หมากล้อม หรือจะเรียกว่า Igo(โกะ) ในภาษาญี่ปุ่น , Baduk(พาดุค) ในภาษาเกาหลี ,Weiqi(เหวยฉี) ในภาษาจีน เป็นหมากกระดานที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมากกว่า 3000 ปี และเป็นหมากกระดานที่มีอิทธิพลในประวัติศาสตร์ และในปัจจุบันเองทั้งสามประเทศนี้ก็ยังเป็นประเทศที่มีประชากรเล่นหมากล้อมที่เยอะที่สุดรวมทั้งมืออาชีพทางด้านหมากล้อม ก็เป็นดั่ง Idol และตัวตนที่เป็นแบบอย่างที่ทุกคนต้องการไขว่คว้าทางด้านสติปัญญาเสมอมา วันนี้ ไม่จำกัดอายุ จะพามาพบกับ วิธีเล่นหมากล้อม ฉบับหัดเล่น สำหรับผู้ที่สนใจในหมากกระดานชนิดนี้ มาเรียนรู้ไปด้วยกันครับกฏกติกาหมากล้อม ฉบับหัดเล่น1. อุปกรณ์ หมากล้อมจะเล่นกันบนกระดานตารางเส้นตัดขนาด 9x9 เส้น 13x13 เส้น และ 19x19 เส้น กระดานหมากล้อมดั้งเดิมเริ่มแรกจะเป็นกระดาน 19x19 เส้น อีกทั้งเป็นขนาดที่ใช้ในการแข่งขันอีกด้วย ส่วนตัวเม็ดหมากจะเป็นหมากรูปทรงกลมมีสีขาวและสีดำ(หรือสีอื่นๆที่แตกต่างกันสองสีก็ได้เช่นกันแต่ตามมาตรฐานจะเป็นสีขาวและสีดำ)ตัวอย่างกระดานกระดานและเม็ดหมากกระดานขนาดต่างๆ 2. การวางหมาก การวางหมากของหมากล้อมนั้น จะวางอยู่บนเส้นที่ตัดกันโดยผู้ที่ถือ หมากสีดำจะเป็นฝ่ายเริ่มก่อนและสลับกันเล่นคนละ 1 เม็ดจนกว่าจะจบกระดานตัวอย่างการวางหมากจะเห็นว่าหมากสีดำและสีขาววางไว้บนจุดเส้นตัด ดังเส้นสีแดงที่เห็นในรูป3. การจับกินหรือจับเชลย(ลมหายใจของหมาก) ในหมากล้อมก็มีการจับกินหรือจับเชลย(ลมหายใจของหมาก) เช่นกันแต่วิธีการของหมากล้อมจะต้องทำความเข้าใจสักหน่อย โดยเม็ดหมากของเราจะมีลมหายใจของตัวเอง ซึ่งลมหายใจจะดูได้จากเส้นที่พุ่งออกมาเม็ดหมากของเราดังในรูป เส้นลมหายใจ พอเห็นรูปแบบนี้แล้ว เราก็จะมานับลมหายใจกัน อย่างในรูปตัวอย่างมีออกมาทั้งหมดสี่เส้น ก็จะนับเป็น 4 ลมหายใจหากเราปิดลมหายใจทั้งหมดก็จะเป็นการจับกินหรือจับเชลยนั้นเองนับลมหายใจจับกิน เมื่อเราปิดลมหายใจหมดดังรูป เราก็จะหยิบเม็ดหมากที่ตายแล้ว(เครื่องหมาย X) มาเก็บไว้เป็นเชลยของเรา และนำมานับแต้มรวมตอนท้ายเกมซึ่งจะมาอธิบายในข้อถัดๆไปคำถาม? แบบไวๆ แล้วถ้าเรามีเม็ดหมากติดกัน สองเม็ดสามเม็ด จะนับลมหายใจยังไงเอ่ยยย คำตอบ ก็คือ นับแบบเดียวกันครับ นับเส้นที่พุ่งออกมาจากเม็ดหมากเราเหมือนเดิม เพียงแต่ถ้าหมากติดกันเราก็จะนับลมหายใจรวมกันเป็นกลุ่มเดียว ไปดูตัวอย่างกันเลยว่านับยังไงไหนลองนับกันสิ ได้ลมหายใจเท่าไหร่กันเฉลยตัวอย่าง