ต่อสู้กันด้วยปัญญาโดยไม่ใช้กำลัง หมากล้อมมีชื่อเป็นสากลที่รู้จักกันทั่วโลกว่า "โกะ" เกิดขึ้นมามากกว่า 3000 ปี ถูกคิดค้นครั้งแรกในประเทศจีนปัจจุบันเป็นหนึ่งในสี่ของสุดยอดศิลปะประจำชาติจีนมีชื่อในภาษาจีนเรียกว่า เหวยฉี ต่อมาถูกเผยแพร่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นพัฒนาสนับสนุนและได้รับความสนใจนิยมขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอย่างยาวนานในชื่อ อิโกะ เวลาต่อมาก็เป็นที่นิยมชมชอบในเชิงแข่งขันในประเทศเกาหลีที่เรียกว่า บาดุก สำหรับในประเทศไทยนั้นถูกนำเข้ามาเผยแพร่โดย คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ผู้เคยดำรงตำแหน่งประธานสมาคมหมากล้อมจีนโลก ประธานกรรมการบริหารบริษัทซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หมากล้อมในประเทศไทยจึงเกิดเป็นศาสตร์หมากล้อมที่มีแนวคิดคุณค่าหลักการสอนที่พัฒนาคนพัฒนาองค์กร มีผลสำรวจว่าช่วยพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ได้อย่างดีเยี่ยม พร้อมสอดแทรกแนวคิดพัฒนาชีวิตไว้มากมาย อาริตะ ตักเตือนกันด้วยความห่วงกฎที่ไม่สอนให้มุ่งทำร้ายกัน ผู้เขียนรู้สึกประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกที่มีโอกาสได้เรียนวิชา หมากล้อมกับการพัฒนาความคิด หลักสูตรบังคับที่ทางมหาวิทยาลัยตั้งใจสอนให้นักศึกษาทุกสาขาวิชาได้มารู้จักแล้วพัฒนาระบบความคิดใช้การจัดการบริหารต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดสูงสุด (ลงทุนน้อยผลลัพธ์เยอะ) โดยเป้าหมายของเกมนี้คือ ให้คิดว่าเป็นคนสร้างพื้นที่ยึดครองดินแดนให้มากกว่าฝ่ายตรงข้าม วางหมากยึดมุมที่เป็นทำเลทอง จากภาพด้านบนที่ผู้เขียนฝึกเล่นจริงครั้งแรกในกระดานขนาดเล็กสุด ขนาด9คูณ9เส้น หมากสีขาวเป็นฝ่ายชนะหมากสีดำเพราะมีพื้นที่ว่างมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด มีกฎที่ผู้เขียนมองว่าดีและมีคุณธรรมมากก็คือ เมื่อหมากฝ่ายตรงข้ามกำลังจะตาย (เหลือลมหายใจเพียงหนึ่ง) ในเตือนฝ่ายตรงข้ามด้วยคำว่า "อาริตะ" เพื่อเตือนให้กลับมาดูแลหรือเพิ่มความแข็งแรง (ต่อลมหายใจ) ให้หมากไม่ตายจากการถูกจับกิน กฎห้ามฆ่าตัวตายคือห้ามทำให้ตัวเองแพ้อย่างไร้ประโยชน์ในพื้นที่ฝ่ายตรงข้ามล้อมปิดพื้นที่ลมหายใจไว้หมดแล้ว โดยลมหายใจหนึ่งชีวิตให้นับที่จุดเส้นตัดเป็นหนึ่งลมเสมอ และการห้ามจับกินโคะ (จับกินไปกลับกันไปมา) จะทำให้เกมไม่จบและเสียเวลาควรเบี่ยงเบนไปเดินหมากตรงจุดอื่นก่อน งานด่วนมาก่อนงานใหญ่ วลีสำคัญจากหมากล้อม ความรู้สึกที่ผู้เขียนได้ลองเล่นสังเกตตนเองได้ว่ากระดานที่ชนะ จิตใจในขณะที่เล่นจะสงบนิ่งเยือกเย็นไปเองตามธรรมชาติแก้ปัญหาจริงตามหน้างานบนกระดานทีละจุดไม่มุ่งโจมตีกินหมากฝ่ายตรงข้ามเน้นสร้างพื้นที่ให้กว้างเท่าที่จะทำได้ดั่งภาพด้านบน แต่กระดานที่แพ้ช่วงที่เล่นแบบไม่มีสติต่างฝ่ายต่างโจมตีกันและกันจนเกิดความเสียหายบานปลายต่อกลุ่มหมาก เพิ่มความคุ้นเคยในการเคารพผู้อื่น (เคารพผู้เดินหมากฝ่ายตรงข้าม) เเต่ไม่ว่าผลการแข่งขันจะออกมาเป็นอย่างไรล้วนต้องยอมรับและเข้าใจผลลัพธ์ของการกระทำที่ตนเองก่อลงไปได้เสมอก็เปรียบดั่งการดำเนินชีวิตที่ใช้ความคิดและเหตุผลมากกว่าอารมณ์ และสอนการจัดระดับความสำคัญของงานที่ได้รับหมอบหมายให้ทำ (เทียบกับการดูแลหมากบนกระดาน) ได้อีกด้วยค่ะ หากท่านใดสนใจศึกษาเพิ่มเติมหรือลอกฝึกหัดเล่นหมากล้อมผู้เขียนมีวิธีอย่างง่ายและสะดวกมากฝากทุกท่านค่ะ คือการเล่นโกะออนไลน์ในเว็บไซต์ www.go-games.com สามารถเลือกเล่นกับผู้เล่นจากทั่วโลกหรือโรบอทก็ได้ค่ะมีการตั้งค่ากระดานและรับการเล่นได้อีกหลายรูปแบบนัดเพื่อนมาลองเล่นกันในนี้ก่อนก็ได้เช่นกันค่ะ หรือศึกษาเรียนรู้อย่างระเอียดได้ที่ http://thaimooc.org ชื่อวิชา หมากล้อมกับการพัฒนาความคิดทางธุรกิจ รหัสวิชา PIM06 หากเรียนจบตามกำหนดการและสอบผ่านได้คะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไปจะได้รับเกียรติบัตรด้วยนะคะ ภาพประกอบบทความโดย ผู้เขียน (Moona K)