รีเซต
รู้แล้วดูสนุก! เข้าใจการแข่งขัน F1 Grand Prix ก่อนการแข่งขัน2017

รู้แล้วดูสนุก! เข้าใจการแข่งขัน F1 Grand Prix ก่อนการแข่งขัน2017

รู้แล้วดูสนุก! เข้าใจการแข่งขัน F1 Grand Prix ก่อนการแข่งขัน2017
truelife_sport
11 กุมภาพันธ์ 2560 ( 09:59 )
8.5K
1

การแข่งขัน ฟอร์มูล่าวัน เวิร์ล แชมเปี้ยนชิพ 2017 สนามแรกกำลังจะเริ่มขึ้นในวันที่ 26 มีนาคม 2560 ที่เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย sport.truelife.com จึงจะเสนอข้อมูลเพื่อให้มีการรับชมการแข่งขันได้อย่างเข้าใจ และสนุก โดยมีรายละเอียดดังนี้

ในแต่ละวันของการแข่งขันจะประกอบด้วย

วันแรก(วันศุกร์) – เป็นรอบฝึกซ้อม (Free Practice) แบ่งเป็น 2 รอบ เช้าและบ่าย หรือบ่ายและค่ำสำหรับกรณีไนท์เรซ รอบละ 90 นาที (สำหรับรายการโมนาโก กรังด์ปรีซ์ รอบฝึกซ้อมจะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดี เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรของเมือง)

วันที่สอง(วันเสาร์) – เป็นรอบฝึกซ้อมครั้งสุดท้าย ใช้เวลา 60 นาที และถัดมาจะเป็นรอบควอลิฟาย (Qualifying) หรือรอบแข่งขันจับเวลาเพื่อจัดอันดับสตาร์ทในวันแข่งขันจริงคือในวันอาทิตย์ ใช้เวลา 60 นาที ซึ่งปัจจุบันรอบควอลิฟายจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงย่อย ได้แก่

Q1 ใช้เวลา 18 นาที ผู้ที่ทำเวลาช้าที่สุด 5 คันจะถูกคัดออกและจัดอันดับสตาร์ทตามนั้น

Q2 ใช้เวลา 15 นาที สำหรับรถ 15 คัน เวลาจาก Q1 จะถูกล้างและแข่งขันจับเวลากันใหม่ ผู้ที่ทำเวลาช้าที่สุดอีก 5 คันจะถูกคัดออกและจัดอันดับสตาร์ทตามนั้น

Q3 ใช้เวลา 12 นาที สำหรับรถ 10 คันสุดท้าย เวลาจาก Q2 จะถูกล้างและแข่งขันจับเวลากันใหม่และจัดอันดับสตาร์ทตามนั้น ผู้ที่ทำเวลาเร็วที่สุดจะได้ออกตัวจากกริดสตาร์ทอันดับที่ 1 หรือที่เรียกว่าตำแหน่งโพล (Pole Position) ซึ่งเป็นตำแหน่งสตาร์ทที่ดีที่สุด

ทั้งนี้ จำนวนการคัดรถออกจาก Q1 และ Q2 สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามจำนวนรถที่เข้าแข่งขันในแต่ละฤดูกาล สำหรับปีนี้มีทีมเข้าแข่งขัน 10 ทีม รวมจำนวนรถ 20 คัน และทุกคันจะต้องทำเวลาให้อยู่ในเวลา 107% ของเวลาที่เร็วที่สุดใน Q1 เพื่อผ่านการควอลิฟาย

วันที่สาม(วันอาทิตย์) – เป็นวันแข่งขันหรือ Race Day โดยกำหนดให้ระยะทางรวมในการแข่งขันไม่ต่ำกว่า 300 กม. (สนามโมนาโกถือเป็นข้อยกเว้น) หรือใช้ระยะเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง เว้นแต่การแข่งขันจะถูกคั่นด้วยธงแดงเพื่อหยุดการแข่งขันชั่วคราวอันเนื่องจากอุบัติเหตุหรือสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย

สำหรับการแข่งขัน ฟอร์มูล่าวันใช้ระบบสะสมคะแนนตลอดทั้งฤดูกาล ผู้ที่ได้คะแนนสะสมมากที่สุดทั้งประเภทนักขับและประเภททีมผู้สร้างจะได้แชมป์โลกประจำฤดูกาลไปครอง โดยการให้คะแนนนักขับจะจัดสรรให้กับผู้ที่เข้าเส้นชัย 10 อันดับแรกดังนี้

อันดับที่ 1 – 25 คะแนน
อันดับที่ 2 – 18 คะแนน
อันดับที่ 3 – 15 คะแนน
อันดับที่ 4 – 12 คะแนน
อันดับที่ 5 – 10 คะแนน
อันดับที่ 6 – 8 คะแนน
อันดับที่ 7 – 6 คะแนน
อันดับที่ 8 – 4 คะแนน
อันดับที่ 9 – 2 คะแนน
อันดับที่ 10 – 1 คะแนน

โดยคะแนนทีมผู้สร้างจะเป็นการนำคะแนนของนักขับในทีมทั้ง 2 คนที่ได้รับจากแต่ละสนามมารวมกัน