การนับลมหายใจนับถูกกันมั้ยครับ เฉลยตามนี้เลย กลุ่มซ้ายบนมีทั้งหมด 7 ลมหายใจ กลุ่มเม็ดหมากสองเม็ดมี 6 ลมหายใจ กลุ่มที่มีรูปเหมือนเครื่องหมายบวกจะมี 8 ลมหายใจ และกลุ่มเม็ดหมากสามเม็ดที่ติดขอบกระดานจะมี 7 ลมหายใจ มาอธิบายกันสักหน่อยเพิ่มความเข้าใจกันนิดนึง จากรูปเครื่องหมายบวกกันเราจะเห็นจุดที่มีลมหายใจร่วมกันอยู่ เราจะนับจุดที่ร่วมกันรวมเป็นจุดเดียวแบบในรูป ถึงจะมาจากเม็ดหมากคนละเม็ดกัน ก็นับรวมกันเป็นเพียง 1 ลมหายใจอยู่ดี พอนับรวมๆทั้งหมดแล้วก็จะมีลมหายใจทั้งหมด 8 ลมหายใจนั่นเองถ้าลองจับกินดูก็จะได้เป็นแบบนี้กฏสำคัญ !!! ห้ามฆ่าตัวตาย ในวิธีจับกินของหมากล้อม คือการปิดลมหายใจฝั่งตรงข้ามแล้วนั้น แต่นึกสงสัยขึ้นมาเราสามารถปิดลมหายใจตัวเองจนตายได้หรือไม่ คำตอบก็คือไม่ได้นั่นเองครับ ในหมากล้อมมีกฏก็คือการห้ามวางหมากเป็นการฆ่าตัวตาย หรือการปิดลมหายใจสุดท้ายของตัวเองนั่งเอง มาดูรูปตัวอย่างกันเลย จากที่เห็นในรูป หมากสีขาวไม่สามารถวางบริเวณเครื่องหมาย X ได้เนื่องจากเมื่อวางลงเป็นการปิดลมหายใจของเม็ดหมากตัวเองทั้งหมด จึงเข้ากฏห้ามการวางหมากฆ่าตัวตาย มาดูรูปถัดไปกัน ในรูปนี้ก็เช่นกัน ตอนนี้ลมหายใจสีขาวเหลือเพียง 1 ลมหายใจหากสีขาววางตรงบริเวณเครื่องหมาย X ก็จะนับเป็นการฆ่าตัวตายเช่นกัน จากกฏที่ห้ามการวางหมากฆ่าตัวตาย จึงทำให้มีรูปแบบที่เม็ดหมากของเราไม่มีวันโดนจับกินซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นฐานหมากล้อมที่ต้องรู้ก็คือการสร้างสองห้อง โดยเป็นรูปแบบนี้ ซึ่งจะเห็นว่าบริเวณด้านในของกลุ่มหมากดำ ที่มีเครื่องหมาย X อยู่สองจุด จึงทำให้ขาวไม่สามารถวางได้ทั้งสองที่ และทำให้หมากสีดำไม่มีวันโดนจับกินตามกฏของหมากล้อมที่วางได้ทีละเม็ด และห้ามวางฆ่าตัวตายจึงเรียกว่ากลุ่มหมากกลุ่มนี้เป็นอมตะนั้นเอง กฏเพิ่มเติมการจับกิน โคะ(ko) นอกจากการกินแบบปกติแล้ว เรายังมีกฏเพิ่มเติมสำหรับกรณีที่หมากเกิดเหตุการณ์ที่สามารถสลับกันกินไปกินมา ตามเหตุการณ์แบบนี้ จะเห็นได้ว่าหมากสีดำสามารถกินหมากสีขาวได้ที่เครื่องหมาย X ทางด้านขวา และสีขาวก็สามารถกินหมากสีดำคืนได้ตรงหมากเครื่องหมาย X ทางด้านซ้ายได้เช่นกัน ในกรณีแบบนี้เราจะเรียกเหตุการณ์นี้ว่าการเกิดโคะ ซึ่งกฏของการเล่นโคะ ก็คือหากเราจะจับกินหมากฝั่งตรงข้ามกลับ เราจำเป็นต้องวางจุดอื่นก่อน 1 เม็ด ถึงจะสามารถจับกินคืนได้ อธิบายเฉยๆอาจจะงงๆกัน มาดูลำดับหมากตัวอย่างกันเลยเม็ดที่ 