ทีมชาติไทยชุดใหญ่มีคิวที่จะลงฟาดแข้งในช่วง ฟีฟ่าเดย์ สองเกม โดยเกมแรกจะเจอกันทีมชาติเนปาล ในวันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม 2565 เวลา 19.00 น. สนาม ชลบุรี สเตเดี้ยม ส่วนเกมที่สองจะเจอกันทีมชาติซูรินาม ในวันที่อาทิตย์ที่ 27 มีนาคม 2565 เวลา 19.00 น. สนามบีจี สเตเดี้ยม ซึ่งโดยทั้งสองทีมก็ยังคงทำงานภายใต้ของผู้จัดการทีม มาโนล โพลกิง แต่ประเด็นของสองเกมนี้มีสิ่งที่แฟนบอลคาดหวังที่นอกเหนือจากผลการแข่งขันนั่นก็คือการเปลี่ยนแปลงภายในทีม แม้ว่าทีมชาติไทยชุดนี้จะคว้าแชมป์เอเอฟเอฟซูซูกิคัพ 2020 มาได้ก็จริงแต่ก็ยังมีบางอย่างที่ดูจะขาดหายไปจากทีมชาติชุดนี้ ทำให้แฟนบอลชาวไทยต่างตั้งตารอดูว่าผลงานในสองเกมนี้สิ่งที่หายไปก่อนหน้านี้ของทีมชาติไทยจะมีจะกลับมาให้เห็นในสองเกมนี้หรือไม่ รวมถึงสิ่งที่เป็นจุดอ่อนจากเกมล่าสุดจะถูกแก้ไขหรือไม่ มาถึงตรงนี้แฟนบอลคงสงสัยกันแล้วว่าอะไรที่ขาดหายไปจากทีมชาติชุดนี้ ในบทความนี้จะพาทุกท่านไปดูกันสักหน่อยว่า 3 สิ่งที่แฟนบอลชาวไทยอยากจะเห็นนั้นมีอะไรกันบ้าง 1. การต่อบอล-เอาตัวรอดในพื้นที่แคบ ปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคของผู้จัดการทีม ซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง การต่อบอลในพื้นที่แคบ ๆ ดูจะเป็นเครื่องหมายการค้าของทีมชาติไทยในยุคนั้น จนได้รับคำชมทั้งในปละต่างประเทศว่าต่อบอลได้เนียนตา และด้วยการต่อบอลแบบนี้ก็สามารถเอาตัวรอดจากพื้นที่แคบ ๆ ได้อยู่เสมอ แต่หลังจากที่เปลี่ยนผู้จัดการทีมสายเลือดไทบคนนี้ออกไปสิ่งที่เป็นเครื่องหมายการค้านี้ก็ดูจะเลือนหายไปด้วยเช่นกัน ในยุคของ มาโนล โพลกิง การเอาตัวรอดในพื้นที่แคบ ๆ แล้วพาบอลไปข้างหน้าเพื่อที่จะทำเกมรุกต่อนั้นแทบจะไม่ได้เห็นเลยก็ว่าได้ สิ่งที่ได้เห็นก็คือการเอาตัวรอดแบบชัวร์ ๆ คือส่งบอลคืนหลังตั้งกันใหม่หลังจากที่เคลียร์บอลออกมาได้ แม้ว่าเป็นสิ่งที่เล่นเพื่อเซฟเพลย์ก็จริง แต่ก็ทำให้โอกาสเจาะเข้าไปในพื้นที่อันตรายในจังหวะที่ดึงคู่ต่อสู้เข้ามาหาแล้ว แล้วพื้นที่ด้านในวางก็จะหมดไปเช่นกัน ซึ่งก็การต่อเอาตัวรอดและต่อบอลในพื้นที่แคบเพื่อดึงคู่ต่อสู้เข้ามาแย่งบอลเพื่อเปิดพื้นที่แบบนี้ก็ยังหวังว่าจะได้เห็นรูปแบบการทำสวย ๆ แบบนี้อีกครั้ง 2. เพรสซิ่งสูง-วิ่งเข้าใส่ในช่วง15นาทีแรก รูปแบบเกมแบบนี้หากคนที่ชอบดูบอลจะเห็นบ่อยกับทีมที่เล่นเพื่อต้องการประตูขึ้นนำเร็วเพื่อจะได้ลดความกดดัน ทำไมต้องบีบตั้งแต่แรก สาเหตุก็ง่าย ๆ เพราะในช่วงแรกพละกำลังยังดีและเกมรับคู่ต่อสู้ก็ยังปรับตัวไม่ค่อยได้ ซึ่งตั้งแต่รายการ เอเอฟเอฟซูซูกิคัพ 2020 รูปแบบเกมแบบนี้ไม่ได้เห็นเลยกับทีมชาติไทยชุดนี้ เพราะจะเน้นบอลเอาชัวร์ ไม่วิ่งเพลสเวลาเสียบอลแต่จะกลับมาเน้นโซนมากกว่า ซึ่งหากมองในมุมของฟุตบอลการทำประตูคู่แข่งได้ก่อนหรือการวิ่งเข้าใส่เพื่อขู่คู่แข่งถือว่าเป็นหนึ่งในจิตวิทยาเพื่อเป็นการกดดันคู่ต่อสู้ไม่ให้ขึ้นเกมรุกถึงไม่ว่าในช่วง 