รีเซต
TRUE TALK : กลุ่มทุน แมนฯ ซิตี้ ยิ่งใหญ่แค่ไหน และจะเกิดอะไรหากเทคโอเวอร์ทีม ไทยลีก ... by "Maxzio"

TRUE TALK : กลุ่มทุน แมนฯ ซิตี้ ยิ่งใหญ่แค่ไหน และจะเกิดอะไรหากเทคโอเวอร์ทีม ไทยลีก ... by "Maxzio"

TRUE TALK : กลุ่มทุน แมนฯ ซิตี้ ยิ่งใหญ่แค่ไหน และจะเกิดอะไรหากเทคโอเวอร์ทีม ไทยลีก ... by "Maxzio"
Supanat
5 กรกฎาคม 2562 ( 19:37 )
1.4K
7

ข่าวลือสะท้านวงการฟุตบอลไทยในวันนี้คือ กลุ่มทุนของมหาอำนาจวงการฟุตบอล เจ้าของ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ อย่าง ซิตี้ ฟุตบอล กรุ๊ป สนใจเข้าเทคโอเวอร์ ทีมจากไทยลีก โดยมีรายงานจาก นายไพวงษ์ เตชะณรงค์ นักธุรกิจหนุ่มใหญ่เจ้าของโบนันซ่า

 

แต่ความยิ่งใหญ่ และความรวยของ ซิตี้ ฟุตบอล กรุ๊ป  เป็นอย่างอะไร และจะเกิดอะไรขึ้นหากข่าวลือนี้เป็นความจริง

ซิตี้ ฟุตบอล กรุ๊ป (CFG) คืออะไร

CFG คือกลุ่มทุนจาก สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นามว่า Abu Dhabi United Group (ADUG) ก่อตั้งขึ้นเพื่อทำธุรกิจในโลกฟุตบอล โดยมีจุดเริ่มต้นจากการเข้าไปเทคโอเวอร์ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ จาก ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ก่อนจะก่อตั้งบริษัทจริงๆ ในเดือน พฤษภาคม 2013

โดย CFG มีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในวงการฟุตบอล ทั้งในและนอกสนาม สร้างกันตั้งแต่รากฐาน จนถึงระดับอาชีพ เพื่อสร้างนักฟุตบอลระดับสุดยอด และทำให้ฟุตบอลกลายเป็นเกมที่น่าตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลา

ในปัจจุบัน CFG เข้ามาเทคโอเวอร์ กลายเป็นเจ้าของ สโมสร 3 สโมสรใหญ่จาก 3 ทวีป และเข้าไปเป็นหุ้นส่วนด้วยอีก 4 สโมสร

1) แมนเชสเตอร์ ซิตี้
จุดเริ่มต้นของ ซิตี้ ฟุตบอล กรุ๊ป ที่ต้องการเข้ามาทำให้ “เรือใบสีฟ้า” กลายเป็นทีมที่ดีสุดในโลก แต่ยังคงมุ่งเน้นสร้างเยาวชนที่มีคุณภาพขึ้นมาด้วย ความสำเร็จในทีมชุดใหญ่ เราไม่ต้องพูดถึงแชมป์พรีเมียร์ 3 สมัยจาก 10 ปีหลังสุด และถ้วยอื่นๆ อีก 6 ถ้วยตั้งแต่ปี 2008

แต่สิ่งที่น่าสนใจของ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ที่ CFG กำลังพยายามทำคือการพัฒนาเยาวชน พวกเขาสร้าง “เอติฮัด แคมปัส” ศูนย์ฝึกฟุตบอลที่ดีที่สุดในโลก ที่มีมูลค่ามากกว่า 200 ล้านปอนด์ หรือเกือบ 1 พันล้านบาท

Bundit Sriusaneemorakot / Shutterstock.com

โดยภายในศูนย์ฝึกประกอบด้วยสนามฟุตบอลกลางแจ้งอย่างดี 16 สนาม ฟุตบอลสเตเดี้ยม ความจุ 7,000 ที่นั่งไว้สำหรับการแข่งขันของทีมเยาวชน และทีมฟุตบอลหญิงของ แมนฯ ซิตี้ รวมถึง ศูนย์ฝึกสอน และการเรียนรู้ทักษะฟุตบอล ตลอดจนบริการด้านการแพทย์ และวิทยาศาสตร์การกีฬา รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ อย่างครบครัน นอกจากนี้ยังมีข่าวออกมาว่า CFG เตรียมสร้าง เอติฮัด แคมปัส 2 ณ กรุงลอนดอน เมืองหลวง ประเทศอังกฤษ อีกด้วย

แมนเชสเตอร์ ซิตี้ คือจุดเริ่มต้นการกระโดดเข้าสู่โลกธุรกิจฟุตบอลของ CFG ก้าวต่อไปคือ สหรัฐอเมริกา

2) นิวยอร์ก ซิตี้ เอฟซี
เมเจอร์ลีก ต้องการเพิ่มทีมในลีกให้ป็น 20 ทีม (ในตอนนั้น) และสร้างทีมที่ 2 ให้เกิดขึ้นในมหานครนิวยอร์ก ประจวบเหมาะกับความต้องการขยายฐานของ CFG จึงเข้ามาเป็นเจ้าของ นิวยอร์ก ซิตี้ เอฟซี ในปี 2012 และพัฒนาทีมขึ้นมาเป็นทีมชั้นในดินแดนลุงแซมได้สำเร็จ ด้วยการจบอันดับ 2 ในลีกตะวันตก ตลอด 3 ฤดูกาลที่ผ่านมา

