รีเซต
บอร์ดเชียงใหม่เฟิร์ม! เตะในบ้านนัดสุดท้าย 12 ก.ค. นี้ ก่อนย้ายไป เชียงราย - ย้ำให้ความสำคัญกับแฟนบอลเสมอ

บอร์ดเชียงใหม่เฟิร์ม! เตะในบ้านนัดสุดท้าย 12 ก.ค. นี้ ก่อนย้ายไป เชียงราย - ย้ำให้ความสำคัญกับแฟนบอลเสมอ

บอร์ดเชียงใหม่เฟิร์ม! เตะในบ้านนัดสุดท้าย 12 ก.ค. นี้ ก่อนย้ายไป เชียงราย - ย้ำให้ความสำคัญกับแฟนบอลเสมอ
kentnitipong
27 มิถุนายน 2562 ( 22:12 )
1.2K
17

เชียงใหม่ เอฟซี ออกแถลงกลางดึกคอนเฟิร์มเล่นในสนามฯ 700 ปีนัดสุดท้าย 12 กรกฎาคมนี้กับ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด

คำชี้แจงกรณี สโมสรฟุตบอลเชียงใหม่ เอฟซี ย้ายสนามเหย้าในเลกที่สอง ของศึกไทยลีก 2019

สืบเนื่องจากสนามสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี รังเหย้าของทีมเชียงใหม่ เอฟซี ได้รับเลือกจากสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ให้ใช้เป็นหนึ่งในสนามเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์เอเชียรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ในช่วงเดือน มกราคม 2563 ซึ่งจะต้องมีการปิดปรับปรุงสนามดังกล่าว เพื่อรองรับการแข่งขันในครั้งนี้ โดยทางสโมสรฯ ได้รับหนังสือแจ้งมาในเดือนเมษายนว่า ให้หยุดใช้สนาม 700 ปี ตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นไป

บอร์ดบริหาร ได้เดินทางไปตรวจสอบสนามต่างๆในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ที่คาดว่าน่าจะใช้ทำการแข่งขันได้ ไม่ว่าจะเป็น สนามของ ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (ดอยสะเก็ด), สนามอินทนิล ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ , สนามกีฬาเทศบาลฯ และสนามของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โดยสนามที่ใช้ทำการแข่งขันได้ จะต้องมีปัจจัยที่สำคัญหลักๆ ได้แก่
1.ความสว่างของไฟสนาม
2.สภาพพื้นสนาม
3.ความจุผู้ชม
4.ความพร้อม เเละจำนวนของห้องต่างๆที่ใช้รับรองในวันที่ทำการเเข่งขัน

ทั้งนี้ มาตรฐานที่กล่าวมา คือกฎเกณฑ์ของสมาคมฯ และ บ.ไทยลีก จำกัด ซึ่งในระดับ “ไทยลีก” จะมีข้อปลีกย่อย ข้อจำกัด ที่แตกต่างจากในระดับ ไทยลีก2 และ ไทยลีก3 หลายประการ

จากการตรวจสอบทุกสนาม ทางสโมสรฯ พบว่า แต่ละสนาม มีปัญหาในแต่ละจุดที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของไฟที่ไม่ผ่านเกณฑ์ค่าความสว่าง, พื้นหญ้า พื้นสนาม ที่ต้องปรับสภาพใหม่ทั้งหมด, ความจุผู้ชม ที่จะต้องได้ตามมาตรฐานกำหนด รวมไปถึงห้องต่างๆ, สิ่งอำนวยความสะดวก, สถานที่จอดรถ, ตลอดจนการเดินทางสู่สนาม ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมา ล้วนใช้ระยะเวลาปรับดำเนินการให้ผ่านตามเกณฑ์ หรือทันตามกำหนด ย่อมเป็นไปได้ยาก ตลอดจนมีงบประมาณที่สูงเป็นอย่างมาก

โดยในส่วนของงบประมาณ การปรับปรุงสนามทั้งหมดนั้น จากการตรวจสอบประเมินราคาเบื้องต้น พบว่า

