก็อาจเป็นจริงได้ในสักวัน…

 

 

อาจเหมือนลิเกนะ แต่พอคำพูดนี้จบลงผมรู้สึกโล่งไปเลย เชื่อว่า โคบี้ เองก็เช่นกันเหมือนเขาได้พูดสิ่งที่ค้างคาออกมาหมดแล้ว เช่นกันกับบทส่งท้ายที่คุ้นเคย และเท่เหลือหลาย

 

Thank you So much
I Love you
Mamba Out
Thank you too , My Dear Enemy

 

ปล. บทความข้างล่างคือ 1 ข้อมูลที่ผมเตรียมบรรยายในเกมสุดท้ายของ โคบี้ เมื่อปีก่อน

ผมตั้งชื่อมันว่า Kobe In Number อ้อ ข้อมูลที่ท่านอ่านอยู่นี้ อัพเดต ณ วันที่ 13 เมษายน 2016 ตามเวลาประเทศไทย

 

 

33,643

มากขนาดนี้เดาไม่ยากครับ นั่นคือจำนวนแต้มที่ทำได้ตลอดอาชีพ ใน NBA พลิกดูทุกหน้าที่บันทึกมีคนทำแต้มมากกว่าเขาแค่ 2 คน ก็คือ ตัวตำนาน Kareem Abdul-Jabbar (38,387) and Karl Malone (36,928)

 

5,640

ลดลงมานิด แต่ยังเป็นแต้มอยู่ครับ แต่เป็นแต้มที่เจ้าตัวทำเอาไว้นับเฉพาะ เพลย์และเหมือนกันมีคนได้มากกว่าเขาเพียงแค่ 2 ท่านก็คือ Michael Jordan (5,987) and Kareem Abdul-Jabbar (5,762)

 

81

ตัวเลขนี้เด็ดขาดมากเพราะเป็นแต้มสูงสุดที่ เขาเคยทำได้ในเกมเดียว มันเกิดขึ้นในเกมปราบ โตรอนโต้ 122-104 on January 22, 2006 หากหาคนที่ทำได้มากกว่าก็มีคนเดียวนั่นคืออสูรร้าย Wilt Chamberlain’s 100-point game ในปี 1962

 

50

ตัวเลขนี้ หมายถึง จำนวนเกมที่นักบาส NBA ทำคะแนน ได้ 50 แต้มขึ้นไปในเกมเดียว เรื่องนี้ยากนะครับ แต่แน่นอน โคบี้ ก็ทำได้บ่อยทีเดียว เขาทำได้ถึง 24 times มากเป็นอันดับสามตลอดกาล ส่วนแพ้ใคร ก็หน้าเดิมๆ Wilt Chamberlain (118) และ Michael Jordan (31)

 

24

ใช่ครับเราเดินมาทางเรื่องราวหมายเ ลขประจำตัว โคบี้ ภาพที่คุ้นตาในระยะหลังเขาสวมหมายเลข 24 ซึ่งเปลี่ยนมาใช้ในปี 2006 หลังจาก เลเกอร์ส แพ้ ฟีนิกซ์ ซันส์ ตกรอบแรกเพลย์ออฟ ทำให้เขาขอเปลี่ยนมาใช้หมายเลข 24 โดยให้เหตุผลอย่างเป็นทางการผ่านช่อง TNT ทางรายการ TNT crew ว่า 24 หมายถึง จำนวน 24 ชั่วโมงในหนึ่งวันที่ต้องทำงานหนักเพื่อประสบความสำเร็จ

ทั้งนี้ ก็มีหลายสมมุติฐานการมโน ทั้งเบอร์ 10 มาจากความพยายามในการก้าวผ่าน ไมเคิล จอร์แดน ไม่ก็เป็นระลึกถึงแต่ไม่เอาตัวไปเป็นโคลน (ประโยคเด็ดเวลามีคนถาม โคบี้ เปรียบเทียบกับ จอร์แดน ว่าเป็น MJ2 ว่า I’m not 2nd MJ I’m 1st Kobe) เขาใส่เสื้อเบอร์มากกว่า เอ็มเจ อยู่หนึ่ง เช่นทีมชาติ จอร์แดน เบอร์ 9 แต่ โคบี้ ต้องเบอร์ 10 เบอร์ 24 ก็น่าจะเข้าทาง ตลอดเวลาที่เขาใส่เสื้อเบอร์สองโหลผลงานก็น่ามองทีเดียว

