TRUE TALK: การคัดตัวทีม GS Trophy จากประเทศไทยเป็นครั้งแรกในประวิติศาสตร์ของรายการ ... by “JEDDO”
วันที่2-3 สิงหาคม 2019 ที่ผ่านมา ณ คีรีมายา ไพเวท วัลเล่ย์ บริเวณรอบๆ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ คือจุดรวมพลเจ้าของ BMW Motorrad GS Seriesกว่า 90 คน ที่มีทักษะการขับขี่แนว Hard Enduro ที่เจ๋งที่สุดของประเทศไทยซึ่งพวกเขาได้ร่วมทำการคัดตัวเพื่อไปแข่งรายการInternational GS Trophy ปี 2020 ที่ประเทศNew Zealandและเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการสองล้อที่ Team Thailand ได้รับการอนุมัติจาก กรรมการจัดการแข่งขันให้เป็นประเทศแรกใน South East Asia ที่สามารถรวมทีมนักแข่งจากประเทศไทยจำนวนสามคนเพื่อร่วมชิงชัยในรายการที่โด่งดังที่สุดรายการหนึ่งของโลกและผู้เขียนเองในฐานะที่ได้มีโอกาสไปประจำการเป็นเวลา4 วันเต็มตั้งแต่วันเซ็ทอัพจนถึงวันสุดท้ายจึงต้องมาเล่าสู่กันฟังว่าในโลกใบนี้ยังมีอักหนึ่งวัฒนธรรมการขับขี่ที่น่าสนใจและแตกต่างจากวัฒนธรรมอื่นๆ ที่สามารถรวมพลพรรคคนรัก BMW Motorrad ได้มากมายเช่นนี้
ก่อนเข้าเรื่องของการคัดเลือกทีมไทยไปร่วมกิจกรรมเขาเล่าให้ฟังคร่าวๆ ว่า International GS Trophy คืออะไร
กิจกรรม International GS Trophy คือการเฉลิมฉลองจิตวิญญาณของรถมอเตอร์ไซค์ BMW ตระกูล GS ที่ผสมผสานทั้งความรื่นรมย์ การผจญภัย และความท้าทายที่รถมอเตอร์ไซค์สายลุยตระกูลนี้สามารถมอบให้แก่ผู้ครอบครอง
กิจกรรม International GS Trophy นี้สามารถดึงดูดนักขี่ GS พันธุ์แท้จากทั่วทุกมุมโลกให้มารวมตัวกัน ณ ภูมิประเทศที่สวยงาม ท้าทาย และปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสถานที่ๆ ใช้ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งนั้นล้วนเป็นสถานที่ในฝันของนักขี่ GS ทุกๆ คน
“มันคือประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตของพวกเขา”
กิจกรรม International GS Trophy นี้จัดขึ้นทุกๆ สองปี โดยกิจกรรมแต่ละครั้งจะปรับเปลี่ยนสถานที่ไปไม่ซ้ำกัน กิจกรรมครั้งแรกนั้นจัดขึ้นในปี 2008 ณ อเมริกาเหนือ (ตูนิเซีย) ส่วนครั้งต่อๆ มาจัดขึ้นที่แอฟริกาใต้ (แอฟริกาใต้ สวาซิแลนด์ โมซัมบิก) อเมริกาใต้ (ชิลี อาร์เจนตินา) ทวีปอเมริกาเหนือ (แคนาดา) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย) และครั้งล่าสุดในปี 2018 ณ ทวีปเอเชียกลาง (มองโกเลีย) และแน่นอนว่า ในปี 2020 จะจัดขึ้นที่ประเทศNew Zealand
หัวใจสำคัญของกิจกรรมนี้ไม่ใช่การประลองความเร็วอย่างบ้าระห่ำ หรือกิจกรรมทดสอบความทรหดที่ต้องขับขี่มอเตอร์ไซค์ต่อเนื่องแบบข้ามวันข้ามคืน หากแต่กิจกรรม International GS Trophy นั้นเป็นการแข่งขันในลักษณะของทีมเวอร์ค โดยแต่ทีมแต่ละประเทศนั้นจะประกอบด้วยผู้ขับขี่จำนวนสามคน และทีมนักขี่ทั้งสามคนจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันฝ่าฟันอุปสรรค ทั้งจากภูมิประเทศที่ท้าทาย และสถานีทดสอบที่ไม่มีใครคาดเดาได้ แน่หล่ะ ขึ้นชื่อว่าการแข่งขันก็ย่อมต้องมีผู้แพ้และผู้ชนะ แต่การหลับหูหลับตาตะบี้ตะบันที่จะเป็นที่หนึ่งกลับไม่ใช่หัวใจของกิจกรรมนี้
