รีเซต
วิธีรักษาสิวฮอร์โมน สำหรับผู้ชาย แบบธรรมชาติ VS แบบใช้ยา

วิธีรักษาสิวฮอร์โมน สำหรับผู้ชาย แบบธรรมชาติ VS แบบใช้ยา

วิธีรักษาสิวฮอร์โมน สำหรับผู้ชาย แบบธรรมชาติ VS แบบใช้ยา
TNP1459
14 มีนาคม 2567 ( 22:25 )
122

      เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น สิวฮอร์โมน ก็กลายเป็นปัญหาหนักใจสำหรับหนุ่มๆ หลายคน นอกจากทำให้ขาดความมั่นใจสุดๆ แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสภาพผิวจนอาจกลายเป็นแผลเป็นในระยะยาวอีกด้วย เรามี วิธีรักษาสิวฮอร์โมน สำหรับผู้ชาย ทั้งแบบธรรมชาติ และ แบบใช้ยา มาฝากกัน ใครที่มีปัญหาสิวฮอร์โมนลองนำไปทำตามกันได้เลย


สิวฮอร์โมนผู้ชายคืออะไร?

        สิวฮอร์โมนผู้ชาย เป็นสิวชนิดหนึ่งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศชาย (แอนโดรเจน) โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น ฮอร์โมนเพศชายที่เพิ่มสูงขึ้น มักกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมัน (ซีบัม) มากขึ้น ส่งผลให้เกิดสิวอุดตันและสิวอักเสบได้ง่าย

ลูกค้า True ใช้ทรูพอยท์ 0 คะแนน เป็นส่วนลดเมื่อช้อปผ่านเซ็นทรัลแอป

หมดเขต 31 มี.ค. 2567

ลักษณะของสิวฮอร์โมนผู้ชาย

  • มักพบในผู้ชายวัยรุ่น อายุประมาณ 14-25 ปี
  • มักเป็นสิวอุดตันหัวปิด สิวอักเสบตุ่มแดง สิวหัวหนอง และสิวซีสต์
  • อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น
    • รู้สึกผิวมัน
    • รูขุมขนกว้าง
    • หน้ามันเยิ้ม

สาเหตุของสิวฮอร์โมนผู้ชาย

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศชาย (แอนโดรเจน)
  • พันธุกรรม
  • ความเครียด
  • การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • อาหารบางชนิด เช่น อาหารที่มีน้ำตาลสูง อาหารที่มีไขมันสูง
  • ยาบางชนิด เช่น ยาต้านเศร้า (Antidepressants) ยาลดความดันโลหิต (Blood pressure medications) ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น

5 วิธีรักษาสิวฮอร์โมน ด้วยตัวเอง แบบธรรมชาติ


  

1. ทำความสะอาดผิวให้เหมาะสม

      ล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ด้วยผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่อ่อนโยน เช่น ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าสูตรอ่อนโยน ปราศจากน้ำหอม สาร SLS และ SLES
รวมถึงมีค่า pH ใกล้เคียงกับผิว (ประมาณ 5.5) และหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่มีฤทธิ์ผลัดเซลล์ผิว เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้

      สิ่งสำคัญอีกข้อคือ หากคุณเจอมลพิษต่างๆ เช่น ฝุ่น ควัน หรือมีเหงื่อจากการออกกำลังกาย ก็ควรรีบทำความสะอาดผิว ไม่ปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะจะเกิดการหมักหมมและอุดตัน ทำให้สิวเห่อยิ่งกว่าเดิมได้


2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าบ่อยๆ

      มือของเราสัมผัสกับสิ่งต่างๆ มากมายตลอดทั้งวัน เต็มไปด้วยเชื้อแบคทีเรีย สิ่งสกปรก และน้ำมัน ดังนั้นเมื่อสัมผัสใบหน้าบ่อยๆ เชื้อแบคทีเรียเหล่านี้ก่อให้เกิดสิวอุดตันและสิวอักเสบมากขึ้น นอกจากนิ้วมือแล้ว สิ่งที่คุณใช้สัมผัสบ่อยๆ ก็มีผลเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นมือถือ ผ้าขนหนู ปลอกหมอน ฯลฯ จึงควรทำความสะอาดก่อนนำมาสัมผัสใบหน้า หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าให้มากที่สุด


3. เลือกอาหารที่ดีต่อผิว

      อาหารนั้นสำคัญทั้งต่อผิวและต่อฮอร์โมนเพศ ลองมาดูกันว่าอาหารแบบไหนที่เหมาะ และแบบไหนที่คุณควรเลี่ยงบ้าง

อาหารที่ดีต่อผิวที่เป็นสิวฮอร์โมน:

  • ผักและผลไม้: เพราะอุดมไปด้วยวิตามิน ซี อี สารต้านอนุมูลอิสระ และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ผิวแข็งแรง ตัวอย่างเช่น ผักใบเขียว มะเขือเทศ แครอท ฝรั่ง ส้ม กีวี เป็นต้น
  • ธัญพืชไม่ขัดสี: เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ถั่วต่างๆ อุดมไปด้วยใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานดี และป้องกันท้องผูกได้ดี
  • อาหารที่ไม่ผ่านการปรุงแต่งมาก: ควรเลือกอาหารธรรมชาติมากกว่าอาหารที่ผ่านการแปรรูป เพราะมีสารอาหารที่ดีต่อผิวมากกว่า 

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง สำหรับเป็นสิวฮอร์โมน:

  • อาหารที่มีน้ำตาลสูง: น้ำอัดลม ขนมหวาน
  • อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง: อาหารทอด อาหารแปรรูปที่มีไขมันสูง และไขมันทรานส์ต่างๆ
  • อาหารที่มีโซเดียมสูง: ในที่นี้ไม่ใช่วัดกันที่รสเค็มเพียงอย่างเดียว เพราะอาหารหวานนำ หรือเปรี้ยวนำ ก็อาจมีโซเดียมในปริมาณสูงเช่นกัน จึงควรดูฉลากสินค้า หรือดูเครื่องปรุงของเมนูนั้นประกอบกันไปด้วย 
  • ผลิตภัณฑ์จากนม: นมวัว เนย ชีส
  • คาเฟอีน: กาแฟ ชา ช็อกโกแลต


4. พักผ่อนให้เพียงพอ

     การนอนหลับพักผ่อนมีข้อดีสำหรับการรักษาสิวฮอร์โมนมากมาย เช่น

  • ควบคุมฮอร์โมน: การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ฮอร์โมนแอนโดรเจนเพิ่มสูงขึ้น จึงกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้น และเจ้าน้ำมันส่วนเกินนี่เองที่ไปอุดตันรูขุมขน ก่อให้เกิดสิวอุดตัน หรือลุกลามกลายเป็นสิวอักเสบตามมาได้
  • ลดการอักเสบ: การนอนหลับพักผ่อนเพียงพอ ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย ทำให้สิวหายเร็วขึ้น

     

  • ซ่อมแซมผิว: ในขณะที่เรานอนหลับ ร่างกายจะซ่อมแซมเซลล์ผิว ผิวที่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอจึงแข็งแรง และช่วยป้องกันสิวเกิดใหม่ได้ดีอีกด้วย

  • เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน: การนอนหลับพักผ่อนเพียงพอ ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว อีกทั้งยังป้องกันการติดเชื้อได้อีกด้วย

5. ดื่มน้ำให้เพียงพอ

        น้ำช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย รวมถึงฮอร์โมนส่วนเกิน สารพิษ และแบคทีเรีย ที่อาจส่งผลต่อการเกิดสิว นอกจากนี้น้ำยังช่วยให้ผิวชุ่มชื้น
ยืดหยุ่น ลดการผลิตน้ำมันส่วนเกิน และป้องกันรูขุมขนอุดตันได้อีกด้วย

        แต่ทั้งนี้ควรเลือกดื่มน้ำที่ไม่มีน้ำตาล หรือน้ำที่มีน้ำตาลน้อยที่สุด เพราะน้ำตาลมีฤทธิ์กระตุ้นการอักเสบนั่นเอง


วิธีรักษาสิวฮอร์โมน ด้วยยา

2. ยาเฉพาะที่:

  • ยาทาสิว เช่น Benzoyl peroxide, Retinoids, Azelaic acid
  • ยาต้านการอักเสบ เช่น Benzoyl peroxide, Salicylic acid

3. ยารับประทาน:

  • ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน combined oral contraceptives (COCs)
  • ยา spironolactone
  • ยา isotretinoin

 

       นอกจากนี้ยังมีวิธีรักษาสิวด้วยแพทย์อีกมากมาย เช่น เลเซอร์รักษาสิว เป็นต้น ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อหาสาเหตุและวิธีรักษาที่เหมาะสม รวมถึงหลีกเลี่ยงการกดสิวด้วยตัวเอง เพราะอาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นตามมาได้

บทความที่คุณอาจสนใจ

วิธีการดูบอลพรีเมียร์ลีก 2023/24 ที่ TrueID : แพ็กเกจชมครบทุกคู่!

เคล็ดลับการรับชมพรีเมียร์ลีกให้มันส์จุใจในทุกช่องทาง คลิกเลย!

ยอดนิยมในตอนนี้