เปิดประวัติ อัจฉราพร คงยศ เปิดวาร์ป IG มือตบวอลเลย์บอลสาวไทย เจ้าของฉายา ตบลั่นสนั่นทุ่ง
ส่องประวัติ! อัจฉราพร คงยศ หรือ เพียว พร้อมเปิดวาร์ป IG มือตบวอลเลย์บอลสาวไทย เจ้าของฉายา ตบลั่นสนั่นทุ่ง และเจ้าของสถิติตบหนักที่สุด 95 km/h ทั้งสปีดบอล น้ำหนัก และจังหวะที่หนักแน่นรุนแรงแต่เฉียบคม ทำให้เพียวถือเป็นหนึ่งในแกนหลักของทีมวอลเลย์บอลหญิงไทย และโชว์ฟอร์มได้ยอดเยี่ยม! ไม่ว่าจะซีเกมส์ 2023 ที่ไทยสามารถรักษาแชมป์ไว้ได้แบบเฉียบขาด รวมถึงการเตรียมลุยศึกวอลเลย์บอลเนชั่นส์ลีก VNL 2023 นี้ แน่นอนว่าจะขาดมือตบหัวเสาคนนี้ไปไม่ได้อย่างแน่นอน
daykung / Shutterstock.com
อัจฉราพร คงยศ ประวัติ ข้อมูลส่วนตัวและการศึกษา
- ชื่อเต็ม : อัจฉราพร คงยศ
- ชื่อเล่น : เพียว
- วันเกิด : 18 มิถุนายน พ.ศ. 2538 (27 ปี)
- จังหวัด : นครศรีธรรมราช ประเทศไทย
- ส่วนสูง : 178 ซ.ม.
- น้ำหนัก : 66 กก.
- ระยะกระโดดตบ : 310 ซม.
- ระยะบล็อค : 302 ซม.
- การศึกษา :
ระดับประถม โรงเรียนชุมชนวัดวัดปัณณาราม
ระดับมัธยม โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต (RBAC)
ยอดฝีมือย่อมเกิดจากการฝึกฝน ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ รวมถึงสาวจากแดนปักษ์ใต้คนนี้เช่นกัน ในวัยเด็ก เพียวต้องช่วยทางบ้านฝ่าฟันวิกฤติทางการเงินด้วยการช่วยทำงานตั้งแต่เด็ก แต่ก็ไม่สามารถขัดขวางหัวใจที่รักกีฬาได้ เด็กหญิงเพียวในวัยประถมจึงเริ่มหัดเล่นวอลเลย์บอล ที่ "โรงเรียนบ้านขอนหาด" จังหวัดนครศรีธรรมราช บ้านเกิดของเธอ ก่อนที่จะฉายแววเข้าตาคุณครู จึงเรียกให้เธอมาฝึกวอลเลย์บอลอย่างจริงจัง และได้รับโอกาสให้เข้าเรียนที่ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ซึ่งโด่งดังทางด้านวอลเลย์บอล
ชื่อเสียงของ เพียว อัจฉราพร คงยศ เริ่มโด่งดังเป็นที่รู้จักมากขึ้นเมื่อได้ลงแข่งวอลเลย์บอลในฐานะนักกีฬาวอลเลย์บอลของโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และนักกีฬาวอลเลย์บอลของสุพรีม-นครศรี ด้วยส่วนสูงถึง 178 ซ.ม. สามารถขึ้นตบได้สูงถึง 308 ซ.ม. บล็อคได้สูงถึง 295 ซ.ม. บวกกับสไตล์การเล่นที่โดดเด่นทั้งสปีดบอล น้ำหนัก และจังหวะในการตบ ทำให้เธอได้รับรางวัลในการแข่งขันพีอีเอ จูเนียร์แชมป์เปียนชิพ 2010-2012 ทั้ง "ผู้เล่นทรงคุณค่า" "ตัวตบยอดเยี่ยม" และ "ผู้เล่นทรงคุณค่า"
daykung / Shutterstock.com
ติดทีมชาติครั้งแรก
เพียว อัจฉราพร คงยศ ติดหนึ่งในนักกีฬาวอลเลย์บอลชุดเยาวชนหญิงทีมชาติไทย ก่อนจะก้าวมาติดทีมชาติวอลเลย์บอลหญิงชุดใหญ่ ในปี 2012 ด้วยวัยเพียง 17 ปีเท่านั้น! และได้ร่วมเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์สำคัญของทีมชาติไทย ทั้งสมาชิกแชมป์วอลเลย์บอลหญิงเอเชีย ในปี 2013 ที่ถือว่าวอลเลย์บอลสาวไทยได้เป็นแชมป์เอเชีย สมัยที่ 2 ในประวัติศาสตร์ต่อจากปี 2009 ต่อเนื่องมาจนถึงวอลเลย์บอลเนชั่นลักส์ 2022 ที่สามารถทะลุผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายได้เป็นครั้งแรก
อัจฉราพร ได้เริ่มต้นเส้นทางวอลเลย์บอลอาชีพครั้งแรกกับ สุพรีม-นครศรี ในช่วงปี 2009 (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสโมสร สุพรีม ชลบุรี-อี.เทค) ก่อนที่จะเริ่มเล่นในลีกต่างประเทศให้ สโมสร แบงค์ดีเคไอ Bank DKI ของอินโดนีเซียในปี 2013 ด้วยสัญญายืมตัว จนกระทั่งในปี 2018-19 ก็หวนกลับมาเล่นในลีกอินโดนีเซียอีกครั้งให้กับสโมสร Jakarta BNI 46
