แชมป์แห่งความใส่ใจ : เบื้องหลังแชมป์หญ้าสวยที่ไม่ใช่เรื่องตลกของ แมนฯ ยูไนเต็ด
"แชมป์หญ้าสวย" อาจจะเป็นคำที่ใครหลายคนใช้ล้อเลียนหรือแดกดันแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ในยามที่สโมสรแห่งนี้ร้างราความสำเร็จมานานหลายปี ...
อย่างไรก็ตามในความตลกของใครหลายคนนี้เอง คือความภาคภูมิใจของคนทำงาน ... นี่คือเรื่องราวของสนามที่สวยที่สุดในพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2018-19 และยังถูกพูดถึงมาจนทุกวันนี้ หญ้าสีสวย ๆ ลวดลายดูมีมิติเหล่านี้ เกิดจากความใส่ใจของคนเบื้องหลังที่พยายามอย่างหนักตลอดทั้งปี
ทำไม โอลด์ แทรฟฟอร์ด จึงมีหญ้าที่สวยแลดูสบายตา และเป็นมิตรกับการลงน้ำหนักเท้าของนักเตะในการแข่งขันมากที่สุดในพรีเมียร์ลีก ... ติดตามได้ที่นี่
จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง
7 ปีก่อน สนาม โอลด์ แทรฟฟอร์ด ของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด นั้นขึ้นชื่อในเรื่องความยิ่งใหญ่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวและแฟนบอลจากทั่วโลก ทำเงินให้กับสโมสรมากมายจากรายได้ ณ จุดนี้
เมื่อมีความต้องการของแฟน ๆ ที่อยากจะให้สนามแห่งนี้มีส่วนร่วมในหลาย ๆ กิจกรรม โอลด์ แทรฟฟอร์ด จึงมักถูกใช้ในโอกาสต่าง ๆ ทั้งจัดการรื่นรมย์ งานคอนเสิร์ต หรืองานเลี้ยงสังสรรค์ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่แวะเวียนเข้ามาเช่าพื้นที่สนามแห่งนี้ จนทำให้เจ้าของสนามจริงรู้สึกว่าหลายสิ่งกำลังถูกใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์
คนที่เริ่มตั้งคำถามและคุยเรื่องนี้อย่างจริงจังคือ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ในระหว่างฤดูกาล 2012-13 ซึ่งเป็นฤดูกาลล่าสุดที่ทีมปีศาจแดงไปถึงแชมป์พรีเมียร์ลีก เฟอร์กี้ เริ่มคัดค้านการให้เช่าสนามและให้คนภายนอกเข้ามาเหยียบหญ้าในสนามแห่งนี้แบบมากเกินพอดี เพราะมันส่งผลต่อการแข่งขันจริง ที่ ยูไนเต็ด จะต้องลงเล่นในรังเหย้าทั้งในลีกและในฟุตบอลถ้วยตลอดปีกว่า 30 เกม ... เมื่อการเล่นในบ้านคือหัวใจสำคัญที่สุดในการตัดสินแชมป์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเรื่องการถนอมร่างกายของผู้เล่นในทีม ให้ห่างไกลจากอาการบาดเจ็บมากที่สุด ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงต้องเกิดขึ้น
เฟอร์กี้ เริ่มวิจารณ์ว่าสภาพสนาม โอลด์ แทรฟฟอร์ด ไม่เรียบเนียนและนุ่มพอสำหรับนักเตะในทีมโดยเฉพาะกับ ดาร์เรน เฟล็ทเชอร์ กองกลางคนบ้านเดียวกัน ที่ ณ เวลานั้นเพิ่งกลับมาอยู่ในช่วงเรียกความฟิตจากอาการโรคลำไส้เรื้อรัง
"สนามในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาไม่เหมาะกับ ดาร์เรน อย่างแรง พวกเขาใช้สนามหนักมากและดูเหมือนพื้นสนาม โอลด์ แทรฟฟอร์ด จะพังไปเรียบร้อยแล้ว เราเคยมีช่วงเวลาที่ดีมาก ๆ ตลอด 6 ปีที่ผ่านมากับพื้นสนามแห่งนี้ แต่ตอนนี้มันไม่ไหวแล้วจริง ๆ สนามถูกใช้งานหนักและผมคิดว่าถ้าฤดูกาลนี้จบลง เราควรจะเปลี่ยนพื้นสนามใหม่ทั้งหมดในซัมเมอร์นี้เลย" เฟอร์กี้ กล่าวผ่าน Goal
สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นหลายคนรู้อยู่แล้ว คือ แมนฯ ยูไนเต็ด คว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก พร้อม ๆ กับการประกาศวางมือของ เฟอร์กี้ แบบที่ใครไม่ทันตั้งตัว ... แต่สิ่งที่ใครหลายคนยังไม่รู้คือเจตนารมณ์ "พื้นหญ้าต้องดี" ของ เฟอร์กี้ ยังคงไม่หายไปไหน ปีศาจแดง ยังจำข้อติติงข้อนี้ของ เฟอร์กี้ ได้ และหลังจากฤดูกาลนั้นจบลง พวกเขาก็เริ่มให้ความสำคัญและลงทุนด้วยงบประมาณที่สูงมากสำหรับสนามหญ้าใน โอลด์ แทรฟฟอร์ด
แม้ในโลกทุนนิยมจะหนีความจริงไม่ได้ว่าสนามแห่งนี้อาจจะต้องเปิดให้เช่าเพื่องานรื่นรมย์และอีเวนท์ต่าง ๆ บ้างตามโอกาส การตัดข้อนี้ทิ้งไปคงไม่ดีแน่ เพราะเงินรายได้ก็จะหายไปด้วย ดังนั้นเหตุผลด้านฟุตบอล ต้องเจอกับเหตุผลด้านธุรกิจ และต้องหาตรงกลางของกันและกันให้เจอ พวกเขาจึงต้องเปลี่ยนพื้นสนามใหม่ที่สามารถรับมือกับทั้ง 2 สถานการณ์ได้
คุณภาพที่เงินอย่างเดียวซื้อไม่ได้
ทีมงานบอร์ดบริหารของ แมนฯ ยูไนเต็ด สั่งเปลี่ยนพื้นสนามเพื่อเข้าสู่เชิงพาณิชย์เต็มระบบด้วยการสั่งหญ้าที่เรียกว่า "ไฮบริด" (Hybrid Turf) ซึ่งเป็นส่วนผสมของหญ้าจริงและหญ้าสังเคราะห์จากบริษัท Desso ที่เป็นบริษัทเดียวกับที่วางหญ้าให้กับ นิว เวมบลี่ย์ สนามแห่งความภูมิใจของชาวอังกฤษนั่นเอง
แม้สนามหญ้าจริงจะถือว่าเป็น "สุดยอดของหญ้าในสนามกีฬา" ทว่าปัญหาใหญ่ที่สุดคือเรื่องของการดูแล ที่ต้องใช้งบประมาณและจำนวนคนในการดูแลส่วนนี้โดยเฉพาะเยอะมาก เพราะธรรมชาตินั้นยากจะควบคุม การให้น้ำและแสงแดดที่ไม่พอดี ล้วนแต่นำมาซึ่งความเสียหายได้อย่างง่ายดาย
จุดเด่นของหญ้าไฮบริดคือการใช้หญ้าเทียมผสมกับหญ้าจริงบางส่วน ทำให้ได้พื้นสัมผัสที่ "เกือบเหมือน" หญ้าจริง แต่จุดเด่นที่สุดคือเรื่องของความทนทานต่อสภาพอากาศและความคงทนเสียหายยาก สำหรับการแข่งฟุตบอล แต่ก่อนเราอาจจะได้เห็นสนามที่หญ้าหลุดออกมาบ้าง แต่สำหรับหญ้าไฮบริดนั้น ภาพเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ยากมาก ถ้าไม่ได้รับความรุนแรงในการขุดขึ้นมาจริง ๆ
สิ่งสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนพื้นสนามนี้ คือความคุ้มค่ากับการลงทุน งบประมาณที่พวกเขาใช้ในการเปลี่ยนหญ้าใหม่ครั้งนี้คือ 800,000 ปอนด์ แต่แลกมากับสภาพสนามในระยะยาวถือว่าเป็นอะไรที่สมเหตุสมผล
เหนือสิ่งอื่นใดคือการซื้อหญ้าอย่างเดียวยังไม่จบ ยูไนเต็ด จ่ายเงินจ้างพนักงานที่ดูแลด้านพื้นสนามโดยเฉพาะ เพราะยังมีสนามบางส่วนที่ทำมาจากหญ้าแท้ และคนที่เป็นคีย์แมนสำคัญนี้คือ โทนี่ ซินแคลร์ ที่มีประสบการณ์ทำงานเรื่องนี้มานานหลายปี โดยซินแคลร์นั้นรักหญ้าเหมือนลูกเลยทีเดียว เขาเชี่ยวชาญด้านนี้สุด ๆ แทบจะทุกตารางนิ้วของสนาม