กิจกรรม International GS Trophy นั้นใช้เวลาในการแข่งขันราวเจ็ดหรือแปดวัน และหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมการขับขี่และแข่งขันในแต่ละวัน เหล่านักขี่จากทุกๆ ประเทศจะมารวมตัวกันที่แคมป์ไฟ นั่งผิงไฟสู้ความหนาวเย็นจากอุณหภูมิที่เริ่มลดต่ำ หยอกล้อ พูดคุย แลกเปลี่ยนทัศนคติ ประสบการณ์ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน นี่คือช่วงเวลาแห่งการหลอมรวมความเป็นเพื่อน เป็นพี่ เป็นน้องที่มีใจรักในสิ่งเดียวกัน
“มิตรภาพที่สวยงามก่อเกิดขึ้นบนดินแดนอันไกลโพ้น ภายใต้แสงดาวที่สวยงาม”
ในส่วนกิจกรรมการแข่งขันเพื่อเก็บคะแนน หัวใจสำคัญคือการเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจในเพื่อนร่วมทีม เส้นทางการขับขี่ และโจทย์ที่ท้าทาย ทีมที่ประสบความสำเร็จคือทีมที่มีทักษะการขับขี่ที่ดี มีร่างกายที่แข็งแกร่ง มีไหวพริบปฏิภาณ อีกทั้งยังต้องมีความเข้าใจในสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ และมีความถ้อยทีถ้อยอาศัยกับเพื่อนร่วมทีม
นักขี่ GS ชาวไทยได้มีโอกาสเข้าร่วมในกิจกรรม International GS Trophy ตั้งแต่ปี 2016 และ 2018 ในฐานะหนึ่งในสมาชิกทีมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Team) โดยในปี 2016 นั้นทีมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยสามนักขี่จากประเทศไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย ส่วนในปี 2018 นั้นก็มีประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
จุดหมายปลายทางสำหรับกิจกรรม International GS Trophy ครั้งต่อไปในปี 2020 นั้นถูกกำหนดไว้แล้วที่ประเทศนิวซีแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์แห่งซีกโลกใต้ และนี่เป็นครั้งแรกที่ทีมชาติไทย (Team Thailand) จะมีชื่อปรากฎบนกระดานคะแนนอย่างเต็มภาคภูมิ พวกเขาจะเป็นหนึ่งใน19 ทีมจากทั่วโลกที่มีโอกาสอวดลวดลายการขับขี่ การทำงานแบบเป็นทีม และนี่คือโอกาสอันดีที่เราจะได้แสดงให้ทั่วโลกได้เห็นถึงศักยภาพของคนไทยได้อย่างเต็มที่!
โดยกิจกรรมการคัดเลือกนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3 สิงหาคม 2019 ที่ผ่านมา
KIRI MAYA KHAOM YAI
ผู้เขียนมีโอกาสเข้าร่วมสังเกตการณ์รายการคัดตัวในครั้งนี้ ขอบอกว่า BMW Motorrad Thailand ที่เป็นเจ้าภาพ ร่วมกัยบทีมงาน Enduro Park Thailandจัดงานได้ยิ่งใหญ่ อลังการ และสมศักดิ์ศรีมากในการวางแผนงาน วางเส้นทางการแข่งขัน หรือ ด่านต่างๆ ได้อย่างลงตัว โดยแบ่งเป็นการคัดตัวสองวันเต็ม สำหรับผู้สมัครทั้งหมด 90 คน
IT’S NOT A RACE!