1 เริ่มจากสีดำจับกินสีขาวก่อน 1 เม็ดบริเวณหมากสีขาวเครื่องหมาย X จากรูปด้านบน เม็ดที่ 2 สีขาวจำเป็นต้องเล่นที่อื่นก่อน 1 เม็ดก่อนจะจับกินคืนได้เม็ดที่ 3 รับมือหมากสีขาวจุดอื่นโดยไม่ป้องกันจุดที่จะโดนกินคืน บริเวณที่เป็นโคะเม็ดที่ 4 หลังจากขาวเล่นที่อื่นแล้ว 1 เม็ดคราวนี้สีขาวก็สามารถจับกินคืนได้แล้ว4.การนับคะแนน ล้อมพื้นที่ เมื่อรู้จักการจับกินที่ดูเป็นการล้อมตามชื่อหมากล้อมแล้ว ก็ยังมีการล้อมพื้นที่ตามชื่อหมากล้อมอีกอย่างนึงด้วย ด้วยเกมนี้ไม่ได้แพ้ชนะกันที่ใครจับกินหมากอีกฝั่งหมดก่อน แต่เป็นการที่ใครสามารถล้อมพื้นที่ได้มากกว่ากันฝ่ายนั้นจะเป็นฝ่ายชนะ อีกทั้งเนื่องจากหมากสีดำเป็นฝ่ายเริ่มก่อน ทำให้ฝ่ายสีขาวเป็นฝ่ายเสียเปรียบจึงมีแต้มชดเชยให้กับหมากขาวซึ่งจะแตกต่างตามขนาดกระดานและกฏของประเทศนั้นๆเช่นในประเทศไทยจะใช้กฏการแข่งขันแบบเดียวกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งแต้มต่อของกระดาน 9x9 จะได้ 1.5 แต้ม 13x13 จะได้ 3.5 แต้ม และ กระดาน 19x19 จะได้ 6.5 แต้ม ส่วนล้อมแต้มยังไงเป็นแบบไหนไปดูตัวอย่างกันเลยครับ ตัวอย่างการล้อมพื้นที่1จากที่เห็นในรูป หมากสีดำทั้งหมด 9 เม็ดล้อมพื้นที่ตรงกลางอยู่ เราจะนับจุดที่อยู่ในวงล้อมของหมากของเราเป็นพื้นที่ โดยในรูปนี้ก็มีทั้งหมด 9 แต้มนั้นเองเอาละหลังจากรูปวิธีนับแล้ว ลองนับแต้มของรูปนี้ดูสิว่าทั้งสองสีมีทั้งหมดกี่แต้มเฉลย สี่ดำมีทั้งหมด 22 แต้ม และสีขาวมีทั้งหมด 14 แต้มนั้นเองนับแต้มหมากดำนับแต้มหมากขาวอ๊ะๆ แต่ว่า ทำไมมีบางจุดที่ไม่ได้นับแต้มละ จุดนี้เราเรียกว่าแต้มว่าง แต้มว่างเกิดขึ้นได้ยังไง คือบริเวณที่มีหมากของทั้งสองฝ่ายอยู่ร่วมกันโดยไม่มีฝ่ายใดฝ่ายนึงล้อมอยู่ เราจะไม่นำมานับรวมแต้มของทั้งสองฝ่าย เหมือนบริเวณหมากเครื่องหมาย X ในรูปโดยมีหมากเครื่องหมาย ❑ ของทั้งสองสีอยู่โดยไม่มีใครล้อมุ6. การจบเกม นับแต้มแพ้ - ชนะหลังจากเรารู้วิธีการจับกิน และการนับแต้มแล้ว วิธีการจบเกมของเกมนี้ก็คือ การที่ทั้งสองฝ่ายมีการแบ่งพื้นที่กันอย่างชัดเจนเหมือนในรูปที่เราใช้ฝึกฝนการนับแต้มเมื่อกี้นะ แล้วเราจะสังเกตยังไงมาลองดูรูปภาพสองกรณีกันกรณีที่ 1 กรณีที่ 2 จะเห็นว่ากรณีที่ 1 มีการปิดล้อมพื้นที่อย่างเสร็จสมบูรณ์ แต่ในกรณีที่สองนั้นยังเหลืออีกหลายๆจุดที่ยังไม่มีการปิดล้อมพื้นที่ ดูตามเครื่องหมาย X ได้เลยครับหากยังไม่ปิดบริเวณดังกล่าวก็ยังไม่สามารถจบเกมและนับแต้มได้ (หากเป็นการเล่นในโปรแกรมแล้วกดจบเกม บริเวณที่ยังไม่ถูกปิด จะไม่ถูกนับแต้มทั้งหมด) ถ้าปิดแล้วก็จะได้รูปประมาณนี้หลังจากนั้นเราก็มานับแต้มกัน ว่าแต่ละฝ่ายได้เท่าไหร่กันนะเมื่อเรานับแต้มแล้วจะเห็นว่าฝ่ายสีดำได้ 17 แต้ม และสีขาวได้ 23 แต้มส่วนบริเวณเครื่องหมาย X เป็นแต้มว่าง แต่หากเรามีเชลยที่จับกินมาอยู่กี่เม็ดก็ตามให้นำมาหักลบแต้มของฝั่งตรงข้ามอย่างเช่น สมมุติว่าสีดำมีหมากเชลยอยู่ 3 เม็ด และสีขาวมี 1 เม็ด สีดำจะเหลือ 16 แต้ม และสีขาวเหลือ 20 แต้ม หลังจากนั้นมาดูกระดานที่เราเล่นเป็นกระดานขนาด 9x9 ทำให้สีขาวมีแต้มชดเชย 1.5 แต้มสีขาวจึงรวมแต้มเป็นทั้งหมด 21.5 แต้ม ฝ่ายสีขาวเป็นฝ่ายชนะ 5.5 แต้ม หมากล้อมยังคงหมากกระดานที่มาการศึกษาค้นคว้าและค้นพบอะไรใหม่ๆ อยู่ทุกวันและยังเป็นหมากกระดานชนิดหนึ่งที่แพร่หลายไปทั่วโลก อีกทั้งในปัจจุบัน AI ก็เข้ามีส่วนในการศึกษาทำให้เกิดรูปแบบหมากใหม่ๆจากคอมพิวเตอร์อีกด้วย หากใครสนใจการเล่นหมากล้อม สามารถหาเรียนรู้เพิ่มเติมทั้งผ่าน Internet หรือการเขาเรียนกับสถาบันการสอนหมากล้อม ทั้งของสมาตมกีฬาแห่งประเทศไทย และเจ้าอื่นๆก็มีมากมาย หากคุณเป็นคนชอบการวางกลยุทธ การวางแผน การคิดวิเคราะห์ หมากล้อมก็เป็นทางเลือกนึงที่คุณจะได้สนุกและดื่มด่ำไปกับการคิดแผนการของตัวเองขึ้นมา หากใครสนใจสามารถเดินทางไปยังสมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทยได้โดยขึ้น BTS ไปลงสถานีศาลาแดงเดินมาทางถนนคอนแวนต์ตรงเข้ามาเข้าซอยศาลาแดง 2 เดินข้ามาซัก 100 เมตรสมาคมจะอยู่ทางขวามือ หรือตาม Location ได้เลยครับ ตึกสมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทยหากใครชื่นชอบผลงาน ไม่จำกัดอายุ ติดตามบทความอื่นๆได้ทางนี้เลยไม่จำกัดอายุ True Creator Blogกีฬาหมากล้อม ศาสตร์แห่งการวางแผนรีวิว เพลินแค้นแห่งอัศวิน (WEBTOON) มังฮวาสายบู๊ที่ใช้มากกว่ากำลังหากใครสนใจที่จะเข้ามาเป็น True Creator กับพวกเราก็เชิญทางนี้เลยครับ สมัคร TrueIDCreator!!! #TrueIDCreatorWorkshop #Workshop2 เครดิตรูปภาพขอบคุณรูปภาพที่ 1 จาก Freepik.com โดย Waewkidjaรูปภาพที่ 2 / 3 / 5 / 6 / 7 / 8 / 9 / 10 / 11 / 12 / 13 / 14 / 15 / 16 / 17 / 18 / 19 / 20 / 21 / 22 / 23 / 24 / 25 / 26 / 27 / 28 / 29 โดยนักเขียนขอบคุณรูปภาพที่ 30 จาก Google Mapsเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !