ในช่วงหลายปีหลังแฟนฟุตบอล ไทยลีก คุ้นหูกับชื่อทั้งโค้ช และนักเตะญี่ปุ่นว่ามีมากมายในบ้านเรา จากความพยายามผลักดันนักเตะไทยสู่ J.League ในอีกฟากหนึ่งนักเตะจากญี่ปุ่นกลายเป็นสินค้าส่งออก “Made in Japan” ที่ได้รับความนิยมมาสู่วงการฟุตบอลไทย เผลอแป๊บเดียวเวลานี้เรามีทั้งโค้ช และนักเตะจากแดนซามูไร กระจายอยู่ในศึก รีโว่ ไทยลีก และ ไทยลีก 2 รวมแล้วถึง 20 ชีวิต แบ่งเป็นผู้ฝึกสอน 4 คน และนักฟุตบอล 16 คน ที่เข้ามาช่วยยกระดับมาตรฐานฟุตบอลไทยให้สูงขึ้น เราจะมาไล่เลียงรายชื่อกันหน่อยว่ามีใครกันบ้างเริ่มจากผู้ฝึกสอนในระดับรีโว่ ไทยลีก คงคุ้นหน้าคุ้นตากันดีอยู่แล้วเริ่มจากหน้าใหม่แกะกล่อง มาโกโตะ เทกุระโมริ ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งจากบีจี ปทุม ยูไนเต็ด เข้ามารับงานกุนซือใหญ่ในถิ่นเดอะ แรบบิท คนนี้ดีกรีไม่ธรรมดาเคยคุมทีมชาติญี่ปุ่นชุดเล็ก U-23 ลุยศึกโอลิมปิก 2016 และเป็นผู้ช่วยทีมชาติชุดใหญ่ในยุคของวาฮิด ฮาลิลฮ็อดซิช และอากิระ นิชิโนะ ฝีไม้ลายมือรับประกันว่าไม่ธรรมดาส่วนรายที่เหลือได้แก่ มาซาทาดะ อิชิอิ ที่กำลังทำผลงานได้ดีกับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และ ยาสุชิ โยชิดะ ของเขี้ยวสมุทร สมุทรปราการ ซิตี้ ทั้งคู่มีโปรไฟล์ยอดเยี่ยมจากบ้านเกิด โดยเฉพาะโยชิดะเคยคุมซามูไรชุดเล็กทั้ง U-18 , U-19 และ U-20 ส่วนอิชิอิของบุรีรัมย์ ผ่านการคุมคาชิม่า แอนท์เลอร์ส ในระดับเจลีกกว่า 96 นัด ประสบการณ์โชกโชนในระดับปรมาจารย์ส่วนนักเตะญี่ปุ่นทั้ง 6 คนในรีโว่ ไทยลีก ขอไล่กันเลยเริ่มต้นจากคู่หู ไดสุเกะ ซากาอิ และ ยูโตะ โอโนะ ในถิ่นสมุทรปราการ ซิตี้ , ชินทาโร่ ชิมิสุ ของสวาทแคท นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี , โกไฮ คาโตะ จากกว่างโซ้ง เชียงราย ยูไนเต็ด , เรียว มัตสึมูระ ปีกจอมพลิ้วโปลิศ เทโร และ เซร์คิโอ เอสคูเอโร่ นักเตะสัญชาติญี่ปุ่นของเชียงใหม่ ยูไนเต็ด ซึ่งแต่ละคนล้วนมีบทบาทกับทีมต้นสังกัดแทบทั้งสิ้นขยับมาในระดับ ไทยลีก 2 หรือ M-150 แชมเปี้ยนชิพ มีผู้ฝึกสอนจากญี่ปุ่นที่แฟนบอลไทยรู้จักกันดี มาซามิ ทากิ เพราะเคยตระเวนคุมสโมสรไทยอย่างโชกโชนทั้งไทยฮอนด้า เอฟซี , เชียงราย ยูไนเต็ด , ระยอง เอฟซี , พีที ประจวบ และล่าสุดเมื่อช่วงธันวาคม 2564 คัมแบ็กกลับสู่ถิ่นม้านิลมังกร