 

2 NBA titles
3 Western Conference titles

10 All-Star game appearances
1 MVP Award
2 finals MVP awards
7 All-NBA first team
6 All-Defense selections
1 scoring title
3 All-Star Game MVP awards

 

โดยก่อนหน้านั้นตั้งแต่เข้าลีกจนปี 2006 เขาใช้หมายเลข 8 ในการสร้างชื่อมาตลอด เออ ก็สิบปีเหมือนกันนะ เบอร์ 24 ในเสื้อหมายเลข 8 มีประวัติศาสตร์เกิดขึ้นมากมาย นั่นคือ

 

3 NBA Titles
4 Western Conference titles
9 playoff appearances
8 All-Star selections
4 time All-NBA first team
2 time All-NBA second team
2 time All-NBA third team
6 All-Defense selections
1 scoring title
1 All-Star Game MVP award
1 time Slam Dunk champion

 

20

นั่นคือจำนวนฤดูกาลที่ โคบี้ ลงเล่นใน NBA กับทีมเดียวนั่นคือ เลเกอร์ส ตั้งแต่ปี 1996 ครั้งนั้น ทีมที่ดราฟท์เขาคือ ชาร์ลอตต์ ฮอร์เนตส์ ในลำดับที่ 13 ทว่ามันเป็นการดราฟท์ เพื่อการอื่น ฮอร์เนตส์ ไม่ได้อยากได้ตัว โคบี้ จริง และรู้ว่าทีมที่อยากได้เด็กวัย 17 ปี จาก Lower Merion High School in Ardmore, Pennsylvania ในขณะนั้นก็คือ เลเกอร์ส

เหตุเพราะ โคบี้ ไประเบิดฟอร์มเด็กนรก ถล่ม 2 ผู้เล่นเลเกอร์ส อย่าง Larry Drew and Michael Cooper ในช่วงมาเก็บตัวที่ แอลเอ ถึงขั้น เจอร์รี่ เวสต์ GM Lakers ในตอนนั้น บอกว่าเราจะไม่ปล่อยเด็กคนนี้เด็ดขาด เมื่อรู้แบบนี้ ฮอร์เนตส์ ที่รู้แน่แล้วว่าเขาน่าจะเป็นทีมที่มีโอกาสเลือก โคบี้ ได้ก่อน เลเกอร์ส ก็จ้วงขอสิทธิต่างๆ จากยักษ์ แอลเอ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การเจรจาเสร็จสิ้นก่อนกำหนดเวลาเลือกตัวในรอบนั้นเพียง 5 นาที

1 กรกฏาคม 1996 เลเกอร์ส ส่ง วลาดี้ ดิวาช ให้ ฮอร์เนตส์ เพื่อแลกสิทธิ โคบี้ นั่นคือเรื่องราวที่เกิดขึ้นจากการให้ปากคำของ Arn Tellem นายหน้า โคบี้ ตอนนั้น และ Bill Branch, the Hornets’ head scout แน่นอน โคบี้ ในวัย 17 ปีย่างเกรียมๆ เข้า 18 ต้องมีคุณพ่อคุณแม่มาร่วมเซ็นสัญญาตามกฏหมายเพราะยังเป็นผู้เยาว์ ก่อนจะเซ็นสัญญาด้วยตัวเองในช่วงเปิดฤดูกาล เกมแรกที่ลงเล่น

เขาสร้างสถิติ ผู้เล่นอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ NBA 18 years, 72 days ก่อนจะถูกทำลายลงไปโดย เจอร์เมน โอนีล และ แอนดรูว์ ไบนัม ก่อนจะทำแต้มแรก ในการยิงฟรีโทรว์ใส่ นิวยอร์ก นิกส์ Nov. 5, 1996 มันเป็นเกมที่ 2 ในอาชีพของเขา

และนี่คืออายุเพื่อนร่วมทีมของเขา ณ ปัจจุบัน หากเรานับย้อยไปในวันแต้มแรก…

 

