รีเซต
Pain for Get – เจ็บแค่ไหนก็ยังไหวอยู่ : ‘แฮมสตริงตึง’ อาการที่น่ารำคาญที่อาจจะต้องพักยาวนาน

Pain for Get – เจ็บแค่ไหนก็ยังไหวอยู่ : ‘แฮมสตริงตึง’ อาการที่น่ารำคาญที่อาจจะต้องพักยาวนาน

Pain for Get – เจ็บแค่ไหนก็ยังไหวอยู่ : ‘แฮมสตริงตึง’ อาการที่น่ารำคาญที่อาจจะต้องพักยาวนาน
Mr.BOSTON
15 พฤศจิกายน 2563 ( 11:00 )
7.6K

ในบรรดาอาการประเภทกล้ามเนื้อตึง หนึ่งในอาการที่พบบ่อยในคนออกกำลังกายอย่างการวิ่ง, เวทเทรนนิ่ง หรือ กีฬายอดฮิตอย่างฟุตบอล ก็คงหนีไม่พ้นอาการตึงของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง หรือที่เรียกว่า กล้ามเนื้อ แฮมสตริง และคงจะเป็นการดีกว่าถ้าเรามาทำความรู้จักกับอาการนี้ให้มากขึ้นอีกสักหน่อย

อาการ ตึงที่บริเวณกล้ามเนื้อแฮมสตริง คืออาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อธรรมดา แต่อาจจะพัฒนาเป็นอาการกล้ามเนื้อฉีกได้ถ้าไม่ระวังหรือมีการพักทีเพียงพอ สาเหตุที่อาการตึงของกล้ามเนื้อพบบ่อยที่บริเวณกล้ามเนื้อแฮมสตริงเนื่องจาก เป็นรอยต่อระหว่างกล้ามเนื้อกับเส้นเอ็นที่จะไปเกาะที่กระดูกต้นขาเป็นจุดอ่อนแอที่ง่ายต่อการฉีกขาด เนื่องจากเส้นใยกล้ามเนื้อและเส้นใบของเส้นเอ็นที่มาเชื่อมต่อกันนั้น

โดยคนที่มีอาการนี้จะรู้สึกตึงหรือเจ็บปวดเมื่อมีอาการเปลี่ยนท่าทางอย่างเฉียบพลัน อาทิ การเปลี่ยนจากนั่งมายืน หรือ จากการเดินมาเป็นวิ่ง เพราะขณะนั่งกล้ามเนื้อแฮมสตริง หดตัวอยู่ แต่พอเราลุกขึ้นยืน กล้ามเนื้อถูกยืดแบบฉับพลันจึงทำให้เกิดอาการปวดได้ ในบางรายอาจมีอาการบวมที่ต้นขาด้านหลังใกล้ข้อพับเข่าอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับข้างปกติด้วย

อาการตึงที่กล้ามเนื้อแฮมสตริง เป็นอาการที่พบได้บ่อยมากในโลกกีฬา กรณีตัวอย่างล่าสุดก็มีอาการบาดเจ็บของ ฟาบินโญ่ ของ ลิเวอร์พูล, มาร์เซโล่ โบรโซวิช ของ อินเตอร์ มิลาน ที่เป็นนักเตะชื่อดังที่มีอาการดังกล่าวในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ส่วนในกีฬาอื่น ๆ อย่างศึก อเมริกันฟุตบอล NFL ก็เป็นอาการที่พบได้มากที่สุดถึง 53.1%

สาเหตุของอาการตึงที่กล้ามเนื้อแฮมสตริง ก็ไม่ต่างจากการตึงของกล้ามเนื้อส่วนอื่น โดยมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากการใช้งานของกล้ามเนื้อมากเกินไป ดังนั้นวิธีการป้องกัน คือการพยายามไม่ใช้กล้ามเนื้อดังกล่าวมากเกินไป ใช้การวอร์มและ คูลดาวน์เป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการนี้ได้

แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้ว ก็ใช้หลักการรักษาเดียวกับอาการกล้ามเนื้อตึงทั่วไป นั่นคือใช้หลักการ R.I.C.E ซึ่งคือ R = Rest พัก / I = Ice ประคบน้ำแข็ง / C =Compression พันผ้าพันแผล / E =Elevation การยกเท้าเหนือบริเวณหน้าอกเพื่อลดการไหลเวียนเลือด ซึ่งจะชาวยลดอาการบวม นอกจากนี้ยังการยืดกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวยังช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและลดอาการได้ด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
>>Pain for Get – เจ็บแค่ไหนก็ยังไหวอยู่ : ‘ปวดกล้ามเนื้อ’ อาการของคนออกกำลังกายที่ไม่ควรมองข้าม

>>Pain for Get – เจ็บแค่ไหนก็ยังไหวอยู่ : ‘เอ็นร้อยหวายอักเสบ’ อาการสำหรับคนหักโหม

-------------------------------------------------

ดูสดฟรี!! ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ทุกสัปดาห์ พร้อมกีฬาชั้นนำระดับโลกแบบจัดเต็ม ต้อง App TrueID เท่านั้น

รวมข้อมูลแก้ไขปัญหาการใช้งาน รับชม หรือโปรโมชันกิจกรรมต่างๆ >> คลิกที่นี่

ยอดนิยมในตอนนี้

ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
สัมผัสโลกไร้ขีดจำกัดกับทรูไอดี