รวมเรื่องน่ารู้ formula 1 รู้แล้วดูสนุก! กติกาและศัพท์การแข่งขัน formula 1
สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มดู หรือมีความสนใจในกีฬาที่เร็ว แรงที่สุดในโลกอย่างศึกรถสูตรหนึ่ง ฟอร์มูล่าวัน Formula 1 แล้วได้ยินคำต่างๆ ในระหว่างการแข่งขัน จำนวนรอบการแข่ง การคิดคะแนนในการแข่งขัน F1 นั้น เป็นอย่างไร กติกาและศัพท์การแข่งขัน formula 1 นั้นเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งกติกา และศัพท์การแข่งขันเหล่านี้หากคุณเข้าใจรับรองได้ว่าการดู Formula 1 ของคุณนั้นย่อมสนุกขึ้นอย่างแน่นอน
รวมเรื่องน่ารู้ formula 1 รู้แล้วดูสนุก!
กติกาและศัพท์การแข่งขัน formula 1
รอบการแข่งขัน Formula 1
ในแต่ละวันของการแข่งขัน Formula 1 จะประกอบด้วย
- วันแรก(วันศุกร์) – เป็นรอบฝึกซ้อม (Free Practice) แบ่งเป็น 2 รอบ เช้าและบ่าย หรือบ่ายและค่ำสำหรับกรณีไนท์เรซ รอบละ 90 นาที (สำหรับรายการโมนาโก กรังด์ปรีซ์ รอบฝึกซ้อมจะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดี เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรของเมือง)
- วันที่สอง(วันเสาร์) – เป็นรอบฝึกซ้อมครั้งสุดท้าย ใช้เวลา 60 นาที และถัดมาจะเป็นรอบควอลิฟาย (Qualifying) หรือรอบแข่งขันจับเวลาเพื่อจัดอันดับสตาร์ทในวันแข่งขันจริงคือในวันอาทิตย์ ใช้เวลา 60 นาที ซึ่งปัจจุบันรอบควอลิฟายจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงย่อย ได้แก่
- Q1 ใช้เวลา 18 นาที ผู้ที่ทำเวลาช้าที่สุด 5 คันจะถูกคัดออกและจัดอันดับสตาร์ทตามนั้น
- Q2 ใช้เวลา 15 นาที สำหรับรถ 15 คัน เวลาจาก Q1 จะถูกล้างและแข่งขันจับเวลากันใหม่ ผู้ที่ทำเวลาช้าที่สุดอีก 5 คันจะถูกคัดออกและจัดอันดับสตาร์ทตามนั้น
- Q3 ใช้เวลา 12 นาที สำหรับรถ 10 คันสุดท้าย เวลาจาก Q2 จะถูกล้างและแข่งขันจับเวลากันใหม่และจัดอันดับสตาร์ทตามนั้น ผู้ที่ทำเวลาเร็วที่สุดจะได้ออกตัวจากกริดสตาร์ทอันดับที่ 1 หรือที่เรียกว่าตำแหน่งโพล (Pole Position) ซึ่งเป็นตำแหน่งสตาร์ทที่ดีที่สุด
ทั้งนี้ จำนวนการคัดรถออกจาก Q1 และ Q2 สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามจำนวนรถที่เข้าแข่งขันในแต่ละฤดูกาล สำหรับปีนี้มีทีมเข้าแข่งขัน 10 ทีม รวมจำนวนรถ 20 คัน และทุกคันจะต้องทำเวลาให้อยู่ในเวลา 107% ของเวลาที่เร็วที่สุดใน Q1 เพื่อผ่านการควอลิฟาย
- วันที่สาม(วันอาทิตย์) – เป็นวันแข่งขันหรือ Race Day โดยกำหนดให้ระยะทางรวมในการแข่งขันไม่ต่ำกว่า 300 กม. (สนามโมนาโกถือเป็นข้อยกเว้น) หรือใช้ระยะเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง เว้นแต่การแข่งขันจะถูกคั่นด้วยธงแดงเพื่อหยุดการแข่งขันชั่วคราวอันเนื่องจากอุบัติเหตุหรือสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย
สำหรับการแข่งขัน ฟอร์มูล่าวันใช้ระบบสะสมคะแนนตลอดทั้งฤดูกาล ผู้ที่ได้คะแนนสะสมมากที่สุดทั้งประเภทนักขับและประเภททีมผู้สร้างจะได้แชมป์โลกประจำฤดูกาลไปครอง โดยการให้คะแนนนักขับจะจัดสรรให้กับผู้ที่เข้าเส้นชัย 10 อันดับแรกดังนี้
