Cricket กีฬาที่หลายคนยังไม่รู้จัก สำหรับคนไทยหลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินหรือไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีกีฬาคริกเก็ตเพราะในประเทศไทยไม่มีความนิยมในกีฬาประเภทนี้มากนักแต่รู้หรือไม่ว่ากีฬาคริกเก็ตนี้เป็นที่รู้จักและนิยมในหลายประเทศทั่วโลก ดังนั้นเราจะมาทำความรู้จักกับกีฬาคริกเก็ตกันค่ะ ความเป็นมาของกีฬาคริกเก็ต ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่ากีฬาคริกเก็ตอาจเกิดขึ้นในสมัยแซกซอนหรือนอร์มันโดยเด็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของป่าทึบและทุ่งโล่งในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ มีการคาดการณ์ว่าในปี 1550 เริ่มมีการเล่นกีฬาคริกเก็ตกันแล้ว นอกจากนี้ยังมีความคิดว่าคริกเก็ตอาจเกิดมาจากโบลิ่งโดยการพยายามหยุดลูกบอลไม่ไห้ถูกเป้าหมายโดยการตีออกไปอีกด้วย มันกลายเป็นกีฬาประจำชาติในศตวรรษที่ 18 มีการพัฒนาไปทั่วโลกในศตวรรษที่ 19 และ 20 เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากกีฬาฟุตบอล ซึ่งมีการนำเข้ามาเล่นในประเทศไทยครั้งแรกในปี 1890 ในสมัยรัชกาลที่ 5 สนามที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาคริกเก็ต สนามคริกเก็ตจะมีลักษณะเป็นรูปวงรีและมีความยาว 22 หลา ในขณะที่สนามเบสบอลจะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนและมีความยาว 90 ฟุตและจำนวนผู้เล่นของกีฬาคริกเก็ตหนึ่งทีมจะมีผู้เล่น 11 คน อุปกรณ์ อุปกรณ์ในการเล่นกีฬาคริกเก็ตประกอบไปด้วย ไม้ตี ลูกคริกเก็ต ถุงมือ หมวก เครื่องป้องกันหน้าแข้ง กระจับ เครื่องป้องกันสีข้าง ถุงมือ Keeper ฝ่ายขว้างและฝ่ายตี หากแบ่งเป็นทีมที่ 1 และทีมที่ 2 จะมีการโยนเหรียญเลือกว่าฝ่ายไหนจะเป็นฝ่ายตีหรือฝ่ายขว้างก่อน ถ้าทีมที่ 1 เป็นฝ่ายขว้างก็จะจัดผู้ขว้าง(Blower)มาขว้างลูกไปยังไม้ Wickets ที่ตั้งไว้บนสนาม 3 อันและผู้รักษาวิกเก็ต(Wickets Keeper)เพื่อคอยรับลูกที่ขว้างมา ส่วนผู้เล่นที่เหลือในทีมอีก 9 คนจะยืนอยู่ตามจุดต่าง ๆ ในสนามเรียกว่า Fielders ทำหน้าที่คอยรับลูกที่ทีมที่ 2 ตีลูกออกไปกลับเข้ามาในสนาม เพื่อหยุดการทำคะแนน และทีมที่ 2 จะต้องส่งผู้ตี (Batsman) 2 คน มายืนอยู่หน้าไม้ Wickets แต่ละด้านของสนามเพื่อวิ่งสวนกันทำคะแนนที่เรียกว่า runs จนกว่า Fielders ของทีม 1 จะนำลูกคริกเก็ต กลับเข้ามาในสนาม การทำคะแนน การทำแต้มในคริกเก็ตนั้นผู้ตีลูกต้องวิ่งไปกลับในสนามจากจุดที่วางไม้ Wickets และเป้าหมายของฝ่ายขว้างคือทำให้ฝ่ายตีออกจากสนามให้ครบ 10 คนและฝ่ายไหนได้รันมากที่สุดถือเป็นผู้ชนะค่ะ Cr : icc-cricket.com , wikipedia.org , freepik.com , pexels.com