รีเซต
ไทย รักษาโควตา 2+2 ใน ACL 2023-2024 : ระบบที่เอื้อให้ทีมไทยลีก ยืนบนถ้วยเอเชียอย่างแข็งแกร่ง | Main Stand

ไทย รักษาโควตา 2+2 ใน ACL 2023-2024 : ระบบที่เอื้อให้ทีมไทยลีก ยืนบนถ้วยเอเชียอย่างแข็งแกร่ง | Main Stand

ไทย รักษาโควตา 2+2 ใน ACL 2023-2024 : ระบบที่เอื้อให้ทีมไทยลีก ยืนบนถ้วยเอเชียอย่างแข็งแกร่ง | Main Stand
เมนสแตนด์
13 กรกฎาคม 2564 ( 12:00 )
572

ฤดูกาล 2021 เป็นปีแรกที่สโมสรจากไทยลีก ได้โควตาเข้าแข่งขันในศึกเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก หรือฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรเอเชีย ด้วยจำนวนทีม 2+2 (2 ทีมได้สิทธิ์เล่นรอบแบ่งกลุ่มอัตโนมัติ กับ 2 ทีมลงเล่นในรอบเพลย์ออฟ/คัดเลือก)  ทั้งหมดเป็นผลพวงมาจากผลงานของสโมสรไทยที่ลงเล่นในถ้วยเอเชียใบนี้ และทำผลงานได้ดี ทำให้ปัจจุบัน ฤดูกาล 2021 และ 2022 สโมสรจากประเทศไทย ได้สิทธิ์เเข่งขันในรอบแบ่งกลุ่มมากที่สุดในประวัติศาสตร์ถึง 4 ทีม  ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการถอนตัวของสโมสรจากออสเตรเลียและจีน (ไม่ผ่านคลับไลเซนซิ่ง ตลอดจนปัญหา COVID-19) และอีกส่วนหนึ่งก็เพราะความแข็งแกร่งของทีมไทยที่ทำไดดีอย่างต่อเนื่อง 

 


แม้สุดท้าย สโมสรไทยจะผ่านเข้ารอบน็อคเอาต์ได้เพียง 1 ทีม จาก 4 ทีมที่เข้าแข่งขัน คือ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด  แต่นั่นก็เพียงพอที่ทำให้ประเทศไทย สามารถรักษาโควตา 2+2 ในฟุตบอลเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก ได้อีก 1 ช่วงเวลา คือ ฤดูกาล 2023-2024 แม้ว่า ฟุตบอลเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 2021 จะยังเหลือการแข่งขันรอบน็อคเอาต์อยู่ก็ตาม

ซึ่งปัจจัยทั้งหมด มาจากการคิดคำนวณในระบบ AFC CLUB COMPETITIONS RANKING ที่เอเอฟซี นำมาใช้ตั้งแต่ปี 2014 

 

หลักการทำงานของ AFC CLUB COMPETITIONS RANKING

หลักการคิดคะแนนของ AFC CLUB COMPETITIONS RANKING คือ การนำคะแนนที่สโมสรของแต่ละชาติทำได้ในฟุตบอลถ้วยเอเชียทั้งสองรายการ คือ "เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก" และ "เอเอฟซี คัพ"  ในแต่ละปี มารวมกันแล้วหารเฉลี่ย เป็นคะแนนดิบสโมสรในแต่ละปี โดยจะใช้คะแนนย้อนหลัง 4 ปีนำมารวมกัน กลายเป็นคะแนนดิบสโมสรทั้งหมด (Club Point) ก่อนที่จะนำคะแนนดิบสโมสร ไปตีเป็นเปอร์เซ็นต์กับชาติที่มีคะแนนในส่วนนี้เป็นลำดับที่ 1 ของทวีป ออกมาเป็นคะแนนรวม (Total Point) และนำมาจัดลำดับ เพื่อจัดสรรโควตาให้แต่ละชาติ การประกาศโควตาจะเปลี่ยนแปลงทุก ๆ 2 ปี เริ่มต้นในปีที่ลงท้ายด้วยเลขคี่ (2021, 2023)  และจะประกาศโควตาใหม่เมื่อสิ้นสุดการแข่งขันถ้วยเอเชีย ของปีที่ลงท้ายด้วยเลขคี่ (2021, 2023) 

ตัวอย่างเช่นในฤดูกาล 2021 สโมสรไทยได้เข้าแข่งขันในเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก รอบแบ่งกลุ่ม 4 ทีม  ปรากฏว่า บีจี ปทุม ยูไนเต็ด เก็บได้ 12 คะแนน, การท่าเรือ เอฟซี เก็บได้ 8 คะแนน, สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด เก็บได้ 8 คะแนน และราชบุรี มิตรผล เอฟซี เก็บได้ 2 คะแนน แต่เอเอฟซี จะมีคะแนนพิเศษให้ทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบน็อคเอาต์ได้สำเร็จ 1.5 คะแนน ดังนั้น คะแนนของ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด จนถึงตอนนี้จะเท่ากับ 13.5 คะแนน   เมื่อนำคะแนนทุกทีมมารวมกัน คือ (13.5+8+8+2)/4 = 7.875 ดังนั้น คะแนนของสโมสรไทยในปี 2021 จะเท่ากับ 7.875 แต่คะแนนของบีจี ปทุม ยูไนเต็ด ยังมีโอกาสเพิ่มขึ้นอีก เพราะยังเหลือเกมในรอบน็อคเอาต์ ทำให้คะแนน Club Point ปี 2021 ของประเทศไทย มีโอกาสเพิ่มขึ้น

ขณะที่การลงเล่นในเอเอฟซี คัพ ของแต่ละทีม (ซึ่งไทยไม่ได้สิทธิ์ลงแข่งถ้วยนี้) จะมีการเก็บคะแนนในลักษณะนี้เช่นกัน แต่จะคิดคะแนนด้วยสัดส่วนที่ลดหลั่นลงไปจากถ้วยเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 

เมื่อนำคะแนนจาก 4 ปีที่สโมสรไทยทำได้มารวมกัน คือ ปี 2018 = 16.2  ปี 2019 = 5.05 , ปี 2020 (ยกเลิกคิดคะแนน เพราะสถานการณ์โควิด-19) และปี 2021 = 7.875 จะทำให้คะแนนดิบสโมสรรวม ของไทย = 29.125 และเมื่อตีเปอร์เซ็นต์เป็นคะแนน Total Point จากทีมที่มีคะแนนอันดับ 1 อย่างญี่ปุ่น คือ  51.025 คะแนน จะทำให้คะแนนดิบของสโมสรไทย = 29.125 / 51.025 = 57.080 คะแนนนี้เพียงพอให้ประเทศไทย เป็นลำดับที่ 4 ของโซนตะวันออก และการันตีในโควตา 2+2   

ส่วนอันดับรองลงมาอันดับที่ 5 คือ เวียดนาม ได้โควตาอยู่ที่ 1+2 หลังจบรอบแบ่งกลุ่ม แต่ทุกสโมสรของเวียดนามตกรอบในเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีกไปแล้ว รวมถึงฟุตบอลเอเอฟซี คัพ โซนอาเซียน ก็ถูกยกเลิกไปแล้ว ทำให้ทีมในชาติที่อันดับที่ต่ำกว่าเวียดนาม ก็จะมีคะแนนที่ไม่เพิ่มสูงขึ้น ด้วยเหตุผลที่กล่าวไป เท่ากับว่าสโมสรไทย จองโควตา 2+2 ได้อย่างแข็งแกร่ง 

 

ผลงานสโมสรสัมพันธ์กับผลงานทีมชาติ 


Photo : facebook.com/theafccl

ช่วงแรกที่ระบบ MA RANKING ถูกนำมาใช้  เอเอฟซี กำหนดสัดส่วนคะแนนของสโมสรไว้ที่ 70% และคะแนนอันดับโลกฟีฟ่าของชาตินั้นๆ ไว้ที่ 30%  แต่ภายหลังเอเอฟซี เล็งเห็นว่า ผลงานทีมชาติ ไม่ได้แปรผันตรงกับ ผลงานของสโมสรของชาตินั้น ๆ ในถ้วยเอเชีย   จึงตัดสินใจลดหลั่นคะแนนในส่วนดังกล่าวลงเหลือในสัดส่วน 90%-10%  ในปี 2017-2018 ก่อนที่ปี 2019 เป็นต้นมา เอเอฟซีจะใช้คะแนนของสโมสร หรือ Club Point ในสัดส่วน 100%

การกำหนดคะแนนในลักษณะเช่นนี้ ทำให้การการันตีโควตาในเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก ในแต่ละปี ขึ้นอยู่กับผลงานของสโมสรในถ้วยใบนี้ แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยไม่มีปัจจัยอื่น ๆ เกี่ยวข้อง 

 

มาตรฐานลีกดี ไม่การันตีโควตา ACL


Photo : facebook.com/theafccl

ประเด็นนี้ยังเป็นความเข้าใจผิดอยู่ว่า มาตรฐานของลีกที่ดี เช่น มีโครงสร้าง, มีคลับไลเซนซิ่งที่ได้มาตรฐาน , สภาวะการเงินที่ดี  จะมีส่วนที่ทำให้ประเทศไทย ได้โควตาสูงๆในฟุตบอลเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก  แต่ในทางปฏิบัติ เอเอฟซี ไม่มีเกณฑ์ชี้วัดในด้านนี้แต่อย่างใด ดังนั้น ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้ไทยลีกอยู่ในแถวหน้าของเอเชีย และมีโอกาสได้รับการประเมินให้ได้รับโควตาในรอบแบ่งกลุ่มแบบอัตโนมัติ  อยู่ที่ผลงานของสโมสรในฟุตบอลเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก ล้วนๆ

 