วิดีโออุบัติเหตุระหว่างการแข่งขัน ออสเตรเลี่ยน กรังปรี 2016

สัญญาณธงในสนาม

ธงเป็นเครื่องมือสื่อสารสำคัญอย่างหนึ่งให้กับนักขับที่อยู่ในสนาม สัญญาณธงเบื้องต้นที่ควรทราบ ได้แก่
ธงเหลือง หมายถึง ให้ขับช้าลง ห้ามแซง
ธงเขียว หมายถึง สนามเคลียร์แล้ว ช่วงเข้าสู่สภาวะปกติ
ธงแดง หมายถึง ช่วงหยุดชั่วคราว
ธงฟ้า หมายถึง รถที่เร็วกว่ามาด้านหลังและต้องการแซง ซึ่งโบกให้กับรถช้าที่วิ่งคนละรอบ
ธงตราหมากรุก หมายถึง สิ้นสุดช่วง
ธงดำพร้อมป้ายบอกหมายเลขนักขับ หมายถึง ให้กลับเข้าพิต ถูกตัดออกจากการแข่งขัน
ยาง

ยางที่รถฟอร์มูล่าวันใช้ในปัจจุบันมาจากผู้ผลิตรายเดียว เป็นยี่ห้อ ปิเรลลี่ ของอิตาลี ยางแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือยางสำหรับแทร็คแห้งหรือยาง slick และยางสำหรับแทร็คเปียก ซึ่งแต่ละประเภทยังแบ่งเป็นชนิดย่อยได้อีก

ยางแห้ง:
ยางซูเปอร์ซอฟต์ – แถบสีแดง
ยางซอฟต์ – แถบสีเหลือง
ยางมีเดียม – แถบสีขาว
ยางฮาร์ด – แถบสีส้ม

ยางเปียก:
ยางอินเตอร์มีเดียต – แถบสีเขียว สำหรับแทร็คกึ่งเปียกกึ่งแห้ง
ยางฟูลเว็ท – แถบสีฟ้า สำหรับแทร็คที่เปียกมาก มีน้ำขัง

ก่อนการแข่งขันทุกสนาม ปิเรลลี่ จะประกาศชนิดยางที่เลือกให้ใช้ในสนามนั้นๆ จำนวน 2 ชนิด ซึ่งกำหนดจากคุณลักษณะของสนาม ยางชนิดที่แข็งกว่าเรียกว่ายางไพรม์ ส่วนชนิดที่นิ่มกว่าเรียกว่ายางออปชั่น ใช้ทำเวลาได้ดีกว่ายางไพรม์ แต่ก็สึกเร็วกว่า ซึ่งในการแข่งขันนักขับจะต้องใช้ยางทั้ง 2 ชนิด ยกเว้นเมื่อมีฝนตก จะต้องใช้ยางเปียกชนิดใดชนิดหนึ่งหรือทั้งสองชนิด

ในแต่ละสุดสัปดาห์การแข่งขัน นักขับแต่ละคนจะได้รับยางแห้งทั้งหมด 13 ชุด ยางอินเตอร์มีเดียต 4 ชุด และยางฟูลเว็ท 3 ชุด

เมื่อเริ่มการแข่งขัน รถทุกคันที่ผ่านเข้าควอลิฟายช่วง Q3 จะต้องใช้ยางชนิดที่ตนทำเวลาเร็วที่สุดไว้ในช่วง Q2
เครื่องยนต์

นับตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา เครื่องยนต์ฟอร์มูล่าวันใช้ขนาด 1.6 ลิตร V6 เทอร์โบ ซึ่งให้กำลังประมาณ 600 แรงม้า และจะได้แรงเพิ่มอีก 160 แรงม้าจากการใช้ระบบ ERS (Energy Recovery System) ซึ่งเป็นระบบที่จะเปลี่ยนพลังงานกลและพลังงานความร้อนมาเป็นพลังงานไฟฟ้า

รถแต่ละคันถูกกำหนดให้บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่เกิน 100 กก. หรือประมาณ 130 ลิตรในการแข่งขันแต่ละสนาม และเครื่องยนต์จะต้องบริโภคน้ำมันไม่เกิน 100 กก./ชม. โดยน้ำหนักรถเมื่อรวมน้ำหนักนักขับและอุปกรณ์ความปลอดภัย แต่ไม่รวมเชื้อเพลิง จะต้องไม่ต่ำกว่า 702 กก.

อากาศพลศาสตร์/แอโรไดนามิกส์

งานด้านแอโรไดนามิกส์ของรถฟอร์มูล่าวันมี 2 เรื่องด้วยกัน คือ แรงกด (downforce) และแรงลาก (drag) ดาวน์ฟอร์ซจะกดยางลงบนพื้นถนนและช่วยให้เข้าโค้งได้เร็วยิ่งขึ้น โดยจะลดแรงลาก ซึ่งเป็นเหมือนกำแพงต้านอากาศขณะรถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ทั้งนี้ ดาวน์ฟอร์ซจะช่วยเพิ่มความเร็วให้รถระหว่างวิ่งบนทางตรงอีกด้วย

ทุกตารางนิ้วบนรถฟอร์มูล่าวันมีผลกับแอโรไดนามิกส์โดยรวมของรถเองและการทำให้แอโรไดนามิกส์เกิดประสิทธิภาพสูงสุดคือกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของทีม

 

 


ดูบอลสด โหลดง๊ายง่าย!!

ดาวน์โหลดฟรี แอพ True ID ดูบอลดีๆ 6 ลีก 5 ถ้วย ทั้งพรีเมียร์ลีก, ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก หรือไทยลีก มันส์ได้ครบกับ แพ็คเกจ True Super Soccer

สมัครผ่านแอพ True ID เพียงเดือนละ 29 บาท รับสิทธิดูผ่านคอมพิวเตอร์ฟรี ผ่านเน็ตทรู !! ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 มิถุนายน 60

แอพ True ID ดาวน์โหลดฟรี ที่


ยอดนิยมในตอนนี้