ลำดับคะแนน Formula 1
- อันดับที่ 1 – 25 คะแนน
- อันดับที่ 2 – 18 คะแนน
- อันดับที่ 3 – 15 คะแนน
- อันดับที่ 4 – 12 คะแนน
- อันดับที่ 5 – 10 คะแนน
- อันดับที่ 6 – 8 คะแนน
- อันดับที่ 7 – 6 คะแนน
- อันดับที่ 8 – 4 คะแนน
- อันดับที่ 9 – 2 คะแนน
- อันดับที่ 10 – 1 คะแนน
โดยคะแนนทีมผู้สร้างจะเป็นการนำคะแนนของนักขับในทีมทั้ง 2 คนที่ได้รับจากแต่ละสนามมารวมกัน
สัญญาณธงในสนาม Formula 1
ธงเป็นเครื่องมือสื่อสารสำคัญอย่างหนึ่งให้กับนักขับที่อยู่ในสนาม สัญญาณธงเบื้องต้นที่ควรทราบ ได้แก่
- ธงเหลือง หมายถึง ให้ขับช้าลง ห้ามแซง
- ธงเขียว หมายถึง สนามเคลียร์แล้ว ช่วงเข้าสู่สภาวะปกติ
- ธงแดง หมายถึง ช่วงหยุดชั่วคราว
- ธงฟ้า หมายถึง รถที่เร็วกว่ามาด้านหลังและต้องการแซง ซึ่งโบกให้กับรถช้าที่วิ่งคนละรอบ
- ธงตราหมากรุก หมายถึง สิ้นสุดช่วง
- ธงดำพร้อมป้ายบอกหมายเลขนักขับ หมายถึง ให้กลับเข้าพิต ถูกตัดออกจากการแข่งขัน
ยาง
ยางที่รถฟอร์มูล่าวันใช้ในปัจจุบันมาจากผู้ผลิตรายเดียว เป็นยี่ห้อ Pirelli (พิเรลลี่) ของอิตาลี ยางแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือยางสำหรับแทร็คแห้งหรือยาง slick และยางสำหรับแทร็คเปียก ซึ่งแต่ละประเภทยังแบ่งเป็นชนิดย่อยได้อีก
ประเภทของยางFormula 1
ยางแห้ง
- ยางซูเปอร์ซอฟต์ – แถบสีแดง
- ยางซอฟต์ – แถบสีเหลือง
- ยางมีเดียม – แถบสีขาว
- ยางฮาร์ด – แถบสีส้ม
ยางเปียก
- ยางอินเตอร์มีเดียต – แถบสีเขียว สำหรับแทร็คกึ่งเปียกกึ่งแห้ง
- ยางฟูลเว็ท – แถบสีฟ้า สำหรับแทร็คที่เปียกมาก มีน้ำขัง
ก่อนการแข่งขันทุกสนาม ปิเรลลี่ จะประกาศชนิดยางที่เลือกให้ใช้ในสนามนั้นๆ จำนวน 2 ชนิด ซึ่งกำหนดจากคุณลักษณะของสนาม ยางชนิดที่แข็งกว่าเรียกว่ายางไพรม์ ส่วนชนิดที่นิ่มกว่าเรียกว่ายางออปชั่น ใช้ทำเวลาได้ดีกว่ายางไพรม์ แต่ก็สึกเร็วกว่า ซึ่งในการแข่งขันนักขับจะต้องใช้ยางทั้ง 2 ชนิด ยกเว้นเมื่อมีฝนตก จะต้องใช้ยางเปียกชนิดใดชนิดหนึ่งหรือทั้งสองชนิด
ในแต่ละสุดสัปดาห์การแข่งขัน นักขับแต่ละคนจะได้รับยางแห้งทั้งหมด 13 ชุด ยางอินเตอร์มีเดียต 4 ชุด และยางฟูลเว็ท 3 ชุดเมื่อเริ่มการแข่งขัน รถทุกคันที่ผ่านเข้าควอลิฟายช่วง Q3 จะต้องใช้ยางชนิดที่ตนทำเวลาเร็วที่สุดไว้ในช่วง Q2
เครื่องยนต์ Formula 1
นับตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา เครื่องยนต์ฟอร์มูล่าวันใช้ขนาด 1.6 ลิตร V6 เทอร์โบ ซึ่งให้กำลังประมาณ 600 แรงม้า และจะได้แรงเพิ่มอีก 160 แรงม้าจากการใช้ระบบ ERS (Energy Recovery System) ซึ่งเป็นระบบที่จะเปลี่ยนพลังงานกลและพลังงานความร้อนมาเป็นพลังงานไฟฟ้า
รถแต่ละคันถูกกำหนดให้บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่เกิน 100 กก. หรือประมาณ 130 ลิตรในการแข่งขันแต่ละสนาม และเครื่องยนต์จะต้องบริโภคน้ำมันไม่เกิน 100 กก./ชม. โดยน้ำหนักรถเมื่อรวมน้ำหนักนักขับและอุปกรณ์ความปลอดภัย แต่ไม่รวมเชื้อเพลิง จะต้องไม่ต่ำกว่า 702 กก.
