กติกาตะกร้อเป็นอย่างไร เล่นแบบไหน มีผู้เล่นกี่คน ต้นกำเนิดมาจากประเทศอะไร
ตะกร้อเป็นกีฬาที่นักกีฬาไทยเคยคว้าเหรียญมาได้มากที่สุดในเอเชียนเกมส์ กีฬาตะกร้อมีกติกาอย่างไร หลายคนคงต้องเคยเห็นการเล่นตะกร้อ, เซปักตะกร้อ หรือแม้แต่ได้เคยเรียนกันมาบ้างแต่คงลืมๆ กันไปบ้างแล้วแต่ด้วยเสน่ห์ลวดลายในการเล่น อันเป็นความเท่ห์ที่เป็นเอกลักษณ์ของกีฬาตะกร้อนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร กติกาตะกร้อต่างจากกีฬาอื่นอย่างไร ตะกร้อมาจากประเทศอะไร มารู้จักความเจ๋งของกีฬาตะกร้อ หรือเซปักตะกร้อ ที่บรรจุอยู่ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 19 ไปพร้อมๆ กัน
กติกาตะกร้อเป็นอย่างไร เล่นแบบไหน
มีผู้เล่นกี่คน ต้นกำเนิดมาจากประเทศอะไร
ตะกร้อมาจากประเทศอะไร
กีฬาเซปักตะกร้อ เป็นกีฬาพื้นเมืองของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังไม่ชัดเจนว่ามาจากประเทศอะไร ตามหลักฐานทางประวัตศาสตร์กีฬาตะกร้อนั้นจะใช้ลูกในการเล่นและมีชื่อเรียกที่ต่างกันไป นั้นมีการเล่นของชาวพม่าใช้ชื่อว่า”ชิงลง” ประเทศมาเลเซียใช้ชื่อว่า “ซีปักรากา” ประเทศฟิลิปปินส์ใช้ชื่อว่า “ซีปัก” ในประเทศจีนมีกีฬาที่มีความคล้ายคลึงกับตะกร้อที่เรียกว่า “เตกโก” ส่วนในเมืองไทยนั้นเริ่งมีการเล่นตะกร้อกันตั้งแต่สมัยอยุธยา ตะกร้อจึงนับเป็นฬาที่อยู่คู่คนไทยมานาน
ลูกตะกร้อทำมาจากอะไร ลักษณะอย่างไร ลูกตะกร้อควรมีขนาดเท่าไหร่
ลูกตะกร้อทำจากหวาย หรือวัสดุสังเคราะห์สานเป็นทรงกลมมีรูทั้งหมด 12 รู จุดตัดรอยสานมีทั้งหมด 20 จุดตัดไขว้ เส้นรอบวง 42-44 cm น้ำหนักของลูกตะกร้อไม่น้อยกว่า 170 กรัม และไม่เกิน 180 กรัม
ในปัจจุบันกีฬาตะกร้อ มี 8 ประเภท
- ตะกร้อวงเล็ก
- ตะกร้อวงใหญ่
- ตะกร้อเตะทน
- ตะกร้อพลิกแพลง
- ตะกร้อชิงธง
- ตะกร้อลอดห่วง
- ตะกร้อข้ามตาข่าย
- เซปัก – ตะกร้อ
กีฬาตะกร้อในซีเกมส์ ผู้เล่นตะกร้อมีกี่คน
- ผู้เล่นประเภทเดี่ยว 1 ทีม ผู้เล่นตัวจริง 3 คน ผู้เล่นสำรอง 1 คน รวมเป็น 4 คน
- ผู้เล่นประเภททีม 1 ทีม มีผู้เล่น 9 คนสำรอง 3 คน รวมเป็น 12 คน
กติกาวิธีการเล่นตะกร้อประเภทเดี่ยว
เป็นการเตะเลี้ยงตะกร้อให้ตะกร้ออยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ให้อยู่นานแล้วจึงส่งไปอวัยวะส่วนอื่นให้ไม่ตกถึงพื้น นับเป็นกีฬาที่มีความสวยงามและต้องใช้ทักษะส่วนตัวสูง
กติกาวิธีการเล่นตะกร้อประเภททีม