ย้ำๆ กันว่า“นี่ไม่ใช่การแข่งขันอย่างเอาเป็นเอาตาย แต่มันคือการนำทักษะการขับขี่ การเอาตัวรอดในสถานการณ์ฉุกเฉินที่จำลองมา และสำคัญที่สุดมันคือ ทีมเวอร์ค”ทอม วูลฟ (Tom Wolf) หัวหน้ามาแชล หรือ GS Trophy Director ที่บินมาจากประเทศเยอรมันกล่าวกับนักแข่งทุกๆ คนอย่างชัดเจน และ ทีมงานได้ออกแบบด่านการแข่งขันต่างๆ ได้ สนุกและสมศักดิ์ศรีมากๆ สำหรับผู้ชนะ ที่สำคัญที่สุด ทุกคนในทีมห้ามทิ้งกัน รถและคนทั้งสามจะต้องเข้าเส้นชัยด้วยกันเท่านั้น
THE QUALIFERS: 2 AUGUST 2019
วันนี้เป็นวันแรกในการคัดตัวจากผู้แข่งขันทั้งหมด 90 คนโดยมี ชาย 82 คน และหญิง 8 คน ให้เหลือเพียง ชาย 9 คน และ หญิง 5 คน ในรอบสุดท้าย
ความสนุกเกิดขึ้นตั้งแต่วันแรกเพราะ นักแข่งทุกคนจะต้องผ่านด่านทั้งหมด 3 ด่าน
ด่านที่ 1: ภาษาอังกฤษ
การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ เพราะทีมไทยจะไมมีล่ามไปด้วย การเดินทางที่ค่อนข้างทุรกันดารจะต้องฟังคำสั่งทั้งหมดเอง จึงต้องผ่านด่านนี้และเก็บคะแนนให้ได้เหนือกว่าคนอื่น ด่านนี้ไม่เกี่ยวกับทักษะการขี่รถ
ด่านที่ 2: ทักษะการควบคุมรถ
ด่านนี้เริ่มให้เห็นว่าทักษะนั้นสำคัญที่สุด มันไม่ใช่เรื่องความเร็วแต่เป็นการควบคุมรถในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ เช่นการใช้ ฟูลล๊อค การข้ามสิ่งกีดขวางหรืออุปสรรคต่างๆ เป็นต้น
ด่านที่ 3: การขับขี่ระยะทาง
สาม กิโลเมตรบนเส้นทาง อ๊อฟโร๊ด และต้องผ่าน ดงป่าไม้จำลอง หรือ สิ่งกีดขวาง และหัวใจของมันคือความเร็ว โดยมีการนำเทคโนโลยี การจับเวลาด้วยระบบ RFID จากบริษัท ผู้เชี่ยวชาญจาก Digit 3 มาให้บริการเพื่อความแม่นยำในการรายงานผล
ทุกๆ ด่านๆ ไม่ง่าย หากทำผิดกฎ สามารถถูกปรับออกจากการแข่งขันทันที
และในที่สุด เราก็ได้ผู้มีคะแนนสูงสุดสำหรับทีม ชาย 9 คน และทีมหญิง 3 คน โดยทีมหญิงมีสำรอง 2 คน
“ในการแข่งขันสิ งที่สำคัญที่สุดคือการรักษาเวลา ขอให้ นักแข่งที่ติดสำรองเตรียมตัวให้พร้อม เพราะ อะไรก็เกิดขึ้นได้ และพวกคุณจะต้องพร้อม เสมอเมื่อถูกเรียกตัว” ทอม กล่าวในการดินเนอร์ หลังจากประกาศรายชื่อ
เดี๋ยวจะเล่าใหฟ้ฟังว่าเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณชอบดราม่า…
THE FINAL: 3 AUGUST 2019
วันตัดสินว่า นักแข่งที่ดีที่สุดของทีมชาย 24 คน จะเหลือเพียง 3 คน ที่จะได้ไป แข่งที่ New Zealand และ นักแข่งหญิง จะเหลือเพียง 1 คน ที่จะต้องไป ประเทศสเปน เพื่อ คัดตัวรอบสอง ก่อนร่วมทีม เอเชีย บอกได้เลยว่ามันสุดๆ
บรีฟกันหลังอาหารเช้าแล้วเริ่มแข่งทันทีโดยครึ่งวันแรกจะเป็นการแบ่งออกเป็น3 ทีม ทีมละ 3 คน สำหรับทีมชาย ส่วนทีมหญิง เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น
นักแข่งหญิง เรารู้ๆ กันอยู่ ว่าห่วงสวยเสมอ เพราะช่างภาพงานนี้เพียบ!