อากาศพลศาสตร์ แอโรไดนามิกส์
งานด้านแอโรไดนามิกส์ของรถฟอร์มูล่าวันมี 2 เรื่องด้วยกัน คือ แรงกด (downforce) และแรงลาก (drag) ดาวน์ฟอร์ซจะกดยางลงบนพื้นถนนและช่วยให้เข้าโค้งได้เร็วยิ่งขึ้น โดยจะลดแรงลาก ซึ่งเป็นเหมือนกำแพงต้านอากาศขณะรถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ทั้งนี้ ดาวน์ฟอร์ซจะช่วยเพิ่มความเร็วให้รถระหว่างวิ่งบนทางตรงอีกด้วย
ทุกตารางนิ้วบนรถฟอร์มูล่าวันมีผลกับแอโรไดนามิกส์โดยรวมของรถเองและการทำให้แอโรไดนามิกส์เกิดประสิทธิภาพสูงสุดคือกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของทีม
ศัพท์การแข่งขัน formula 1
- Apex - จุดกึ่งกลางของมุมบนสนามแข่งที่นักแข่งใช้เล็งเพื่อที่จะตีเพื่อให้ได้เวลาต่อรอบที่เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
- Aquaplaning - การสูญเสียการบังคับเลี้ยว และการยึดเกาะอันเป็นผลมาจากยางที่ไถลไปบนพื้นผิวสนามแข่งที่เปียก
- Box - "Box Box" เป็นคำที่มักได้ยินทางวิทยุของทีม นักแข่งและวิศวกรจะเลือกใช้คำว่า 'box' มากกว่า 'pit' เนื่องจากเป็นคำที่มีความโดดเด่น และง่ายต่อการได้ยินขณะสวมใส่ เป็นการเรียกเข้า pit หรือขอเข้า pit
- Blistering - การเสื่อมสภาพของยางอันเป็นผลมาจากความร้อนสูงเกินไป ทำให้ยางแตกออกจากกัน
- Chicane - ลำดับของมุมที่คับแคบ และสลับกันซึ่งมักถ่ายด้วยความเร็วต่ำ ของสนามแข่งเก่าๆ ส่วนใหญ่มีการเปิดตัวสิ่งเหล่านี้ในปี 1990 เพื่อช่วยชะลอรถก่อนถึงโค้งความเร็วสูงก่อนหน้านี้
- Cockpit - ส่วนของรถ F1 ที่คนขับอยู่
- Cost cap - ขีดจำกัดทางการเงินเกี่ยวกับจำนวนเงินที่ทีมสามารถใช้ซื้อรถยนต์ของตนได้ตลอดปีการแข่งขัน เพื่อนำมาพัฒนารถ
- Downforce - แรงตามหลักอากาศพลศาสตร์ที่วิศวกร และนักออกแบบสามารถควบคุมได้ เพื่อช่วยให้รถเกาะติดสนามแข่งโดยบังคับอากาศลงด้านล่างเพื่อปรับปรุงการยึดเกาะถนนดีขึ้น
- Drag - แรงต้านตามหลักอากาศพลศาสตร์ของรถ
- DRS - ชื่อเรียกเต็มคือ Drag Reduction System คือปีกหลังแบบปรับได้ที่สามารถ 'เปิด' ได้เพื่อให้มีความเร็วสูงสุดที่สูงขึ้นในส่วนที่กำหนดไว้ล่วงหน้าของสนามแข่ง ผู้ขับสามารถใช้ DRS ของตนได้ตลอดการฝึกซ้อม และรอบคัดเลือก แต่เมื่อมาถึงวันแข่งขัน พวกเขาจะต้องอยู่ห่างจากรถคันข้างหน้าภายในหนึ่งวินาทีจึงจะใช้ DRS ได้
- ERS - ชื่อเรียกเต็มคือ Energy Recovery Systems, ระบบนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่หรือ ERS เป็นเทคโนโลยีที่ควบคุมพลังงานจลน์ (พลังงานที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่)ที่สูญเสียไปจากเบรก บวกกับพลังงานความร้อนที่สูญเปล่าจากเทอร์โบชาร์จเจอร์เพื่อเพิ่มกำลัง MGU-K (หน่วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามอเตอร์ - จลน์ศาสตร์) และ MGU-H (หน่วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามอเตอร์ - ความร้อน) พบได้ในรถ Formula 1 ทุกคัน