
ปัญหาปวดเข่าในผู้ชาย ปวดเข่าส่วนไหนบอกโรคอะไร วิธีบรรเทาอาการปวดเข่าที่ได้ผลจริง

เข่า 1 ในอวัยวะสำคัญของร่างกายที่รับหน้าที่ในการเคลื่อนไหวหลายด้านไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน นั่ง เข่าล้วนมีบทบาททั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักกีฬา หรือผู้ที่ออกกำลังกายเข่าต้องรับหน้าที่หนักในทุกการเคลื่อนไหว แต่ไม่ว่าคุณจะอยู่ในบทบาทอาชีพใด เข่ามักจะต้องเคยมีอาการปวดแบบทั้งทราบสาเหตุและไม่ทราบสาเหตุ แล้วการป;ดเข่าในตำแหน่งต่างๆ นั้นบอกถึงปัญหาสุขภาพด้านใดบ้าง วิธีบรรเทาปวดเข่าทำได้อย่างไร TrueID Sport จะมาช่วยคุณบรรเทาปวดในเรื่องนี้กัน
ปัญหาปวดเข่าในผู้ชาย ปวดเข่าส่วนไหนบอกโรคอะไร
วิธีบรรเทาอาการปวดเข่าที่ได้ผลจริง
โครงสร้างของเข่า
หัวเข่าเป็นหนึ่งในข้อต่อที่ใหญ่และซับซ้อนที่สุดในร่างกายของเรา ถูกออกแบบมาให้รองรับน้ำหนักตัวได้อย่างมหาศาล และยังช่วยให้เราเคลื่อนไหวได้อย่างหลากหลาย หัวเข่าทำงานหลักๆ เหมือนบานพับ คือสามารถงอ และเหยียดได้แต่ก็สามารถหมุนเล็กน้อยได้ด้วย
ส่วนประกอบหลักๆ ของหัวเข่ามีดังนี้
- กระดูก 3 ชิ้น แบ่งออกเป็นกระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้งที่รับน้ำหนักตัว กระดูกสะบ้า
- กระดูกอ่อน แบ่งออกเป็น กระดูกอ่อนผิวข้อ ผิวเรียบลื่นที่หุ้มปลายกระดูก ช่วยให้เคลื่อนไหวไม่เสียดสี และรับแรงกระแทก หมอนรองกระดูกเข่า แผ่นรองคล้ายตัว C 2 ชิ้น เป็นโช้คอัพ และช่วยให้เข่ามั่นคงขึ้น
- เส้นเอ็น 4 เส้น เป็นเหมือนเชือกยึดกระดูกให้มั่นคง ป้องกันการเคลื่อนไหวผิดปกติ แบ่งออกเป็นเส้นเอ็นไขว้หน้า-หลังอยู่ด้านในเข่า ไขว้กันเป็นรูปตัว X ช่วยเรื่องการเลื่อนไปมา
เส้นเอ็นค้ำยันด้านใน-นอก อยู่ด้านข้างเข่า ช่วยเรื่องการบิดด้านข้าง - กล้ามเนื้อและเส้นเอ็น:
- กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า: ใช้เหยียดเข่า
- กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง : ใช้งอเข่า
- กล้ามเนื้อน่อง: ช่วยงอเข่า
- โครงสร้างอื่นๆ:
- น้ำไขข้อ: น้ำมันหล่อลื่นในข้อเข่า ทำให้เคลื่อนไหวราบรื่น
- ถุงน้ำรอบข้อ: ถุงเล็กๆ ที่เป็นเบาะรองกันกระแทก
- เส้นประสาทและหลอดเลือด: รับรู้ความรู้สึก
ตำแหน่งการปวดของเข่า
ตำแหน่งการปวดของหัวเข่าเป็นกุญแจสำคัญ ที่ช่วยให้คุณรู้ว่าปัญหาอยู่ตรงไหน เพราะอาการปวดใน แต่ละจุดมักจะบอกถึงสาเหตุหรือสิ่งผิดปกติได้ ลองมาดูกันว่าปวดเข่าแต่ละตำแหน่งอาจหมายถึงอะไรได้บ้าง
A: ปวดรอบกระดูกสะบ้า
บริเวณนี้มักเกี่ยวข้องกับการใช้งานซ้ำๆ หรือการบาดเจ็บของโครงสร้างรอบลูกสะบ้า สาเหตุแตกต่างตามอาการดังนี้