15 นาทีดังกล่าวนั้นจะไม่สามารถทำประตูได้ แต่การขู่แบบนี้ก็ทำให้คู่แข่งไม่กล้าที่จะผลีผลามทำเกมรุกอย่างที่ใจอยากได้แน่นอน ซึ่งลูกขู่แบบนี้ยังไม่ได้เห็นในทีมชาติไทยชุดใหญ่ ซึ่งไม่ใช่แค่เกมเอเอฟเอฟซูซูกิคัพ 2020 แต่ในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกที่ตกรอบไปก็ไม่ได้เห็นรูปแบบนี้เกมแบบนี้แม้แต่ครั้งเดียว 3. ลูกสูตรจากเตะมุม-ฟรีคิก ย้อนไปเมื่อเกมคัดเลือกฟุตบอลโลกกลุ่มG ทีมชาติไทย เป็นหนึ่งในสามทีมที่ทำประตูจากลูกตั้งเตะได้น้อยที่สุด โดยอันดับหนึ่งในทีมร่วมสายก็ไม่ใช่ใครที่ไหนทีมชาติยูเออีนั่นเอง สาเหตุหนึ่งอาจจะด้วยรูปร่างที่ทีมชาติไทยนั้นสู้ไม่ได้ในเรื่องของลูกกลางอากาศ แต่ถึงอย่างนั้นเมื่อดูจากลูกตั้งเตะหลาย ๆ ครั้งไม่ว่าจะเป็นลูกเตะมุมหรือลูกที่ได้ฟรีคิกในระยะอันตราย ก็ไม่ได้มีความหลากหลายเท่าไหร่ในการเข้าทำ นี่จึงทำให้อดคิดไม่ได้ว่าน่าจะมีลูกสูตรที่หลากหลายกว่านี้หรือไม่ แล้วลูกสูตรที่ว่ามีอะไรบ้างที่พอจะสร้างความอันตรายมากขึ้น ? ในกรณีที่เราเสียเปรียบเรื่องรูปร่างการเล่นลูกกลางอากาศสิ่งแรกก็คือการเขี่ยเปลี่ยนจุดแล้วเพื่อให้เปิดช่องที่จะยิงผ่านกำแพงได้ โดยใช้ผู้เล่นสกรีนกำแพงไว้เพื่อเปิดช่องในโอกาสในการยิงโดยตรง สูตรนี้จะเห็นกันบ่อยมากในลีกโคลัมเบีย อีกแบบหนึ่งก็คือการสกรีนผู้รักษาประตูเพื่อให้ออกมาตัดบอลน่ากรอบเขตโทษได้ยากขึ้นเมื่อเปิดบอลเข้าไป แม้ว่าจะเสี่ยงต่อการฟาวล์ก็จริง แต่มันก็คุ้มที่จะลองไม่ใช่หรือ อีกสูตรหนึ่งที่จะเห็นบ่อยก็คือการเปิดบอลเข้าเสาร์แรกแล้วให้ผู้เล่นวิ่งติดหน้าเข้ามาโฉบเสาแรกอาจะโหม่งเพื่อเปลี่ยนทางบอลไปเสาสองหรือเพื่อให้บอลเบียดเสาแรกอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะซ้อมกันมาแบบไหน สูตรที่ว่ามาทั้งหมดหลายคนอาจจะบอกว่าใช่ซิมันง่ายเมื่อแค่มานั่งพูดนั่งบอก มันก็จริงอย่างที่หลายคนว่า แต่ก็อย่าลืมว่าสูตรลูกตั้งเตะทั้งหมดที่ว่ามาที่ใช้กันก็เกิดจากการซ้อมในสนามซ้อมก่อนแข่งจริงทั้งสิ้นหากมีการซ้อมมากพอเชื่อว่าจะเกิดผลลัพธ์ได้อย่างน่าพอใจไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่าทั้งหมดทั้งมวลก็ขึ้นอยู่กับผู้จัดการทีมที่จะมองเห็หรือตระหนักกับเรื่องเหล่านี้มากน้อยเพียงใดเท่านั้นเอง ข่าวที่เกี่ยวข้องโจทย์ต้องปรับ เกมรับต้องแก้ ของ "ทีมชาติไทย" ภาตใต้กุมมือ "มาโน โพลกิง "3 จุดเปลี่ยน "ทีมชาติไทย" จากไร้ทรง สู่เส้นทางคว้าแชมป์ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพปัญหา(เรื้อรัง)ที่แก้ไม่ได้ ของ ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทยทีมชาติไทย ต้องแก้จุดไหนถึงจะก้าวไปคว้าแชมป์ AFF U23เครดิตภาพปก twitter.com/Changsuek_TH :: ภาพที่ 1 , ภาพที่ 2เครดิตภาพประกอบ twitter.com/Changsuek_TH :: ภาพที่1 , ภาพที่ 2 , ภาพที่ 3 , ภาพที่ 4 , ภาพที่ 5 , ภาพที่ 6 , ภาพที่ 7 ส่องนักบอลตัวเต็ง ดูสดทุกแมทช์สุดมันส์บน App TrueID โหลดฟรี