รีเซต
Warm up กับ Cool down ต่างกันอย่างไรทำไมสำคัญต่อการสร้างกล้าม

Warm up กับ Cool down ต่างกันอย่างไรทำไมสำคัญต่อการสร้างกล้าม

Warm up กับ Cool down ต่างกันอย่างไรทำไมสำคัญต่อการสร้างกล้าม
WeenayA
4 กันยายน 2567 ( 08:00 )
42

     สำหรับผู้ที่ชอบออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้าม การ Warm up ก่อนออกกำลังกาย และการ Cool down หลังออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ควรทำทุกครั้งในการออกกำลังกาย แต่บางทีด้วยความใจร้อนหรือเร่งรีบอาจทำให้คุณมองข้ามขั้นตอนเหล่านี้ไป แล้วผลดีของการ Warm up กับ Cool down และผลเสียหากไม่ Warm up กับ Cool down นั้นเป็นอย่างไรมาหาคำตอบกัน

Warm up กับ Cool down
ต่างกันอย่างไรทำไมสำคัญต่อการสร้างกล้าม

 

ประโยชน์ของการวอร์มอัพ

     การวอร์มอัพช่วยให้ช่วยให้กล้ามเนื้ออุ่นขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ทำให้ร่างกายพร้อมที่จะเคลื่อนไหว และพร้อมสำหรับการออกกำลังกาย ลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย


วิธีการวอร์มอัพ

     การวอร์มอัพใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที สามารถทำโดยการ ออกกำลังกายเบาๆ เช่นเดินเบาๆ ปั่นจักรยาน หรือทำท่าทางการยืดกล้ามเนื้อแบบไดนามิก เช่นการเคลื่อนไหวร่างกายไปมา เช่น ยกขาสลับข้าง หมุนวงแขน หมุนหัวไหล่ หรือหมุนตัว ช่วยให้กล้ามเนื้อและข้อต่อมีความยืดหยุ่น


ผลเสียของการไม่วอร์มอัพ

     การไม่วอร์มอัพทำให้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บมากขึ้น ประสิทธิภาพในการออกกำลังกายลดลง มีอาการปวดเมื่อยหลังออกกำลังกายมากขึ้น ทำให้การออกกำลังกายทำได้ไม่ต่อเนื่องอย่างที่ตั้งเป้าไว้ ส่งผลให้ต้องใช้ระยะเวลาในการสร้างกล้ามมากขึ้น

ประโยชน์ของการคูลดาวน์

     การคูลดาวน์หลังออกกำลังกายช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดตะคริว และอาการวิงเวียนศีรษะ อีกทั้งยังช่วยให้ร่างกายฟื้นตัว ลดอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต ทำให้ร่างกายกลับสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้น เพิ่มความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย


วิธีการคูลดาวน์ 

     การคูลดาวน์ ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที สามารถทำโดยการเหยียดยืดกล้ามเนื้อแต่ละส่วนโดยยืดประมาณ 10-30 วินาทีต่อท่า การหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายมากขึ้น และอย่าลืมดื่มน้ำชดเชยน้ำที่สูญเสียไประหว่างออกกำลังกาย

ผลเสียของการไม่คูลดาวน์

การไม่คูลดาวน์หลังออกกำลังกายอาจส่งผลเสียหลายประการ เพิ่มความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของอาการปวดกล้ามเนื้อ เสี่ยงต่อการอาการวิงเวียนศีรษะหรือเป็นลมเนื่องจากความดันโลหิตลดลง ทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะหรือเป็นลมได้ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อลดลงทำให้กล้ามเนื้อฟื้นฟูได้ไม่เต็มที่ส่งผลให้การพัฒนากล้ามเนื้อเป็นไปได้ยาก

 

 

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

 

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
สัมผัสโลกไร้ขีดจำกัดกับทรูไอดี