ตำแหน่งผู้เล่นที่ 3 ตำแหน่ง ตำแหน่งหลังเป็นผู้เสิร์ฟลูก ออกมาจากพื้นที่วงกลม เมื่อเสิร์ฟแล้ว ผู้เสิร์ฟสามารถจึงสามารถเคลื่อนที่ได้ อีกสองคนอยู่ซ้าย และหน้าขวา ฝ่ายตรงข้ามยืนตรงจุดไหนก็ได้ หากลูกตกที่ฝ่ายใดฝ่ายนั้นเสียคะแนน ฝ่ายที่ทำลูกตกฝั่งตรงข้ามได้จะได้เสิร์ฟต่อ
เซ็ตการแข่งของตะกร้อมีทั้งหมด 3 เซต คะแนนของเซตที่ 1 และเซตที่ 2 มีคะแนนสูงสุด 15 คะแนน ในแต่ละเซตถ้าฝ่ายใดได้คะแนนมากสุดฝ่ายนั้นชนะในเซตนั้น และในทั้ง 2 เซ็ตนั้นจะไม่มีการดิวส์ หากในเซต 2 นั้นคะแนนเท่ากันจะมีการแข่งกันต่อในเซตที่ 3 (ไทเบรก) ทีมใดได้ 6 คะแนนก่อนทีมนั้นชนะ ในแต่ละเซตสามารถขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้งๆ ละ 1 นาที ในช่วงไทเบรกนั้นหากฝ่ายไหนได้ 3 คะแนนก่อนสามารถขอเวลานอกได้ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที
สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ 1 คนแต่ถ้าเหลือน้อยกว่า 3 คนถือว่าแพ้
ลักษณะของสนามตะกร้อ
สนามตะกร้อมีขนาดเท่าไหร่
ขนาดสนามแข่งขันมีความยาว 13.40 เมตร และกว้าง 6.10 เมตร พื้นสนามต้องมีความเรียบไม่ใช่สนามหญ้าหรือทรายเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ
สนามตะกร้อตีเส้นอย่างไร
- การตีเส้นสนาม ขนาดเส้นขอบสนามต้องกว้างไม่เกิน 4 cm เส้นขอบสนามต้องห่างจากสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 3 เมตร
- สำหรับเส้นกลางสนามขนาดของเส้น 2 cm เป็นเส้นแบ่งฝั่งซ้ายขวา
- เส้นโค้งแบ่งแดนส่วนตาข่ายซ้ายขวาเป็นรัศมีวงกลม 90 cm ในส่วนนี้จะเป็นจุดยืนของผู้เล่นตำแหน่งหน้า
- ปลายของเส้นแบ่งแดน ใช้เป็นจุดศูนย์กลางลากเส้นโค้งครึ่งวงกลมความกว้างเส้น 4 เซนติเมตร โดยขอบในของเส้นโค้งครึ่งวงกลมมีรัศมี 90 cm กำหนดไว้เป็นตำแหน่งยืนของผู้เล่นหน้าซ้าย และหน้าขวา ในขณะที่ส่งลูก
- เส้นจุดยืนส่งลูก วาดเป็นวงกลมรัศมี 30 cm ความกว้างของเส้น 4 cm มีระยะห่างจากเส้นขอบหลังสนาม 2.45 เมตร
ตาข่ายตะกร้อขนาดเท่าไหร่
ลักษณะตาข่ายตะกร้อ ต้องทำจากวัสดุเชือกหรือไนลอน รูของตาข่ายขนาดขนาด 6-8 cm ความสูงเฉพาะตัวตาข่าย 70 cm ความกว้าง ไม่ต่ำกว่า 6.1 เมตร ความสูงของตัวตาข่ายเมื่อขึงขึ้นเสาแล้ว 1.52 เมตร สำหรับตะกร้อชาย และความสูงของตัวตาข่ายเมื่อขึงขึ้นเสาแล้ว 1.42 เมตร สำหรับตะกร้อหญิง
เสาตะกร้อขนาดเท่าไหร่
ความสูงเสา 1.55 เมตรสำหรับตะกร้อชาย และ 1.45 เมตรสำหรับตะกร้อหญิง วางห่างจากเส้นข้างสนาม 30 cm