สานฝันสู่ลีกยุโรป
แต่ความฝันของเธอก็คือ การได้เล่นในลีกยุโรปสักครั้งในชีวิต เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากเบอร์ต้นๆ ของโลก ซึ่งก็เกือบเป็นจริงถึง 2 ครั้งแต่ก็พลาดโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย โดยเฉพาะครั้งก่อนเปิดฤดูกาล 2020-2021 ที่เธอได้รับข้อเสนออย่างเป็นทางการจาก ลีกตุรกี เเละ ลีกอิตาลี และได้ตัดสินใจเล่นในลีกอิตาลี แต่กลับโดนขอยกเลิกการเซ็นสัญญากับอัจฉราพรแบบกะทันหัน เหตุจากเซตเตอร์ตัวหลักไม่พร้อมที่จะลงเล่นในฤดูกาลใหม่
แต่สำหรับคนเก่งอย่างอัจฉราพร โอกาสดีๆ ย่อมไม่จบแค่นั้น หลังจากโชว์ฟอร์มได้อย่างยอดเยี่ยมตลอดฤดูกาล 2020-2021 ความฝันของเธอก็เป็นจริง เมื่อเธอได้รับโอกาสสำคัญจับปากกาเซ็นสัญญากับสโมสรซาริเยร์ เบลิเยดิซี่ ในฐานะผู้เล่นหลัก ตำแหน่งตัวตบหัวเสาทรงพลัง ตลอดฤดูกาล 2021-2022 และได้ต่อสัญญาออกไปอีก 1 ฤดูกาลในปัจจุบัน
daykung / Shutterstock.com
เกียรติประวัติ ของ เพียว อัจฉราพร คงยศ
รางวัลส่วนบุคคล
- 2010 พีอีเอ จูเนียร์แชมป์เปียนชิพ - "ผู้เล่นทรงคุณค่า"
- 2010 พีอีเอ จูเนียร์แชมป์เปียนชิพ - "ตัวตบยอดเยี่ยม"
- 2012 พีอีเอ จูเนียร์แชมป์เปียนชิพ - "ผู้เล่นทรงคุณค่า"
- 2013 กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 29 - "ผู้เล่นทรงคุณค่า"
- 2013 พีอีเอ จูเนียร์แชมป์เปียนชิพ - "ผู้ทำคะแนนสูงสุด"
- 2013 พีอีเอ จูเนียร์แชมป์เปียนชิพ - "เสิร์ฟยอดเยี่ยม"
- 2013-14 ไทยแลนด์ลีก - "ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม"
- 2014 วีทีวีอินเตอร์เนชันแนลคัพ - "ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม"
- 2014–15 ไทยแลนด์ลีก - "ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม"
- 2015 วีทีวีอินเตอร์เนชันแนลคัพ - "ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม"
- 2016 มงเทรอวอลลีย์แมสเตอส์ - "ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม"
- 2016 เอวีซีคัพ - "ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม"
- 2016-17 ไทยแลนด์ลีก - "ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม"
- 2016-17 ไทยแลนด์ลีก - "ผู้เล่นทรงคุณค่า"
- 2018 ไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก - "ผู้เล่นทรงคุณค่า"
- 2018 เอวีซีคัพ - "ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม"
- 2018 สโมสรหญิงชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย - “ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม”
- 2018 สโมสรหญิงชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย - “ผู้เล่นทรงคุณค่า”
- 2019 สโมสรหญิงชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย - “ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม”
ทีมสโมสร
- 2012 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย - อันดับ 3, กับ ช้าง
- 2015-16 ไทยแลนด์ลีก – รองชนะเลิศ, กับ สุพรีม-ชลบุรี
