พลิกปูม!! รวมเหยื่อ ฟีฟ่า ที่เคยโดนแบน มีทีมชาติไหนบ้าง โดนนานเท่าไร และเพราะอะไร
Ugis Riba / Shutterstock.com
ความเคลื่อนไหวของวงการฟุตบอลไทย ที่กำลังอยู่ในช่วงดุเดือดสุดขีด สำหรับโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ซึ่งกำลังมีประเด็นร้อนจากการที่ทีมชาติไทย สุ่มเสี่ยงต่อการถูกแบน และจำกัดสิทธิ์ในการแข่งขันฟุตบอลในระดับทีมชาติ และระดับสโมสร ทุกชุด ทุกรุ่น ทุกทั่วร์นาเมนต์ รวมถึงเกมอุ่นเครื่อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ภายหลังการฟ้องร้องต่อสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ของ อนงค์ ล่อใจ อดีตประธานสโมสรสุราษฎร์ธานี เอฟซี ทีมดังในลีกภูมิภาคดิวิชั่น 2 โซนภาคใต้ ในกรณีสิทธิ์การเลือกตั้ง 30 เสียง ดิวิชั่น 2 ใหม่
ซึ่ง Sport.truelife.com จึงขอรวบรวมการสั่งแบนของ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ต่อหลากหลายทีมชาติ และหลากหลายเหตุผลกรณี เพื่อให้เป็นกรณีศึกษา และหวังว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ถึงขนาดกับแบนทีมชาติกับทีมชาติไทย ในช่วงที่ทีมชาติไทยกำลังให้ความสุขกับคนไทยทั้งประเทศแบบนี้เลย
1. สหพันธ์ฟุตบอลกรีซ (อีพีโอ) และ ทีมชาติกรีซ
ถูกแบนเมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม 2006
เหตุผล : รัฐบาลออกกฏหมายแทรกแซงการบริหารจัดการของสมาคมฟุตบอลกรีซ ซึ่งถือว่า ละเมิดกฎความเป็นเอกเทศของชาติสมาชิกและการตัดสินใจของแต่ละประเทศ
ยกเลิกโทษแบน เมื่อวันที่ 12 กรกฏาคม 2006
2. สหพันธ์ฟุตบอลอิหร่าน (ไออาร์ไอเอฟเอฟ) และทีมชาติอิหร่าน
ถูกแบนเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2006
เหตุผล : บริหารงานภายในองค์กรอย่างไร้ความเป็นอิสระ และมีการเลือกตั้งภายในองค์กรสหพันธ์ฟุตบอลอิหร่าน (ไออาร์ไอเอฟเอฟ) อย่างไม่เหมาะสม
ยกเลิกโทษแบน เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2006
3. สหพันธ์ฟุตบอลคูเวต (เคเอฟเอ) และ ทีมชาติคูเวต
ถูกแบนเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2007
เหตุผล : รัฐบาลแทรกแซงกระบวนการเลือกตั้งประธานฝ่ายบริหารของสมาคมฟุตบอลแห่งคูเวต
ยกเลิกโทษแบน เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2007
4. สหพันธ์ฟุตบอลบรูไน (บีเอเอฟเอ) และ ทีมชาติบรูไน
ถูกแบนเมื่อเดือนตุลาคม 2009
เหตุผล : สุลต่านบรูไน และรัฐบาลแทรกแซงการบริหารของสมาคม โดยให้มีการยกเลิกสมาคมฟุตบอลของประเทศตัวเอง พร้อมมีการปฏิรูปใหม่
ยกเลิกโทษแบน เมื่อเดือนตุลาคม 2011
5. สหพันธ์ฟุตบอลเปรู (เอฟพีเอฟ) และทีมชาติเปรู
ถูกแบนเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2008
เหตุผล : รัฐบาลเปรู แทรกแซงสมาคมฟุตบอลของเปรู และไม่ยอมรับการเลือกตั้งของประธานสหพันธ์ฟุตบอลเปรู
ยกเลิกโทษแบน เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2008
6. สหพันธ์ฟุตบอลของซามัว (เอฟเอฟเอเอส) และทีมชาติอเมริกัน ซามัว
ถูกแบนเมื่อเดือนตุลาคม 2008
เหตุผล : เกิดการบริหารงานที่ทับซ้อนกันภายในองค์กร สหพันธ์ฟุตบอลของซามัว (เอฟเอฟเอเอส)
ยกเลิกโทษแบน เมื่อเดือนธันวาคม 2008
7. สหพันธ์ฟุตบอลไนจีเรีย (เอ็นเอฟเอฟ) และทีมชาติไนจีเรีย
ถูกแบนเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2010
เหตุผล : รัฐบาลไนจีเรียแทรกแซงการบริหารงานของสหพันธ์ฟุตบอลไนจีเรีย หลังไม่พอใจผลงานในศึก เวิลด์คัพ 2010
ยกโทษแบนเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2010
8. สหพันธ์ฟุตบอลเอธิโอเปีย (อีเอฟเอฟ) และทีมชาติเอธิโอเปีย
ถูกแบนเมื่อเดือนกันยายน 2008
เหตุผล : เปิดปัญหาภายในสหพันธ์ฟุตบอลเอธิโอเปีย และไม่มีการแก้ไขปัญหาผู้นำขององค์กรตามที่ให้สัญญาไว้กับฟีฟ่า
ยกโทษแบนเมื่อเดือนสิงหาคม 2009
9. สหพันธ์ฟุตบอลอิรัก (ไอเอฟเอ) และทีมชาติอิรัก
ถูกแบนเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2009
เหตุผล : รัฐบาลแทรกแซงการบริหารงานของสหพันธ์ฟุตบอลอิรัก โดยใช้อำนาจสั่งปลดผู้บริหารบางรายในสหพันธืฟุตบอลอิรัก
ยกโทษแบนเมื่อเดือนมีนาคม 2010
10. สมาคมฟุตบอลแคเมอรูน (FECAFOOT) และทีมชาติแคเมอรูน
ถูกแบนเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2013
เหตุผล : รัฐบาลแทรกแซงการทำหน้าที่บริหารงาน และการเลือกตั้งในสมาคมฟุตบอลแคเมอรูน
ยกโทษแบนเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2013
11. สหพันธ์ฟุตบอลคูเวต (เคเอฟเอ) และ ทีมชาติคูเวต
ถูกแบนเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2015
เหตุผล : รัฐบาลแทรกแซงกระบวนการบริหาร และมีปัญหาเรื่องกฏข้อบังคับด้านกีฬาภายในประเทศ
ยกเลิกโทษแบน – ยังไม่มีกำหนด
12. สมาคมฟุตบอลอินโดนีเซีย และทีมชาติอินโดนีเซีย
ถูกแบนเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2015
เหตุผล : รัฐบาลแทรกแซงกระบวนการบริหารของสมาคมฟุตบอลอินโดนีเซีย ในการจัดแข่งฟุตบอลลีกภายในประเทศ
ยกเลิกโทษแบน – ยังไม่มีกำหนด