ระยอง เอฟซี อีกคำรบ คนนี้โตมากับระดับฟุตบอลเยาวชน เคยเป็นโค้ชบอลเด็กระดับ U-18 มาหลายสโมสรทั้งเซเรโซ่ โอซาก้า , จูบิโล่ อิวาตะ , วิสเซล โกเบ และเรียวเคียว เอฟซี เรียกว่าจัดเป็นโค้ชที่มีเทคนิคการทำทีมมากคนหนึ่งส่วนในระดับ M-150 แชมเปี้ยนชิพ เรามีนักเตะญี่ปุ่นถึง 10 คนกระจายเล่นให้กับ 9 สโมสร เริ่มจาก เคนโซ นัมบุ ที่มาซามิ ทากิ เพิ่งดึงตัวจากนครปฐมมาช่วยระยอง , โกชิ โอคุโบะ และ ทัตสึยะ ซาคาอิ สองผู้เล่นสำคัญราชนาวี , เซยะ ซูงิชิตะ กองหน้าคู่ใจของโค้ชเบ๊ไพโรจน์ "พยัคฆ์ล้านนา" เชียงใหม่ เอฟซี , เคนโตะ นากาซากิ กองกลางร่างเล็กเมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด , เมืองกาญจน์ยูไนเต็ด , เซยะ โคจิมะ เพลย์เมกเกอร์อยุธยา ยูไนเต็ดทาคุ อิโต ซ้ายผ่านตลอดม้าคะนองศึกแพร่ ยูไนเต็ด , ยูกิ บัมบะ มิดฟิลด์ตัวรับลำปาง เอฟซี , ฮิโรมิจิ คาตาโนะ ปราการหลังจอมเก๋าตราด เอฟซี และปิดท้ายด้วย มิตซูฮิโร เซกิ ที่เพิ่งย้ายจากตรัง มาร่วมทัพระนอง ยูไนเต็ด เมื่อมกราคม 2565 ที่ผ่านมาไม่ใช่เพียงเท่านี้ หากขยับลงไปลีก 3 มังกรฟ้าลีก ที่ชอบเป็นการส่วนตัวเช่นคิงคาซู คาซูโอะ ฮอมมะ กองหน้าวัยดึกจากสมุทรปราการ เอฟซี เจ้าของสถิตินักเตะอายุมากสุดยิงประตูได้ในลีกเมืองไทย 41 ปี 6 เดือน 8 วัน ในนัดพบกับพราม แบงค็อก คนนี้เก่งมากในระดับลีกล่าง การมาของนักเตะญี่ปุ่นเป็นเรื่องดีที่นักเตะไทยจะได้เรียนรู้ทักษะ , วิธีการเล่น และเทคนิคในสนาม ซึ่งหลายคนเคยผ่านการเล่นระดับสูงมาแล้ว เรียกว่าได้ประโยชน์แบบเน้น ๆ หากมีสโมสรไหนซื้อตำแหน่งผู้รักษาประตูมาอีกสักคน เราจะสามารถจัดอุ่นเครื่องกับทีมรวมดาราแข้งญี่ปุ่นในบ้านเราได้แบบสบาย เอ๊ะ! ชักอยากเห็นแล้ว เอาเป็นว่าต่อจากนี้คงต้องโฟกัส “Made in Japan” ในระดับลีกไทยว่าจะเข้ามาเพิ่มเติมอีกมากแค่ไหน คงต้องติดตามชมกันต่อไปครับ..ภาพประกอบโดย ภาพปก ช้างศึก : พื้นหลัง , BURIRAM UNITED , Chiang Rai United FC , TRAT FC , สมุทรปราการซิตี้ SPC , MuangKan United / Pixabay 7089643 : ธงชาติญี่ปุ่น / BG Pathum United : ภาพที่ 1 / BURIRAM UNITED : ภาพที่ 2 / Chiang Rai United FC : ภาพที่ 3 / NAVY FC : ภาพที่ 4 / Phrae United : ภาพที่ 5ส่องนักบอลตัวเต็ง ดูสดระเบิดแมทช์สุดมันส์บน App TrueID โหลดฟรี !