- 2016 ไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก – รองชนะเลิศ, กับ สุพรีม-ชลบุรี
- 2016 วีทีวี อินเตอร์เนชันแนล คัพ - ชนะเลิศ, กับ สุพรีม-ชลบุรี
- 2016-17 ไทยแลนด์ลีก - ชนะเลิศ กับ สุพรีม ชลบุรี อีเทค
- 2017 ไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก - ชนะเลิศ กับ สุพรีม ชลบุรี อีเทค
- 2017 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย - ชนะเลิศ กับ สุพรีม ชลบุรี อีเทค
- 2017-18 ไทยแลนด์ลีก - ชนะเลิศ กับ สุพรีม ชลบุรี อีเทค
- 2018 ไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก - ชนะเลิศ กับ สุพรีม ชลบุรี อีเทค
- 2018 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย - ชนะเลิศ กับ สุพรีม ชลบุรี อีเทค
- 2018-19 โปรลีกา - อันดับ 3 กับ Jakarta BNI 46
- 2018-19 ไทยแลนด์ลีก – รองชนะเลิศ, กับ สุพรีม-ชลบุรี
- 2019 ไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก ชนะเลิศ กับ สุพรีม ชลบุรี อีเทค
- 2019 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย2019– รองชนะเลิศ, กับ สุพรีม ชลบุรี อีเทค
- 2019-20 ไทยแลนด์ลีก - ชนะเลิศ กับ สุพรีม ชลบุรี อีเทค
ผลงานติดทีมชาติ
ชุดใหญ่
- 2012 เอวีซีคัพ – เหรียญทอง เหรียญทอง
- 2013 ชิงแชมป์เอเชีย – เหรียญทอง เหรียญทอง
- 2014 ชิงแชมป์โลก – อันดับที่ 17
- 2015 ชิงแชมป์เอเชีย – เหรียญทองแดง เหรียญทองแดง
- 2016 มงเทรอมาสเตอร์ – เหรียญเงิน เหรียญเงิน
- 2016 เอวีซีคัพ – เหรียญทองแดง เหรียญทองแดง
- 2017 มงเทรอมาสเตอร์ – อันดับที่ 7
- 2017 ชิงแชมป์เอเชีย – เหรียญทองแดง เหรียญเงิน
- 2018 เนชันลีกอ2018- อันดับที่ 15
- 2018 วอลเลย์บอลในเอเชียนเกมส์ : เหรียญเงิน
- 2018 เอวีซีคัพ – เหรียญทองแดง เหรียญทองแดง
- 2018 ชิงแชมป์โลก – อันดับที่ 13
- 2019 มงเทรอมาสเตอร์ – อันดับที่4
- 2019 เนชันลีก 2019- อันดับที่ 12
- 2022 เนชันลีก 2022- อันดับที่ 14
- 2023 ซีเกมส์ 2023 เหรียญทอง
ชุดอายุไม่เกิน 23 ปี
- 2015 ชิงแชมป์เอเชีย – เหรียญเงิน เหรียญเงิน
- 2015 วีทีวี คัพ อินเตอร์เนชั่นแนล – ชนะเลิศ
- 2015 ชิงแชมป์โลก – อันดับที่ 8
ชุดเยาวชน
- 2010 ชิงแชมป์เอเชีย – อันดับที่ 4
- 2012 ชิงแชมป์เอเชีย – อันดับที่ 4
- 2013 ชิงแชมป์โลก – อันดับที่ 18
ชุดยุวชน
- 2010 ชิงแชมป์เอเชีย – เหรียญทองแดง เหรียญทองแดง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2556 – Order of the White Elephant - 3rd Class (Thailand) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[4]
- พ.ศ. 2558 – Order of the Direkgunabhorn (Thailand) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 6 เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ท.ภ.)[5]
IG ของอัจฉราพร คงยศ
มาร่วมลุ้นร่วมเชียร์ เพียว อัจฉราพร คงยศ และทีมนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ในศึกวอลเลย์บอลเนชั่นลีกส์ 2023 ทีมนักตบลูกยางสาวไทยจะเขียนประวัติศาสตร์บทใหม่ได้หรือไม่ เตรียมเสียงเชียร์ไว้ให้พร้อม แล้วเช็กโปรแกรมการแข่งขันได้ที่นี่เลย ตารางแข่งวอลเลย์บอลเนชั่นส์ลีก 2023 ถ่ายทอดสดช่องไหน โปรแกรมแข่งขัน VNL
ข่าวที่เกี่ยวข้อง