รีเซต
Pain for Get – เจ็บแค่ไหนก็ยังไหวอยู่ : ‘ข้อเท้าแพลง’ อาการบาดเจ็บยอดฮิตของโลกกีฬา

Pain for Get – เจ็บแค่ไหนก็ยังไหวอยู่ : ‘ข้อเท้าแพลง’ อาการบาดเจ็บยอดฮิตของโลกกีฬา

Pain for Get – เจ็บแค่ไหนก็ยังไหวอยู่ : ‘ข้อเท้าแพลง’ อาการบาดเจ็บยอดฮิตของโลกกีฬา
Mr.BOSTON
8 พฤศจิกายน 2563 ( 08:00 )
1K

ข้อเท้าแพลง (ankle sprain) เป็นอาการซึ่งมักเกิดได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน และเป็นอาการที่พบได้บ่อยเป็นพิเศษในโลกของกีฬา ไล่ตั้งแต่ กรีฑา, ฟุตบอล, เทนนิส, บาสเก็ตบอล อเมริกันฟุตบอล พบได้แม้กระทั้งกีฬาอย่างว่ายน้ำ (ในจังหวะกลับตัวแต่ผิดจังหวะ) นั่นทำให้อาการนี้กลายเป็นอาการบาดเจ็บยอดฮิตของโลกกีฬาไปโดยปริยาย

ข้อเท้าแพลงนั้นมีอาการหลายระดับไล่ตั้งแต่เล็กน้อยจากอาการบิด หรือ ตึงของเส้นเอ็น ไปจนถึงอาการร้ายแรงแบบ เส้นเอ็นฉีกขาดทั้งเส้น และ/หรือ กล้ามเนื้อฉีกขาด ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการปวดหรือบวมที่เท้า อาจจะมีความลำบากในการสวมรองเท้าซึ่งโดยปกติเมื่อมีข้อเท้าพลิกซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการพลิกเข้าด้านใน

ในโลกกีฬาก็มีนักกีฬานับไม่ถ้วนที่เคยมีอาการดังกล่าวจนต้องพักรักษาตัว ถ้ายกตัวอย่างให้เห็นภาพ คืออาการบาดเจ็บที่ข้อเท้าของ แฮร์รี่ เคน ในเกมกับ เวสต์แฮม ยูไนเต็ด เมื่อปลายฤดูกาลก่อนที่ต้องพักราว 3-4 เกม แต่ถ้าจะเอาแบบหนัก ๆ ก็อาการข้อเท้าแพลงจนต้องถอนตัวออกจาก ยูเอส โอเพ่น ปีล่าสุดของ เซเรน่า วิลเลี่ยมส์ หรืออีกเคสคือ อาการข้อเท้าแพลงในเกมที่ 3 ที่เจอกับไมอามี่ ฮีต ของ ยานนิส อันเทโทคูมโป้ สตาร์ของ มิลวอกกี้ บัคส์

ซึ่งจะเห็นว่า อาการข้อเท้าแพลงนั้นเกิดขึ้นได้กับการเล่นกีฬาทุกชนิด และทุกวงการ นอกจากนี้ อาการนี้ยังเกิดได้กับทั้งมือไหม่ และมืออาชีพอีกด้วย โดยสาเหตุหลัก ๆ ก็น่าจะมาจากอุบัติเหตุระหว่างการเล่นกีฬา การเข้าบอลไม่ระวัง การลงพื้นไม่ดี และอาจจะรวมถึงการสวนใส่รองเท้าที่มีความกว้างมากกว่าเท้าทำให้การลงเท้าไม่มั่นคงก็ได้

โดยเบื้องต้น อาการข้อเท้าแพลงแบ่งความรุนแรงได้ 3 ระดับ คือ ระดับ 1 มีการยืดหรือขาดของเอ็นเพียงเล็กน้อย, ระดับ 2 มีการยืดหรือขาดของเอ็นบางส่วน และ ระดับ 3 มีการยืดหรือขาดของเอ็นทั้งเส้น ซึ่งจะต้องดูแลแตกต่างกันไป

โดยในอาการที่มีความรุนแรงระดับแรงนั้น อาจจะเดินได้ตามปกติและหายได้เอง แต่หลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักและหานได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ ขณะที่ในระดับที่ 2 คือจะมีออาการปวดบวมเพิ่มเติม อาจจะต้องรับการตรวจรักษาและรับยาเพิ่มเติมจากแพทย์แต่ไม่ต้องผ่าตัด โดยอาการมักหาได้ใน 4-6 สัปดาห์ ทว่าในระดับที่ 3 อาจจะต้องผ่าตัด และใช้เวลารักษานานราว 6-10 เดือนเลยทีเดียว

ดังนั้นแล้ว จะดีกว่าถ้าสามารถหลีกเลี่ยงอาการดังกล่าวได้ โดยการยืดกล้ามเนื้อและอบอุ่นร่างกานก่อนเล่นกีฬา สวมรองเท้า และถุงเท้าให้พอดีกับเท้าเพื่อลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิด รวมไปถึงหมั่นออกกำลังกายเพื่อฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายและการทรงตัว ก็จะช่วยได้ในระดับหนึ่งเช่นกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
>>Pain for Get – เจ็บแค่ไหนก็ยังไหวอยู่ : 'รองช้ำ' อาการคลาสสิกที่นักวิ่งต้องเคยเจอ
>>ร่างไม่พร้อม! เซเรน่า ถอนตัวก่อนรอบ 2 ด้าน ฮาเล็ป เข้ารอบ 3 เฟรนซ์ โอเพ่น

-------------------------------------------------

ช่องดูบอลสด ดูบอลออนไลน์ และกีฬาชั้นนำทั่วโลก >> คลิกที่นี่

ดูบอลพรีเมียร์ลีกฟรี ทุกสัปดาห์ ผ่านทาง ID Station >> คลิกที่นี่

รวมข้อมูลแก้ไขปัญหาการใช้งาน รับชม หรือโปรโมชันกิจกรรมต่างๆ >> คลิกที่นี่

 

ยอดนิยมในตอนนี้