- อาการ: ปวดตื้อๆ หรือปวดแปลบๆ บริเวณหัวเข่า โดยเฉพาะหลังวิ่ง, เดินขึ้นลงบันได, หรือหลังจากนั่งงอเข่านานๆ แล้วลุกขึ้น
สาเหตุหลัก: มักเป็นเข่านักวิ่ง (Runner's Knee / Patellofemoral Pain Syndrome) ซึ่งเกิดจากการที่กระดูกสะบ้าเคลื่อนที่ผิดปกติ หรือกล้ามเนื้อต้นขาไม่สมดุล - อาการ: ปวดรุนแรง บวม ฟกช้ำหน้าเข่า อาจเหยียดขาตรงหรือลงน้ำหนักไม่ได้
สาเหตุหลัก: กระดูกสะบ้าแตก ซึ่งมักเกิดจากการบาดเจ็บรุนแรง - อาการ: บวม เจ็บหน้าสะบ้า โดยเฉพาะหลังคุกเข่าบ่อยๆ
สาเหตุหลัก: ถุงน้ำหน้าสะบ้าอักเสบ หรือ เข่าของแม่บ้าน (Housemaid's Knee)
การบรรเทาอาการเบื้องต้น:
- พักเข่า: ลดหรือหยุดกิจกรรมที่กระตุ้นความเจ็บปวด โดยเฉพาะการวิ่ง การคุกเข่า หรือการงอเข่าซ้ำๆ
- ประคบเย็น: วางเจลเย็นหรือถุงน้ำแข็งห่อผ้าบริเวณที่ปวด 15-20 นาที หลายครั้งต่อวัน เพื่อลดอาการปวดและบวม
- พยุงเข่า: ใช้สนับเข่าอ่อนๆ หรือผ้ารัดประคองเบาๆ เพื่อลดอาการบวมและพยุง แต่ไม่ควรรัดแน่นเกินไป
- ยกขาสูง: นอนยกขาให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อช่วยระบายของเหลวและลดอาการบวม
B: ปวดเหนือกระดูกสะบ้า
บริเวณนี้มักเกี่ยวข้องกับเอ็นหรือถุงน้ำที่อยู่เหนือลูกสะบ้า สาเหตุแตกต่างตามอาการดังนี้
- อาการ: ปวดเหนือสะบ้า กดเจ็บ ปวดมากเมื่อขึ้น-ลงบันได กระโดด วิ่ง นั่งยองๆ หรือเหยียดเข่าต้านแรง อาจรู้สึกตึงต้นขาด้านหน้า
สาเหตุหลัก: เอ็นกล้ามเนื้อต้นขาเหนือสะบ้าอักเสบ/เสื่อม มักเกิดจากการใช้งานเอ็นมากเกินไป แรงกระแทกซ้ำๆ หรือการออกกำลังกายที่ไม่ถูกวิธี พบมากในผู้ที่ออกกำลังกายหนัก หรือผู้สูงอายุ - อาการ: ปวดและบวมเหนือสะบ้า กดเจ็บ ปวดมากขึ้นเมื่องอหรือเหยียดเข่าสุดๆ
สาเหตุหลัก: ถุงน้ำเหนือสะบ้าอักเสบ เกิดจากการใช้งานหนักหรือบาดเจ็บซ้ำๆ
การบรรเทาอาการเบื้องต้น:
- หลีกเลี่ยงการใช้งาน: งดกิจกรรมที่ทำให้ปวด โดยเฉพาะการงอหรือเหยียดเข่าสุดๆ และกิจกรรมที่กดทับบริเวณหน้าเข่า
- ประคบเย็น: ประคบเย็นบริเวณที่บวมหรือปวด 15-20 นาที ทุก 1-2 ชั่วโมง ช่วยลดอาการปวดและบวมได้ดี
- พยุงและยกสูง: ใช้ผ้ายืดรัดเข่าเบาๆ และยกขาให้สูงกว่าระดับหัวใจเมื่อพัก เพื่อช่วยลดอาการบวม
C: ปวดด้านในของเข่า
อาการปวดบริเวณด้านในเข่าอาจบ่งชี้ถึงปัญหาของหมอนรองกระดูก เอ็นยึด หรือเยื่อบุข้อ สาเหตุแตกต่างตามอาการดังนี้
- อาการ: ปวดเข่าด้านใน บวม เข่าติดขัดหรือล็อก มีเสียงดัง เข่าอ่อนแรง หรือทรุดลง
สาเหตุหลัก: หมอนรองกระดูกเข่าด้านในฉีกขาด มักเกิดจากการบิดหมุนเข่ารุนแรง การกระแทก หรือการเสื่อมสภาพตามวัย - อาการ: ปวด บวม ช้ำด้านในเข่า กดเจ็บ เข่าไม่มั่นคง อาจมีเสียง "ป๊อป" เมื่อขยับ