1. ค่าสว่างไฟที่ผ่านตามเกณฑ์ จะต้องอยู่ที่ 1,200-1,500 ลักซ์ มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 6 ล้านบาท
2. การปรับปรุงพื้นสนามอยู่ที่ 1 ล้านบาท
3. การปรับห้องต่างๆ อาทิ ทีมเหย้า, ทีมเยือน ห้องผู้ตัดสิน, ห้องประชุม, ห้องแมตช์คอมฯ, ห้องตรวจสารกระตุ้น, ห้องแถลงข่าว, ห้องทำงานสื่อ, ห้องน้ำ ฯลฯ ติดตั้งอุปกรณเพิ่มเติม เช่น แอร์ ประมาณการอยู่ที่ 6 แสนบาท ขึ้นไป
4. ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงที่นั่ง หรือ เพิ่มความจุผู้ชม เนื่องจากทุกสนามในเชียงใหม่ มีความจุราว 2000 – 3500 คน เท่านั้น อีกทั้งบางสนาม อาจต้องมีการปรับพื้นที่ในการรองรับที่จอดรถอีกด้วย

ดังนั้น สรุปงบประมาณค่าใช้จ่าย เพื่อใช้รองรับการแข่งขัน ที่ต้องผ่านตามเกณฑ์ของสมาคมฯ และ บ.ไทยลีก จำกัด นั้น จะอยู่ที่ประมาณ 8 ล้านบาท ต่อการใช้งานเพื่อแข่งขันเกมเหย้าทั้งหมด 7 – 8 นัด ในเลกที่สอง (หรือเฉลี่ย ตกนัดละ 1 ล้านบาท)

ทางสโมสรฯ ขอขอบคุณเจ้าของสถานที่ในแต่ละสนาม ที่ให้ความร่วมมือ เอื้อเฟื้อข้อมูล ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการเข้าไปตรวจสอบในแต่ละจุด รวมไปถึงทาง การกีฬาแห่งประเทศไทย ภาค 5 ที่อนุญาตให้ทางสโมสรฯ ใช้สนาม 700 ปี ล่วงเลยจากกำหนดการเดิม มา ณ ที่นี้

ทั้งนี้ บอร์ดบริหาร ขอชี้แจงให้ทราบว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทีม เชียงใหม่ เอฟซี จะต้องเดินทางไปใช้สนามเหย้าที่ สนาม สิงห์ สเตเดี้ยม จ.เชียงราย ในเลกที่สอง เนื่องจากผ่านเกณฑ์ในทุกข้อกำหนด ของสมาคมฯ และ บ.ไทยลีก จำกัด อีกทั้งสนามดังกล่าว ยังเคยใช้ในรายการเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก รอบเพลย์ออฟ มาแล้ว โดยทางสโมสรฯ ได้ทำหนังสือชี้แจง ขออนุญาตใช้สนาม ส่งทางสมาคม และได้รับการตอบกลับมาเป็นที่เรียบร้อย

ทางสโมสรฯ จึงขอแจ้งให้แฟนบอลทุกท่านทราบ และขออภัย ในความจำเป็นอย่างยิ่งของการย้ายสนามในครั้งนี้ โดยเกมนัดสุดท้ายที่เชียงใหม่ จะลงเตะในสนาม 700 ปี คือนัดวันที่ 12 กรกฎาคม 2562 พบกับ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด

ในส่วนของมาตรการรองรับแฟนบอลตั๋วปี จะดำเนินการแจ้งให้ทราบโดยเร็ว และทางสโมสรฯ อยากให้แฟนบอลมั่นใจว่า บอร์ดบริหาร ย่อมให้ความสำคัญ และ รับรู้ถึงความต้องการของแฟนบอลเชียงใหม่ อีกทั้งเรายังมีความตั้งใจที่จะพัฒนาสโมสรฯ ให้เดินหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

 

ยอดนิยมในตอนนี้