AP Photo/Frank Franklin II

3) เมลเบิร์น ซิตี้
เมลเบิร์น ฮาร์ท ถูกเทคโอเว่อร์โดย CGF ในปี 2014 และเปลี่ยนมาใช้ชื่อ ซิตี้ ตามชื่อบริษัท พร้อมเปลี่ยนสีประจำทีม และโลโก้ให้คล้ายคลึงกับ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ และ นิวยอร์ก ซิตี้ อีกด้วย หลังจากการเข้ามาทำทีมของ CFG เมลเบิร์น ซิตี้ ก้าวขึ้นมาเป็นยอดทีมใน เอ-ลีก และจบไม่ต่ำกว่า ท็อป 5 ใน 5 ฤดูกาลหลังสุด

นอกจากนี้ CFG ยังเข้าไปเป็นหุ้นส่วนสโมสรอื่นๆ ทั่วโลก ไล่ตั้งแต่ โยโกฮามา เอฟ มารินอส ยอดทีมจาก เจลีก ประเทศญี่ปุ่น ต้นสังกัดปัจจุบันของ “เจ้าอุ้ม” ธีราทร บุญมาทัน แบ็กซ้ายทีมชาติไทย โดยมีหุ้นส่วนในทีม 20 %

คลับ แอตเลติโก้ ตอร์คี (Club Atlético Torque) ทีมในลีกอุรุกวัย และคิโรน่า น้องใหม่ในลาลีก้า ที่ CGC เพิ่งเข้าไปมีส่วนร่วมในปี 2017 และล่าสุดเพียงประกาศเข้าไปทำการตลาดในจีนอย่างด้วยการเข้าไปถือหุ้น ซื่อชวน จิ่วหนิว ทีมในระดับไชน่า ลีกทู (ดิวิชั่น 3 เมื่อไม่กี่วันที่ผ่าน นอกจากนี้ CFG ยังเตรียมขยายออกไปอื่น โดยอาจจะเป็นในทวีปแอฟริกาใต้ และยุโรป ต่อไป

ถามว่า CFG เข้ามาแล้วทีมได้อะไร?

ถ้าพูดให้เห็นแบบชัดเจนที่สุดของ สภาพคล่องของการเงินภายในทีม ที่จะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงอุปกรณ์การฝึกต่างๆ ที่ทาง CFG ช่วยในการพัฒนาอย่างเต็มที่และสามารถไปใช้ศูนย์ฝึกที่ดีที่สุดในโลกอย่าง เอติฮัด แคมปัส ได้ด้วยเช่นกัน

ถัดมา CFG พยายามเผยแพร่วิธีการเล่นที่เรียกว่า “City Way” ที่เน้นการครอบครองบอล จ่ายบอล บีบสูง เล่นเกมโต้กลับที่มีประสิทธิภาพ และเน้นเกมบุกเป็นหลัก โดยมีต้นแบบมาจากการเล่นของบาร์เซโลน่า โดย CFG ดึงบุคคลากรมากความสามารถของ บาร์ซ่า เข้ามาไล่ตั้งแต่ เป๊ป กวาร์ดิโอล่า ยอดกุนซือ, เฟอร์รัน โซเรียโน่ อดีตรองประธานฝ่ายเศรษฐกิจของ บาร์เซโลน่า เข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่บริหารของทั้ง 3 ทีมในเครือ CFG และซิกิ เบกิริสไตน์ อดีตผู้อำนวยการฟุตบอลของ บาร์เซโลน่า มาเป็น ผู้อำนวยการฟุตบอลของ แมนฯ ซิตี้

Salvatore Di Nolfi/Keystone via AP

อย่างที่ 3 คือผลพลอยได้ นักเตะดาวรุ่งอนาคตไกลจากต่างแดนมีโอกาสโยกย้ายเข้าไปเล่นให้กับทีมที่ดีกว่าในเครือ CFG ได้ง่ายขึ้น ในทางกลับกับ CFG ก็มีเครือข่ายฟุตบอลที่กว้างขวางที่สุดที่หนึ่งในโลกฟุตบอล ตัวอย่างเช่น ดาเนียล อาร์ซานี่ กองหลางวัย 20 ปีที่ย้ายจาก เมลเบิร์น ซิตี้ ซบ แมนฯ ซิตี้ รวมถึง แอนโธนี่ คาเซเรส ด้วยเช่นกัน

จะว่าไปก็ดูคล้ายๆ กับการล่าอาณานิคมในอดีต ค่อยๆ เก็บทีมในแต่ละทวีป ค่อยๆ เปลี่ยนสี เปลี่ยนโลโก้ประจำทีมให้คล้ายคลึงกัน และกลายเป็น ซิตี้ ไป แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า โมเดลแบบนี้ ประสบผลสำเร็จอยู่ไม่น้อย

และสุดท้ายหวยจะออกไปที่ทีมอะไร หรือจะเป็นเพียงข่าวลือ ตกรอดูกันต่อไป

 

“Maxzio”

ยอดนิยมในตอนนี้