  • Metta World Peace : 16 years old (born Nov. 13, 1979)
  • Marcelo Huertas : 13 years, 5 months (May 25, 1983)
  • Brandon Bass : 11 years, 6 months (April 30, 1985)
  • Nick Young : 11 years, 5 months (June 1, 1985)
  • Lou Williams  : 10 years old (Oct. 27, 1986)
  • Roy Hibbert : 9 years, 10 months (Dec. 11, 1986)
  • Robert Sacre : 7 years, 4 months (June 6, 1989)
  • Ryan Kelly : 5 years, 6 months (April 9, 1991)
  • Tarik Black : 4 years, 11 months (Nov. 22, 1991)
  • Jordan Clarkson : 4 years, 4 months (June 7, 1992)
  • Anthony Brown : 4 years old (Oct. 10, 1992)
  • Larry Nance Jr. : 3 years, 10 months (Jan. 1, 1993)
  • Julius Randle : 1 year, 11 months old (Nov. 29, 1994)
  • D’Angelo Russell : 8 months (Feb. 23, 1996)

 

จนสุดท้ายเขามาเป็นตำนานของ NBA ในเสื้อสีม่วงทอง ร่วมงานกับโค้ช 10 คน จากการเปลี่ยนแปลง 11 ครั้ง พาทีมคว้าแชมป์ 5 สมัย (มากที่สุดเท่าที่กับ ทิม ดันแคน สำหรับผู้เล่นที่ยังเล่นอยู่)

ฤดูกาล 2015-16 นับได้เป็นฤดูกาลที่ 20 ของเขากับทีมนี้ แน่นอนว่าเป็นตัวเลขฤดูกาลที่มากที่สุดที่ผู้เล่นคนหนึ่งเคยเล่นให้กับทีมเดียว แซงหน้า 19 ฤดูกาลของ จอห์น สต็อกตั้น ของ ยูท่าห์ ไปจนได้

 

18

เป็นตัวเลขแสดงให้เห็นเป็นหลักฐานว่า โคบี้ คือ ซูเปอร์สตาร์ เขาครองใจแฟนๆ และโค้ช ติด เกม ALL Star มาก และติดต่อกันยาวนาน 18 สมัย แพ้เพียงรุ่นพี่ Kareem Abdul-Jabbar’s 19 สมัย

 

4

นั่นคือจำนวน All-Star MVP Awards (2002, 2007, 2009 และ 2011) เทียบเท่ากับ Bob Pettit ณ ตอนนี้ยังไม่เคยมีใครทำได้มากกว่าทั้งคู่เลยครับท่าน

 

1

เป็นเรื่องน่าแปลกมาสำหรับ โคบี้ ที่ประสบความสำเร็จมากมายจนแทบนับไม่ไหว ทั้งแหวนแชมป์ 5 วง

 

NBA Finals MVP (2009–2010)
NBA All-Defensive First Team (2000, 2003-2004,2006-2011)

 

ทว่ารางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าในฤดูกาลปกติ NBA MVP Award เขาได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นในปี 2008

 

 

มาถึงบรรทัดนี้ ผมสารภาพตรงๆ เลยว่าผมก็ยังตอบโจทย์ตัวเองที่ตั้งไว้ไม่ได้ อะไรคือคำเท่ที่ผมอยากจะเอามาถ่ายทอดเกี่ยวกับ โคบี้ ไบรอันท์ ในโอกาสดีๆ บรรยายส่งท้าย ซูเปอร์สตาร์ ที่ผมได้เห็นในทุกๆ ก้าวของเขาจากเด็กมัธยมที่เก่งกาจ ก้าวร้าว หยิ่งผยอง (Arrogant) ประสบความสำเร็จมากมายแต่ไม่สอดคล้องกับกระแสความยอมรับ จนกลับมาพิสูจน์ตัวเอง…

แน่นอนว่าเขาผ่านความเจ็บปวดมากมาย หากไม่เจ๋งจริงมาไม่ได้หรอกครับ ณ จุดนี้ เห้อ เอาเป็นว่าขอปพากย์ก่อนแล้วกันพรุ่งนี้ว่ากันอีกทีว่าความรู้สึกที่มีกับ พี่บี้ (ถูกแล้วครับ โคบี้ แก่กว่าผมสองปี 55)

 

“ต็อกตั้ม”

 

ดูบอลสดออนไลน์ผ่านเว็บที่นี่ และติดตามข่าวสารกีฬาได้ที่ TrueID App หรือร่วมพูดคุยกันผ่านทาง Line @TrueID ร่วมไปถึงแฟนเพจ TrueID Sports

ยอดนิยมในตอนนี้