โควตา ACL ที่เป็นใจ


Photo : facebook.com/theafccl

การที่แต่ละประเทศ มีทีมที่ได้สิทธิ์ลงเล่นในรอบแบ่งกลุ่มหลายทีม ทำให้โอกาสที่จะรักษาโควตาในปีถัดๆไปได้ มีเพิ่มมากขึ้นด้วย เพราะคะแนนที่ดีของบางสโมสร และอาจจะไม่ดีของบางสโมสร จะถูกหารเฉลี่ยออกมา เป็นคะแนน Club Point ที่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่พอจะไปต่อได้   

แต่ในขณะเดียวกัน กับทีมที่ได้สิทธิ์เข้ารอบแบ่งกลุ่มเพียง 1 ทีม ผลงานก็จะต้องหวังพึ่งแค่ทีม ๆ นั้น และหากผลงานออกมาไม่ดี ถึงขั้นแพ้รวดในรอบแบ่งกลุ่ม จะทำให้โควตาที่เคยได้รับ ได้ในสัดส่วนที่น้อยลง

 

ช่องว่างของระบบ


Photo : facebook.com/theafccl

อย่างที่ได้อธิบายข้างต้นว่า คะแนนทั้งหมด มาจากการคำนวณของสโมสรในชาตินั้น ๆ ที่ลงแข่งขันในฟุตบอลถ้วยเอเชีย คือ ฟุตบอลเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก และฟุตบอลเอเอฟซี คัพ ย้อนหลังในช่วงระยะเวลา 4 ปี แต่ระบบนี้ กลับเป็นช่องว่างให้กับสโมสรที่ผ่านเข้าไปเล่นในรอบแบ่งกลุ่มในเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก แต่ไม่สามารถเก็บชัยชนะได้ ต้องเสียเปรียบทีมที่ได้ลงเล่นในถ้วยเล็กกว่า หรือ "เอเอฟซี คัพ" แต่กลับสามารถเก็บชัยชนะจนทะลุเข้าสู่รอบน็อคเอาต์    

ตัวอย่างที่สำคัญ คือ ทีมชาติมาเลเซีย ที่เคยได้โควตา 1+1 เมื่อปี 2019-2020 ในช่วงนั้น ยะโฮร์ ดารุล ต๊ะซิม แทบจะไม่สามารถเก็บชัยชนะในรอบแบ่งกลุ่มได้เลย  ทำให้พวกเขาถูกลดโควตาจาก 1+1 เหลือเพียง 1+0 ขณะที่สโมสรจากเกาหลีเหนือ ที่ทำผลงานดีในเอเอฟซี คัพ แถมในเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก ยังไม่เคยเข้ามาเล่นในรอบสุดท้าย  กำลังจะได้โควตาเพิ่มจาก 1+0 เป็น 1+1 ในการแข่งขันเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก  

นอกจากนี้ ระบบดังกล่าว ไม่เอื้อต่อชาติที่ถอนทีมจากการแข่งขันเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก อย่างเช่น ออสเตรเลีย ที่ตัวแทนทั้ง 3 ทีม ไม่มาแข่งขันเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19  ทำให้ในปี 2023 พวกเขาน่าจะเหลือโควตาในเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก เพียงแค่ 1+0 เท่านั้น 


Photo : facebook.com/theafccl

สำหรับโควตาเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก ฤดูกาล 2023-2024 โซนตะวันออก หลังจบรอบแบ่งกลุ่ม ACL 2021 (อาจมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อจบฤดูกาลเล็กน้อย) 

1. ญี่ปุ่น ได้โควตา 3+1
2. เกาหลีใต้ ได้โควตา 3+1 
3. จีน ได้โควตา 2+2
4. ไทย ได้โควตา 2+2
5. เวียดนาม ได้โควตา 1+2
6. เกาหลีเหนือ ได้โควตา 1+1
7. ฟิลิปปินส์ ได้โควตา 1+0
8. มาเลเซีย ได้โควตา 1+0
9. ออสเตรเลีย ได้โควตา 1+0
10. สิงคโปร์ ได้โควตา 0+1
11. อินโดนีเซีย ได้โควตา  0+1 

 

แหล่งอ้างอิง: 

https://footyrankings.com/crank2021/
https://www.the-afc.com/afc-ranking/
https://en.wikipedia.org/wiki/AFC_Club_Competitions_Ranking
https://www.the-afc.com/documents/afc-club-competitions-ranking-2017-as-of-15-december-2017

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ดูสดฟรี!! ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ทุกสัปดาห์ พร้อมกีฬาชั้นนำระดับโลกแบบจัดเต็ม ต้อง App TrueID เท่านั้น

รวมข้อมูลแก้ไขปัญหาการใช้งาน รับชม หรือโปรโมชันกิจกรรมต่างๆ << คลิกที่นี่

อัพเดทข่าว ผลบอล พรีเมียร์ลีก แบบทันใจ พร้อมวิเคราะห์คู่เด่นในรอบสัปดาห์ ส่งถึงมือคุณ
คลิกเลย!! bit.ly/2PsYXMG หรือ กด *301*32# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
สัมผัสโลกไร้ขีดจำกัดกับทรูไอดี