"สนามโอลด์ ทรฟฟอร์ด ของเราประกอบด้วยวัสดุคล้าย ๆ ไนลอนเย็บติดกันประมาณ 20 ล้านชิ้น มีรากลึกประมาณ 20 เซนติเมตรโดยวางระยะห่างกันไว้ที่ 1.5 เซนติเมตร โดยรวมแล้วส่วนที่เป็นไนลอนนี้คิดเป็น 3% ของตัวสนามทั้งหมด ซึ่งเราไม่เคยหยุดดูแลพวกมัน"
"เราเอาชิ้นส่วนของสนามบางจุดไปตรวจวสอบทุกสัปดาห์ สำหรับหญ้าจริงเราจะเอาไปหาดูว่ามันได้รับอาหารที่เหมาะสมหรือไม่ (น้ำและแสงแดด) ถ้าไม่ปกติเราก็ต้องรีบแก้ไข ส่วนเรื่องแสงแดดนั้นเราสามารถใช้แสงไฟประดิษฐ์เข้ามาช่วยทดแทนพระอาทิตย์จริง ๆ ได้ (เมืองแมนเชสเตอร์มักมีสภาพอากาศแปรปรวนและฝนตก) ด้วยไฟประดิษฐ์เหล่านี้ พวกหญ้าทั้งหลายก็จะสามารถเติบโตได้ดีเลยทีเดียว"
ไม่ใช่แค่ โอลด์ แทรฟฟอร์ด เท่านั้นที่เจ้าหน้าที่อย่าง ซินแคลร์ ต้องรับผิดชอบ งานของเขาดูเผิน ๆ เหมือนจะสบายเพราะเปลี่ยนหญ้าที่ง่ายต่อการดูแล แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่แบบนั้น รายละเอียดงานของทีมดูแลสนามนั้นเยอะมาก พวกเขาต้องรับผิดชอบทุกสนามของทีมทุกชุด สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือสนามทั้งหมดในการดูแลจะต้องพร้อมให้นักเตะลงสนามทุกเวลา
"ตั้งแต่สนามซ้อมจนถึงสนามแข่ง เรามีสนามหญ้าธรรมชาติ 23 สนาม และหญ้าแบบไฮบริดทั้งหมด 5 สนามให้ดู สนามทั้งหมดนี้ต้องได้รับการปรับปรุงแบบไม่มีวันหยุด เพราะมันถูกใช้งานแทบตลอดทั้งปี"
โทนี่ ซินแคลร์ คือคนที่พยายามทำให้สนามทั้ง 28 สนามออกมาให้ดีที่สุด ไม่ใช่แค่เพื่อนักเตะในทีมจะได้ลงเล่นอย่างปลอดภัยไม่เสี่ยงเจ็บ เขายังเชื่อว่าการดูแลที่ดีทำให้มีพื้นหญ้าสวย ๆ นั้นสามารถสร้างความประทับใจกับแฟน ๆ ที่มาเห็นสนามเหล่านี้ด้วยตาตัวเองได้ด้วย
รางวัลแห่งความภูมิใจ
หลังจากปี 2013 เป็นต้นมา ยูไนเต็ด ก็สามรถใช้สนามโอลด์ แทรฟฟอร์ด ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยขึ้น สนามแห่งนี้ใช้ในการแข่งขันรักบี้ลีก แสดงคอนเสิร์ต และงานอีเวนท์อีกมากมาย แต่ทีมดูแลก็สามารถจัดการทุกอย่างให้เข้ารูปเข้ารอยได้ ด้วยวิทยาการที่หลากหลาย พวกเขาไม่ใช่แค่ดูเป็นแสงแดด น้ำ หรือการตัดหญ้าให้เป็นลวดลายต่าง ๆ สวยงามสะดุดตาเท่านั้น กลุ่มผู้ดูแลสนามยังต้องพึงระวังเชื้อปรสิตที่สามารถกัดกินต้นหญ้าและทำให้สนามที่แม้จะเป็นสนามแบบไฮบริดก็ยังเสียหายได้ ซึ่งจุดนี้เองคือหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่สนาม โอลด์ แทรฟฟอร์ด เขียวขจีอยู่เสมอ ... เคล็ดลับคือ กระเทียม
"โลกเรานี้มันมีปรสิตสายพันธุ์ต่าง ๆ เป็นล้าน ๆ ชนิด ถ้าคุณมองข้ามพวกมันไปรับรองมันเอาเรื่องแน่ มันจะเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของต้นหญ้าได้" ซินแคลร์ กล่าว
"เราทำการฉีดพ่นสารสกัดจากกระเทียมฉีดลงไป ในพื้นสนามทุกตารางนิ้ว เมื่อฉีดไปแล้วการเจริญเติบโตของปรสิตจะหยุดทันที เหมือนไข่ที่กำลังจะฟักแต่เราไปหยุดมันนั่นแหละ"
ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นไม่ใช่เพียงการพูดลอย ๆ เพราะ The Royal Borough of Kensington and Chelsea ของอังกฤษก็ได้แนะนำให้ใช้สเปรย์กระเทียมเพื่อรักษาสวนให้งดงาม แถมยังปราศจากแมลงและปรสิตรบกวนอีกด้วย และหากใช้เป็นประจำ ผลที่ได้นั้นก็จะดียิ่งขึ้นไปอีก โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการพ่นคือช่วงเช้าตรู่หรือเย็นย่ำ แต่หากวันใดมีฝนตก ก็ต้องพ่นซ้ำหลังฝนหยุดเพื่อให้ได้ผลดีที่สุด
การดูแลเอาใจใส่แบบไม่หยุด จากการติติงของ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน กลายเป็นสิ่งที่ทำให้ทีมดูแลพื้นสนามของ แมนฯ ยูไนเต็ด ภาคภูมิใจ พวกเขารู้จักหญ้าทุกต้น ไนลอนทุกเส้น และวิธีการรับมือกับทุกสภาพอากาศ ทุกสิ่งล้วนเกิดจากการทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มความสามารถ จนที่สุดแล้ว แมนฯ ยูไนเต็ด จึงได้กลายเป็นแชมป์หญ้าสวย ในฤดูกาล 2018-19
โดยแชมป์นี้ไม่ใช่ได้มาจากการตัดสินด้วยตาเปล่า แต่มีการประเมินคุณภาพของสนามตลอดทั้งฤดูกาลโดยนักปฐพีวิทยาที่ชำนาญเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ ทีมไหนที่จะได้รางวัลนี้ไป นอกจากสนามจะมีหญ้าที่สวยแล้ว ยังหมายถึงคุณภาพที่เหมาะสำหรับการแข่งขันจริงด้วย นั่นคือ มีความนุ่มระดับพอดีกับการลงน้ำหนักเท้า คุณภาพของระบบระบายน้ำ และการรองรับน้ำฝนที่เป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อีกด้วย
อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น แม้รางวัลจะโดนเอามาล้อเลียนในเชิงที่ว่าทีมตกต่ำจนเหลือแค่แชมป์สนามหญ้า แต่หากเรามองกันตามความจริง เรื่องนี้มีความจริงอีกด้าน นั่นคือการสมควรได้รับความชื่นชมในฐานะคนเบื้องหลังที่ทำหน้าที่ที่ใครหลายคนไม่เห็น แต่เป็นสิ่งสำคัญและเป็นหน้าเป็นตาของสโมสรแห่งนี้ ไม่ว่าใครจะว่าอย่างไร ทีมสนามหญ้าของ แมนฯ ยูไนเต็ด ยังคงภาคภูมิใจเสมอ ที่สุดท้ายแล้วงานที่พวกเขาตั้งใจทำ ได้รับการยกย่องว่า "เป็นงานคุณภาพ"
"นี่คือรางวัลที่เหลือเชื่อนะ การได้รับการยกย่องครั้งนี้เป็นสิ่งที่เราภาคภูมิใจเป็นอย่างมากในฐานะของทีม" ซินแคลร์ กล่าวกับเว็บไซต์หลักของสโมสร
"สภาพสนาม โอลด์ แทรฟฟอร์ด ในช่วง 5-6 ปีหลังมานี้เปลี่ยนไปในทางที่ดีเป็นอย่างมาก มันคือความสำเร็จที่ยอดเยี่ยมสำหรับทีมงานผู้ดูแลสนามทุกคน เราจะรับรางวัลนี้ในฐานะผู้มีส่วนดูแลสนามทุกคน คุณจำเป็นจะต้องมีทีมที่ดีอยู่เคียงข้าง และแน่นอนผมมีเพื่อน ๆ ผู้ร่วมงานที่สุดยอดจริง ๆ" เขากล่าวอย่างภูมิใจในฐานะตัวแทนของผู้ดูแลสนามทุก ๆ คน
การดูแลที่เอาใจใส่ขนาดนี้และเสียงลือเสียงเล่าอ้างเรื่องความสวยของหญ้าที่ โอลด์ แทรฟฟอร์ด ล้วนเป็นฝันในระดับ "สักครั้งในชีวิต" ของแฟน ๆ ปีศาจแดงทุกคน แม้การจะควักสะตุ้งสตางค์ไปเองทั้งหมดอาจจะดูไกลตัวเพราะต้องใช้ค่าใช้จ่ายมากมาย แต่ใช้ว่าคุณจะไม่มีหวังเลยเสียทีเดียว ...
