ไม่ว่าโอลิมปิกครั้งไหน ทีมวอลเลย์บอลตัวแทนจากทวีปแอฟริกา ไม่ว่าอันดับแย่หรือผลงานเป็นอย่างไร จะการันตีได้สิทธิ์เข้าไปเล่นโอลิมปิกรอบสุดท้ายเสมอ เป็นผลมาจากกฎบัตรของคณะกรรมการโอลิมปิกสากลหรือ IOC บัญญัติว่า “ต้องมีตัวแทนทวีปอย่างน้อย 1 ประเทศใน 1 ชนิดกีฬาได้เข้าร่วมการแข่งขันรอบสุดท้าย” ด้วยมาตรฐานทีมวอลเลย์บอลของพวกเค้า “ยากมาก” ในการผ่านรอบคัดเลือกตามปกติ ระบบคัดเลือกของ FIVB จึงต้องเปิดช่องให้มีทีมจากแอฟริกาผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายเสมอ เช่นครั้งนี้ให้สิทธิ์อันดับโลกกับทวีปไม่ผ่าน 6 ทีมรอบคัดเลือกไล่ลำดับลงไปอีก 5 ทีม รวมกับเจ้าภาพฝรั่งเศสครบ 12 ทีมเข้าสู่ปารีส 2024มีคอมเมนต์ตามโลกโซเชียลแบบทีเล่นทีจริงว่า “เราย้ายไปเล่นแอฟริกาเลยสิ!” เท่านี้ก็ได้สิทธิ์ไปโอลิมปิกทุกครั้งแล้วเอาชนะทุกทีมได้แบบชัวร์ ๆ และมีคำถามมาถึงผมว่าเป็นไปได้มั้ย? วันนี้เราจะมาไขคำตอบกันครับว่าวอลเลย์บอลหญิงไทยไปเล่นแอฟริกา มันมีข้อดีข้อเสียอย่างไรคำว่าย้ายไปแอฟริกา ไม่ได้หมายความว่าเรายกประเทศไปอยู่ทวีปแอฟริกา ตามนิยามของกีฬาหมายถึงการย้ายสมาคม , สมาพันธ์ หรือสหพันธ์กีฬาของประเทศนั้นไปสังกัดสมาชิกร่วมกับทวีปอื่น และมีทำกันมาหลายครั้งเช่นฟุตบอลออสเตรเลียย้ายมาเอเชีย , อิสราเอล , คาซัคสถานย้ายไปยุโรป ด้วยเหตุผลต่างกันไปเช่นออสเตรเลียอยากได้แมตช์แข่ง (อยู่ที่นั่นไม่ค่อยเจอกับทีมเก่ง) หรือเรื่องเชื้อชาติความขัดแย้งว่ากันไป และเป็นเพียงในนามของสมาคมนั้น ๆ เช่นฟุตบอลคาซัคสถานสังกัดยูฟ่าเล่นคัดเลือกยุโรป แต่วอลเลย์บอลเค้าคิดว่าไปยุโรปเจอคู่ต่อสู้แต่ละทีมตายแน่! ขอเล่นในเอเชียกับ AVC ต่อดีกว่านั่นคือสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยจะไปขอร่วมเป็นสมาชิกสมาพันธ์วอลเลย์บอลแอฟริกา (CAVB) มันก็สามารถทำได้เหมือนออสเตรเลียที่ย้ายมาเอเชีย แต่.. แต่.. แต่.. เรื่องราวต่อไปนี้เป็นตัวตัดสินว่าการไปอยู่โซนแอฟริกาเพื่อแลกโควตาโอลิมปิก 4 ปีครั้งมันอาจไม่คุ้ม เพราะหมายถึงเราต้องย้ายตัดขาดจากสมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชีย นั่นคือทุกรายการในเอเชียเช่นเอเชียนเกมส์ , ซีเกมส์ , ชิงแชมป์เอเชีย , ชาเลนจ์คัพเอเชีย , สโมสรเอเชีย , รุ่นเยาวชนต่าง ๆ ทีมชาย-ทีมหญิง ทีมวอลเลย์บอลไทยจะไม่ได้สิทธิ์แข่งขัน แล้วต้องไปเล่นในรายการของสมาพันธ์วอลเลย์บอลแอฟริกา (CAVB) ซึ่งดูแล้วไม่ได้เยอะมีเพียงแข่งขันชิงแชมป์ทวีปทุก 2 ปี เท่านั้นปัญหาตามมาคือเรื่องการพัฒนา เช่นจับสลากมาสาย A : ไทย , ยูกันดา , บุรุนดี , มาลี , รวันดา , บูร์กินาฟาโซ ฯลฯ เดินทางไปเล่นแต่ละครั้งร่วม 1 หมื่นกิโลเมตร แฟนวอลเลย์บอลตามไปเชียร์ยาก จากเดิมไปแข่งญี่ปุ่นวางแผนเที่ยว , ช้อปปิ้ง กลายเป็นค้นหาว่าประเทศเลโซโทอยู่ตรงไหน , โรงแรมในคองโกเป็นอย่างไร , โซมาเลีย ลิเบีย เดินเล่นได้มั้ย เรื่องการพัฒนาอะไรไม่มีแน่ ๆ เพราะมาตรฐานพอสู้กับไทยได้ของทีมจากแอฟริกามีไม่กี่ทีม (ตูนิเซียกับอียิปต์) เล่นในเอเชียแม้ได้แชมป์อย่างน้อยยังได้เหงื่อบ้าง การเดินทางอะไรสะดวกกว่ามากวิเคราะห์กันมานี่คือในความเป็นจริงโอกาสเกิดขึ้นคือศูนย์เปอร์เซ็นต์ ไม่มีทางเป็นไปได้สำหรับแนวคิดนี้ แต่เพื่อเป็นข้อมูลให้แฟนกีฬาผู้มีแนวคิดอย่างนี้ชั่งน้ำหนักดูว่าคุ้มมั้ย? กับการได้เล่นโอลิมปิก 4 ปีครั้งไม่กี่นัด แล้วต้องแลกอะไรมากมายอย่างนี้ “โอลิมปิกคือเกียรติยศ” และเราจะไปเล่นรอบสุดท้ายด้วยตัวของเราเอง นี่แหละครับที่มันคือนิยามของกีฬา และน่าภูมิใจกว่าเยอะ ..#OLYMPIC2024 #วอลเลย์บอลหญิง #วอลเลย์บอลทีมชาติไทย #วอลเลย์บอล #Volleyball #ดูสดวอลเลย์บอลภาพประกอบโดย ภาพปก FIVB : พื้นหลัง , Paxabay OpenClipart-Vectors : ทวีปแอฟริกา , dionhva : ลูกศร , TaniaVdB : ลูกวอลเลย์บอล / FIVB : ภาพที่ 1 / CAVB- African Volleyball Confederation (สมาพันธ์วอลเลย์บอลแอฟริกา) : ภาพที่ 2 , ภาพที่ 3 , ภาพที่ 4 Communityคอบอล ถกประเด็นร้อนฟุตบอลทุกลีก ใครตัวเต็ง ใครฟอร์มตก ต้องเคลียร์