สาเหตุหลัก: เอ็นยึดเข่าด้านในบาดเจ็บ เกิดจากการถูกกระแทกอย่างรุนแรงจากด้านนอกของเข่า ทำให้เข่าถูกถ่างออกไปด้านข้างมากเกินไป แบ่งเป็น 3 ระดับความรุนแรง (ยืดเล็กน้อย, ฉีกบางส่วน, ฉีกขาดสมบูรณ์) - อาการ: ปวดตื้อ เสียว ด้านในเข่า มีเสียงคลิกหรือแกร็บในเข่า เข่าติดขัดหรือล็อก ปวดมากขึ้นเมื่อขึ้นลงบันได นั่งยองๆ หรืองอเข่า
สาเหตุหลัก: เยื่อบุข้อเข่าด้านในหนาตัวและอักเสบ เกิดจากการใช้งานเข่าซ้ำๆ เช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน หรือกล้ามเนื้อต้นขาไม่สมดุล
การบรรเทาอาการเบื้องต้น:
- ลดกิจกรรม: หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องงอเข่า บิดเข่า หรือลงน้ำหนักที่เข่ามากเกินไป
- ประคบเย็น: ประคบเย็นบริเวณเข่า 15-20 นาที หลายครั้งต่อวัน เพื่อลดอาการบวมและปวด
- พยุงและยกสูง: ใช้ผ้ายืดรัดรอบเข่าเบาๆ และยกขาให้สูงกว่าระดับหัวใจเมื่อพัก
- สำหรับเอ็นยึดเข่าบาดเจ็บ: อาจต้องใช้ไม้ค้ำยันช่วยเดินในช่วงแรกเพื่อลดการลงน้ำหนัก และแพทย์อาจแนะนำให้ใส่เครื่องพยุงเข่าชนิดมีบานพับ
D: ปวดด้านในเข่าส่วนล่าง
บริเวณนี้มักเกี่ยวข้องกับจุดเกาะของเอ็นหลายเส้นที่มารวมกัน สาเหตุแตกต่างตามอาการดังนี้
- อาการ: ปวดและกดเจ็บ ด้านในหัวเข่าส่วนล่าง ปวดมากขึ้นเมื่อขึ้นลงบันได นั่งขัดสมาธิ ลุกยืน หรือออกกำลังกาย บางรายอาจมีบวมเล็กน้อย
สาเหตุหลัก: จุดเกาะร่วมของเส้นเอ็น 3 เส้นอักเสบ เกิดจากการใช้งานเข่าซ้ำๆ เช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน ขึ้นลงบันได รวมถึงปัจจัยอย่างข้อเข่าเสื่อม น้ำหนักเกิน กล้ามเนื้อตึง หรือเท้าแบน
การบรรเทาอาการเบื้องต้น:
- พักการใช้งาน: หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กระตุ้นความเจ็บปวด เช่น การวิ่ง การขึ้นลงบันได หรือการนั่งยองๆ
- ประคบเย็น: ประคบน้ำแข็งห่อผ้าบริเวณที่ปวด 15-20 นาที หลายครั้งต่อวัน เพื่อลดการอักเสบและปวด
- ยืดเหยียด: เน้นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง และกล้ามเนื้อต้นขาด้านในเพื่อลดความตึงเครียดที่จุดเกาะ
E: ปวดใต้กระดูกสะบ้า
อาการปวดใต้สะบ้าอาจเกี่ยวข้องกับถุงน้ำ เอ็นสะบ้า หรือกระดูกอ่อนสาเหตุแตกต่างตามอาการดังนี้
- อาการ: ปวดบวม กดเจ็บใต้สะบ้า โดยเฉพาะเมื่องอหรือเหยียดเข่าสุดๆ หรือเจ็บเมื่อคุกเข่า วิ่ง กระโดด
สาเหตุหลัก: ถุงน้ำใต้สะบ้าอักเสบ เกิดจากการใช้งานซ้ำๆ การคุกเข่าบ่อย หรือบาดเจ็บโดยตรง - อาการ: ปวดและกดเจ็บใต้สะบ้า ปุ่มกระดูกหน้าแข้งนูนขึ้น ปวดมากขึ้นเมื่อวิ่ง กระโดด คุกเข่า นั่งยองๆ อาจมีบวมแดง