เพราะสำหรับแฟนของ แมนฯ ยูไนเต็ด จะมีอะไรที่คู่ควรไปกว่า บัตรเครดิตกรุงศรี แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ซึ่งเป็นบัตรเครดิตบัตรเดียวที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้ ไม่ใช่แค่ใช้แทนเงินสดได้เท่านั้น แต่ยังมีสิทธิพิเศษและโปรโมชั่นที่สามารถ "สานฝัน" แฟนบอลปีศาจแดงทุกคนอีกด้วย
เพราะทุกครั้งที่คุณใช้บัตรนี้ในวันที่ แมนฯ ยูไนเต็ด ลงแข่งขัน จะสามารถสะสมแต้มได้เพิ่มอีก 2 เท่า หากแมนฯ ยูไนเต็ด ชนะในเกมธรรมดารับแต้มสะสม 4 เท่า และหากชนะในเกมใหญ่ รับเพิ่มไปเลย 8 เท่า
แต้มเหล่านี้ที่คุณได้รับจะสามารถสะสมเพื่อใช้แลกซื้อของที่ระลึกของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด แบบ Limited Edition อีกด้วย
นอกจากนี้ยังสามารถสานฝันแฟนผีด้วยการไปชม แมนฯ ยูไนเต็ด ลงสนามที่โอลด์ แทรฟฟอร์ด ด้วยตาของตัวเอง โดยสามารถแบ่งชำระ 0% นานสูงสุดถึง 6 เดือน
หากสนใจจะจับจองเป็นเจ้าของบัตรเดียวครบตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์แฟนบอลปีศาจแดงแบบนี้ติดต่อได้เลยที่ 02-646-3555 สายด่วนบัตรกรุงศรีอยุธยา ตลอด 24 ชั่วโมง
แหล่งอ้างอิง
https://www.dailymail.co.uk/sport/football/article-2334310/Manchester-United-play-synthetic-pitch-800-000-Old-Trafford-overhaul.html
https://www.goal.com/en/news/596/exclusive/2013/03/13/3821437/manchester-united-to-spend-500000-on-new-old-trafford-pitch
https://www.manchestereveningnews.co.uk/news/how-etihad-old-trafford-pitches-14819144
https://www.integralturf.com/what-are-the-differences-between-hybrid-grass-and-artificial-turf/
https://www.manutd.com/en/news/detail/how-united-grounds-team-maintain-award-winning-old-trafford-pitch#
https://www.premierleague.com/news/1222177
https://en.wikipedia.org/wiki/Old_Trafford
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
>> หมดยุครุนแรง : เกิดอะไรกับลูกหนังสมัยใหม่ ที่ทำให้แข้งฮาร์ดแมนไร้ที่ยืน | Main Stand
>> จีซองถึงฮึงมิน : ทำไมนักเตะเกาหลีประสบความสำเร็จในพรีเมียร์ลีกกว่าแข้งญี่ปุ่น | Main Stand
ช่องดูบอลสด ดูบอลออนไลน์ และกีฬาชั้นนำทั่วโลก >> คลิกที่นี่
ดูบอลพรีเมียร์ลีกฟรี ทุกสัปดาห์ ผ่านทาง ID Station >> คลิกที่นี่
รวมข้อมูลแก้ไขปัญหาการใช้งาน รับชม หรือโปรโมชันกิจกรรมต่างๆ >> คลิกที่นี่