นักแข่งหญิงผู้มีคะแนนนำอันดับ 1มาช้า 5 นาที เนื่องจากใช้เวลาติดขนตาปลอมนานเกินไป!!!!!ถูกตัดออกจากการแข่งขันทันที!
ทำให้ ต้องเลื่อน นักแข่งสำรองอันดับหนึ่งเข้าชิงชัยแทน แต่เธอถอดใจและไม่มาสแตนด์บายทำให้นักแข่งหญิงสำรองวอันดับสองหรือคนที่ห้า ได้สิทธ์เข้าแข่งในรอบสุดท้าย ซึ่งเธอเป็นอดีตรองนางสาวไทยหลายปีก่อนที่หลายนคนจับตามอง
เดี๋ยวมีอะไรๆ น่าสนใจ รออ่านนะ
โอเค…กลับมาการแข่งขัน ที่ทีมทั้งหมด จะต้องผ่านด่านการทำงานเป็นทีมซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อสอดคลฃ้องการแข่งขันจริงเช่น
- การใช้ระบบGPS จาก จอLCD อัจฉริยะ ที่ติดรถและทดสอบความฟิตของร่างกาย
- การขี่รถที่ใช้เชือกลากจูงรถของทีมที่ไม่สามารถสตาร์ทเครื่องได้ ถ้ารถล้มคือไม่มีคะแนน
- การถอดล้อหลังออกและประกอปใหม่หากรถยางแตกระหว่างการแข่งขัน
- การกะน้ำหนักของท่อนซุงออกให้มีน้ำหนักไกล้เคียงน้ำหนักที่กรรมการกำหนดให้มากที่สุด
เมื่อเสร็จสิ้นก็จะรวมคะแนน ให้เหลือนักแข่งชายเพียง 9 คน และหญิง 3 คนเพื่อลงชิงชัยในด่านสุดท้ายในช่วงบ่าย
เหมือนรู้งานเพราะ สาวก BMW Motorrad ที่ขี่ GS เริ่มทยอยมากันเต็มสนามเพื่อชมการแข่งขันและในด่านสุดท้ายคือการเกลี่ยคะแนนออกหมด และเหลือเพียงการพา BMW F 850 GS ที่เป็นรถส่วนกลางจำนวน 3คัน เพื่อใช้ในการแข่งขัน
โดยเริ่มจากนักแข่งหญิงก่อน แน่นอนว่าตัวเต็งมีโอกาศได้แข่งก่อนแต่สิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นเมื่อเธอออกนอกเส้นทางไปและกฎเหล็กคือ หากล้อทั้งสองออกจากแนวกั้นคือการตกรอบในทันที และนักแข่งเต็งสองเธอเกิดล้มเบาๆ ในระหว่างการแข่งขันทำให้เธอเสียเวลาไปมาก และนักแข่งหญิงม้ามึดที่ทุกคนมองข้ามแต่พยายามทำตามกฎระเบียบทุกอย่างเพื่อรอคอยโอกาศ โอกาสนั้นก็มาถึงเธอ โดยเธอสามารถพาทักษะที่ยังไม่แข็งแกร่งแต่ประคองเวลาจนสามารถเข้าเส้นชัยเหนือคู่แข่งคนอื่นไปได้อย่างสวยงาม ถือว่าเป็นม้ามืดจริงๆ
ผู้ชนะของนักแข่งหญิงก็คือ คุณ ปูเน่ อนัญญาลัลน์ วัฒนะนุพงษ์
มาถึงนักแข่งชายทั้ง 9คนที่จะคัดเหลือ 3 คน บอกได้คำเดียวว่าเวลาสูสีมากเพราะทักษะไกล้เคียงกัน RFID ระบบการจับเวลาจึงต้องทำหน้าที่ในงานนี้ และ ผู้ชนะทั้งสามคนที่เป็นตัวแทนจากประเทศไทยก็คือ คุณปฐมพงศ์ ลาบุญตาคุณสยาม เขียววัดจันทร์และ คุณไพศาล หุ่นไทย โดยทั้งสามท่านนี้จะนำธงไตรรงค์ ไปประกาศให้โลกรู้ว่า
ทีมไทยมาแล้วจ้า… เจอกัน New Zealand!
“JEDDO”