สาเหตุหลัก: เอ็นสะบ้าและกระดูกอ่อนบริเวณปุ่มกระดูกหน้าแข้งอักเสบ มักพบในเด็กและวัยรุ่นชายอายุ 10-15 ปี ที่กำลังโตและเล่นกีฬาหนัก เกิดจากแรงดึงซ้ำๆ ที่จุดเกาะเอ็นสะบ้า - อาการ: ปวดและกดเจ็บใต้สะบ้า ปวดมากเมื่อกระโดด วิ่ง นั่งยองๆ ขึ้นลงบันได หรือเหยียดเข่าต้านแรง อาการปวดมักค่อยๆ รุนแรงขึ้น
สาเหตุหลัก: เอ็นสะบ้าอักเสบ มักพบในนักกีฬาที่กระโดดซ้ำๆ หรือใช้กล้ามเนื้อต้นขาหนัก เช่น บาสเกตบอล วอลเลย์บอล - อาการ: ปวดลึกๆ ใต้สะบ้าด้านหน้าเข่า ปวดมากเมื่อเหยียดเข่าตรง ยืนเดินนาน หรือขึ้นลงบันได เมื่อกดจะรู้สึกเจ็บ อาจบวมเล็กน้อย
สาเหตุหลัก: เนื้อเยื่อไขมันใต้สะบ้าอักเสบ เกิดจากการเหยียดเข่ามากเกินไป บาดเจ็บโดยตรง ใช้งานซ้ำๆ หรือโครงสร้างผิดปกติ - อาการ: ปวดข้อ บวม ข้อติดล็อก มีเสียงดังในข้อเข่าอ่อนทรุด เคลื่อนไหวได้ไม่มาก
สาเหตุหลัก: อักเสบของกระดูกอ่อนและกระดูกบริเวณข้อ สาเหตุไม่แน่ชัด อาจเกิดจากการบาดเจ็บซ้ำๆ ขาดเลือดเลี้ยง หรือกรรมพันธุ์ - อาการ: ปวดและกดเจ็บบริเวณปลายล่างของกระดูกสะบ้า ปวดมากเมื่อกระโดด วิ่ง เตะ นั่งยองๆ คุกเข่า อาจมีบวมเล็กน้อย
สาเหตุหลัก: การอักเสบของจุดเกาะเอ็นสะบ้าที่กระดูกสะบ้า มักพบในเด็กและวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี ที่กำลังโตและเล่นกีฬาใช้เข่าหนัก
การบรรเทาอาการเบื้องต้น:
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมกระตุ้น: งดหรือลดกิจกรรมที่ทำให้ปวด โดยเฉพาะการคุกเข่า การงอ/เหยียดเข่าสุด การวิ่ง หรือการกระโดด
- ประคบเย็น: ประคบน้ำแข็งห่อผ้าบริเวณที่ปวดและบวม 15-20 นาที หลายครั้งต่อวัน โดยเฉพาะหลังทำกิจกรรมที่ลงน้ำหนัก
- พยุง: ใช้ผ้ายืดรัดรอบเข่าเบาๆ หรือสนับเข่า/สายรัดใต้สะบ้า เพื่อช่วยลดแรงกระทำและบรรเทาอาการปวด
- ยกขาสูง: ยกขาให้สูงกว่าระดับหัวใจเมื่อพัก เพื่อช่วยลดอาการบวม
- ประคบร้อน : อาจประคบร้อนเมื่อปวดเรื้อรังหรือข้อตึง เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อ
F: ปวดหัวกระดูกน่อง
บริเวณนี้อยู่ด้านนอกของหัวเข่าลงไปเล็กน้อยสาเหตุแตกต่างตามอาการดังนี้
- อาการ: ปวด กดเจ็บด้านนอกเข่า อาจมีอาการชา อ่อนแรง หรือเท้าบวมช้ำร่วมด้วย
สาเหตุหลัก: อาจเกิดจากเอ็นยึดเข่าด้านนอกฉีกขาด จุดเกาะเอ็นแฮมสตริงอักเสบ, การถูกกระแทก/กดทับเส้นประสาท (ทำให้มีอาการชา อ่อนแรงร่วม), กระดูกหัก หรือ ข้อต่อเคลื่อนผิดปกติ
การบรรเทาอาการเบื้องต้น:
- งดกิจกรรม: ลดหรือหยุดกิจกรรมที่กระตุ้นความเจ็บปวด
- ประคบ: สำหรับปวดเฉียบพลันหรือบวม ให้ประคบเย็น 15-20 นาที หลายครั้งต่อวัน หากปวดเรื้อรังหรือกล้ามเนื้อตึงตัว อาจใช้การประคบร้อนช่วยคลายกล้ามเนื้อ
