รีเซต
9 อาการที่บอกว่าคุณเป็นคนคิดลบ มีอะไรบ้าง ไม่อยากคิดลบแก้ไขได้อย่างไร

9 อาการที่บอกว่าคุณเป็นคนคิดลบ มีอะไรบ้าง ไม่อยากคิดลบแก้ไขได้อย่างไร

9 อาการที่บอกว่าคุณเป็นคนคิดลบ มีอะไรบ้าง ไม่อยากคิดลบแก้ไขได้อย่างไร
WeenayA
15 มกราคม 2567 ( 14:14 )
294

     ความคิดลบเป็นสภาวะที่เชื่อว่าหลายคนไม่อยากให้เกิดแต่บางครั้งนั้นก็เกินจะควบคุม ด้วยปัจจัยของความเครียดในด้านต่างๆ ประสบการณ์ในอดีต หรือแม้กระทั่งสภาพแวดล้อมของชีวิตที่พบเจอจนสะสมหรือกระทบจิตใจเป็นเวลานาน จึงส่งผลให้เกิดความคิดลบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะดีกว่าไหมถ้าเราเท่าทันความรู้สึกคิดลบของตัวเองและรู้ถึงวิธีแก้ความคิดลบเหล่านี้



9 อาการที่บอกว่าคุณเป็นคนคิดลบ มีอะไรบ้าง
ไม่อยากคิดลบแก้ไขได้อย่างไร

 

9 อาการที่บอกว่าคุณเป็นคนคิดลบ

 

  1. มักคิดว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นจะเลวร้ายเสมอ  ไม่ว่าจะเป็นความคิดว่าไปทำงานวันนี้ต้องรถติด งานที่ส่งวันนี้ต้องไม่ดีแน่ๆ หรือแม้กระทั่งคิดไปก่อนว่าวันนี้จะเจอเรื่องไม่ดี

  2. มองหาข้อผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นการมองหาข้อผิดพลาดของตัวเอง ความผิดพลาดของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือนิสัยใจคอด้านอื่นๆ

  3. มองข้ามความสำเร็จ การมองข้ามความสำเร็จทั้งของตัวเอง และผู้อื่น เช่นการมองว่าความสำเร็จนั้นๆ เป็นเรื่องธรรมดา หรือได้มาเพราะโชคช่วยหรือเส้นสาย

  4. มองคนอื่นในแง่ลบ คิดว่าคนอื่นจะคิดไม่ดีกับคุณ ไม่ชอบคุณ อิจฉาคุณ หรือคิดแม้กระทั่งว่าคนอื่นจะทำร้ายคุณ

  5. ไม่กล้าเสี่ยง ปฏิเสธความท้าทายใหม่ๆ ที่เข้ามาในชีวิต ถึงแม้ว่าจะเป็นโอกาสที่ดีก็ตาม เพียงเพราะคิดว่าจะล้มเหลว หรือไม่สำเร็จตามคาด

  6. มักจะโทษตัวเอง เมื่อเกิดข้อผิดพลาดต่างๆ ขึ้นมาถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ ก็มักจะมุ่งโทษตัวเองว่าไม่ดีพอไม่เก่งพอ

  7. รู้สึกหมดกำลังใจง่าย ไม่ว่าจะลงมือทำสิ่งใดแล้วสิ่งนั้นยาก หรือเจอปัญหาระหว่างทางมักเกิดความรู้สึกห่อเหี่ยวยอมแพ้กลางทางเพราะคิดว่าทำแล้วไม่สำเร็จ

  8. มักรู้สึกเศร้าอยู่บ่อยๆ มีความรู้สึกหม่นหมอง วิตกกังวลบ่อยๆ ตลอดวันจนเกิดภาวะซึมเศร้า

  9. มักมีปัญหาในการนอนหลับ นอนหลับยากมีความคิดผุดขึ้นมาในหัวตลอดเวลา มีภาวะนอนไม่หลับบ่อยครั้งหรือแม้กระทั่งตื่นกลางดึก


วิธีแก้ความรู้สึกคิดลบ

  • ฝึกคิดบวก อาจดูเป็นเรื่องนามธรรมแต่วิธีการฝึกคิดบวกนั้นทำง่ายกว่าที่คิด ลองเริ่มเขียนบันทึกขอบคุณตัวเองแบบสั้นๆ ในแต่ละวันไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่น “วันนี้เราเดินได้ครบจำนวนก้าวที่ต้องการ” “วันนี้เราช่วยเปิดประตูให้คนอื่น”  “วันนี้เราทำงานที่ตั้งเป้าไว้ได้สำเร็จ”  “วันนี้เราให้คำปรึกษากับเพื่อน” หรือแม้กระทั่งเขียนเรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นในวันนี้แบบสั้นๆ เช่น “วันนี้ได้กินอาหารที่ชอบมาก”  “เพื่อนที่ทำงานเล่าเรื่องตลกให้ฟัง”  “ได้ฟังเพลงใหม่ๆ ที่ชอบมาก”