- ยืดเหยียด: ค่อยๆ ยืดกล้ามเนื้อน่องและต้นขาด้านหลังอย่างเบามือ หากไม่เพิ่มความปวด
G: ปวดด้านนอกของเข่า
อาการปวดด้านนอกเข่ามักเกี่ยวข้องกับเยื่อบุข้อ เอ็น หรือหมอนรองกระดูก
- อาการ: ปวดแสบตื้อ ด้านนอกเข่า แย่ลงเมื่อออกกำลังกาย อาจปวดร้าวขึ้นสะโพก อาจมีเสียงคลิก
สาเหตุหลัก: กลุ่มเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ เกิดจากการเสียดสีจากการใช้งานซ้ำๆ เช่น การวิ่ง ปั่นจักรยาน กล้ามเนื้อสะโพกอ่อนแรง หรือเทคนิคการออกกำลังกาย/อุปกรณ์ไม่เหมาะสม - อาการ: ปวดตื้อ เจ็บแปลบ ด้านนอกเข่า มีเสียงคลิกหรือแกร็บในเข่าด้านนอก เข่าติดขัดหรือล็อก ปวดมากขึ้นเมื่องอ เหยียดเข่าซ้ำๆ หรือลงน้ำหนัก
สาเหตุหลัก: เยื่อบุข้อเข่าด้านนอกหนาตัวและอักเสบ เกิดจากการใช้งานเข่าซ้ำๆ การบิดหรือกดด้านนอก บาดเจ็บโดยตรง หรือโครงสร้างด้านข้างเข่าตึง - อาการ: ปวด บวม ช้ำด้านนอกเข่า กดเจ็บ เข่าไม่มั่นคง อาจมีเสียง "ป๊อป"
สาเหตุหลัก: เอ็นยึดข้อเข่าด้านนอกบาดเจ็บ เกิดจากการถูกกระแทกด้านในเข่า ทำให้เข่าโก่งเข้าด้านใน อาจเกิดจากอุบัติเหตุเมื่อเล่นกีฬา หรือล้ม แบ่งความรุนแรงเป็น 3 ระดับ - อาการ: ปวดเข่าด้านนอก บวม เข่าติดขัด เข่าล็อก มีเสียงดัง เข่าอ่อนทรุด
สาเหตุหลัก: หมอนรองกระดูกเข่าด้านนอกฉีกขาด เกิดจากการบิด หมุนเข่ารุนแรงจากการเล่นกีฬา การกระแทกโดยตรง หรือการเสื่อมตามวัย
การบรรเทาอาการเบื้องต้น:
- พักและลดกิจกรรม: หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวด เพื่อให้โครงสร้างที่บาดเจ็บได้พักและฟื้นตัว ควรมีการเคลื่อนไหวเบาๆ เท่าที่ไม่ปวด เพื่อป้องกันข้อติด
- ประคบเย็น: ประคบเย็นด้วยผ้าห่อน้ำแข็งบริเวณที่ปวด 15-20 นาที หลายครั้งต่อวัน โดยเฉพาะหลังกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการ เพื่อลดการอักเสบและบวม
- พยุง: ใช้ผ้ายืดหรืออุปกรณ์พยุงรัดบริเวณที่อักเสบเบาๆ เพื่อลดอาการบวมและช่วยพยุงเส้นเอ็น
หากมีอาการปวดเข่ารุนแรง เข่าบวมมาก เข่าล็อก หรือไม่สามารถลงน้ำหนักได้ควรรีบไปพบ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ โดยด่วน เพื่อการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที
บทความที่คุณอาจสนใจ
- เล็บมือผู้ชายดูแลอย่างไรให้ประทับใจสาว สะอาดน่ามองบุคลิกภาพดี แบบง่ายๆ
- รวมรองเท้าผ้าใบผู้ชายสาย luxury แบรนด์ไหนดีราคาเท่าไหร่ ใส่ได้หลายโอกาส
- น้ำหอมผู้ชายกลิ่น Green Aromatic ยี่ห้อไหนดีหอมสดชื่นชวนหลงไหล
- 10 วิธีประหยัดเงิน ออมเงิน สำหรับมนุษย์เงินเดือน
- เวลาน้อยก็หุ่นดีได้ วิธีออกกำลังกายสำหรับผู้ชายเวลาน้อย