  • ฝึกการยอมรับ การฝึกการยอมรับอาจเป็นสิ่งที่ทำได้ค่อนข้างยากแต่ถ้าฝึกได้ย่อมคุ้มค่ากับตัวคุณ ให้คุณคิดว่าไม่ว่าสิ่งไหนเกิดขึ้นแล้วให้วางใจยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องดี หรือเรื่องไม่ดี ความทุกข์ หรือความสุข พึงคิดไว้เสมอว่าหลายสิ่งล้วนเกิดอยู่ชั่วคราว เมื่อเท่าทันความคิดคุณจะสามารถปรับตัวและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น

  • ฝึกการปล่อยวาง ฝึกสติ  การปล่อยวาง และการฝึกสติหมายถึงการปล่อยวางความรู้สึกทุกข์ กังวล หรือมีความเครียด เมื่อมีความรู้สึกเหล่านี้ใด้รู้เท่าทันอารมณ์ด้วยการดึงสติให้อยู่กับปัจจุบันไม่จมอยู่กับอดีตไม่กังวลล่วงหน้ากับอนาคตที่ยังไม่เกิด อาจใช้การโฟกัสอยู่กับลมหายใจในขณะนั้นจะช่วยดึงสติได้

  • การฝึกให้อภัย การให้อภัยนั้นมีทั้งการให้อภัยกับผู้อื่น และให้อภัยตัวเอง การให้อภัยกับคนอื่นนั้นมีทั้งการปล่อยวางความโกรธ ปล่อยวางความเกลียดชังลดความคาดหวังที่มีในผู้อื่น พึงคิดไว้เสมอว่าไม่มีไม่มีอะไรได้โลกนี้เป็นไปได้ดั่งใจทุกอย่าง หากให้อภัยผู้อื่นได้ความขุ่นมัวในจิตใจของคุณนั้นจะเบาบางลง
         การให้อภัยตัวเองมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเป้าหมายสูงความคาดหวังในตัวเองจึงมากเป็นเงาตามตัว ให้ลองวางใจของคุณเข้าใจในความไม่สมบูรณ์แบบที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงเวลาให้โอกาสกับตัวคุณที่จะแก้ไขหรือก้าวไปข้างหน้าได้อีกครั้งหรือหลายๆ ครั้ง

  • การฝึกความเมตตากรุณา ความเมตตากรุณาจะช่วยให้เรามีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เมื่อเรามีความเห็นอกเห็นใจในผู้อื่นความเมตตาในจิตใจจะส่งพลังบวกให้คุณมีความสุขได้ง่ายและมากขึ้น อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือฝึกความเมตตากรุณาให้กับตัวคุณเองการปลอบใจตัวเองเมื่อมีเรื่องเสียใจหรือผิดหวัง เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งในจิตใจคุณได้

  • หากิจกรรมผ่อนคลาย เลือกกิจกรรมที่คุณชอบหรือสนใจไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย อ่านหนังสือหรือทำสมาธิ ควรหาเวลาให้กับกิจกรรมเหล่านี้อย่างน้อยวันละ 15-30 นาที

  • ลดการเสพสื่อที่มีความรุนแรง การดูข่าวสาร หรือหนังที่มีความรุนแรง มีความขัดแย้ง ในช่วงที่สภาพจิตใจมีความเครียด จะยิ่งทำให้สภาพจิตใจหม่นหมองลงไปอีก หากอยู่ในช่วงที่มีภาวะเครียดควรหาหนัง หรือ podcast ที่ให้ความบันเทิงแบบเบาสมองดูในช่วงนี้

  • ปรึกษานักจิตวิทยา หรือนักบำบัด หากคุณลองทำทุกอย่างแล้วไม่ดีขึ้นการปรึกษานักจิตวิทยา หรือนักบำบัด เป็นแนวทางที่ช่วยให้คุณหาทางออกได้ดีขึ้น


 

 

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

 

-------------------------------------------------

วิธีการดูบอลพรีเมียร์ลีก 2023/24 ที่ TrueID : แพ็กเกจชมครบทุกคู่!

 

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
สัมผัสโลกไร้ขีดจำกัดกับทรูไอดี