Pain for Get – เจ็บแค่ไหนก็ยังไหวอยู่ : ‘ไหล่หลุด’ อาการน่ากลัวที่พบได้จากกีฬาที่มีการปะทะ
อาการบาดเจ็บจากการออกำลังกายส่วนมาก มักจะเกิดกับส่วนล่างของร่ายกาย แต่ก็มีอาการบางอย่างที่อาจจะเกิดกับร่างกายส่วนบนได้เช่นกัน โดยส่วนมากจะเป็นอาการประเภท หลุด ร้าว หัก แตก ของกระดูก และในวันนี้ Pain for Get จะพาไปรู้จักกับกับอาการยอดฮิตอย่างหนึ่งของที่เกิดจากกีฬาที่มีการปะทะ นั่นคืออาการ ไหล่หลุด (Shoulder Dislocation)
ไหล่หลุด เป็นอาการที่ข้อไหล่หลุดออกจากเบ้า ปกติแล้วจะหลุดไปได้หลายทิศทาง แต่ส่วนมากมักจะหลุดไปทางด้านหน้า ผู้ที่มีอาการมักจะสามารถสังเกตได้จากภายนอก นั่นคือรูปร่างของไหล่ที่ผิดแปลกไป อาจจะมีอาการไหล่ตก หรือขยับแขนไม่ได้ รวมไปถึงสามารถมองเห็นกระดูกที่เคลื่อนออกและอาจมีลักษณะเป็นก้อนนูน
โดยทั่วไปสำหรับผู้ที่มีอาการนี้คือ ปวดที่หัวไหล่หรือบริเวณรอบข้างอย่างรุนแรง หรือในบางรายอาจจะมีอาการชา หรืออาจจะมีอาการเจ็บเหมือนมีเข็มจิ้มบริเวณใกล้เคียงเช่น คอหรือแขน ไม่ควรพยายามเคลื่อนหัวไหล่กลับด้วยตนเอง เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายหรือพบอาการที่รุนแรงขึ้น
นักกีฬาที่มีการปะทะส่วนมากมักจะมีเสี่ยงจากการบาดเจ็บจากอาการนี้ โดยเฉพาะกีฬา ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล รักบี้ โดยไม่กี่ปีก่อน ผู้เล่นบาสเก็ตบอล อย่าง เควิน เลิฟ ของ คลีฟแลนด์ คาวาเลียร์ส ก็เคยมีอาการนี้ในเกมที่เล่นกับ บอสตัน เซลติกส์ หรือเราจะเห็นได้บ่อยในกีฬารักบี้ด้วย
แม้ในโลกกีฬาเราจะเห็นทีม สตาฟฟ์โค้ช หรือ แพทย์สนามจะดันไหล่ที่หลุดกลับเข้าที่ในทันที แต่ในความจริงไม่ควรพยายามเคลื่อนหัวไหล่กลับด้วยตนเองเพราะจะทำให้เกิดความเสียหายหรือพบอาการที่รุนแรงขึ้น แต่ที่พวกเขาทำได้นั่นเป็นการทำจากแพทย์ โดยผู้ป่วยสามารถ ใช้หมอนหรือม้วนผ้าสอดไว้ระหว่างแขนและลำตัว ประคองแขนโดยใช้ที่คล้องแขน โดยงอแขนช่วงล่างขึ้นให้อยู่ในมุมฉากหรืออยู่ที่บริเวณหน้าอก ก่อนไปหาหมอได้
โดยการรักษาอาการนี้ สามารถทำได้ด้วยกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง โดยทั่วไปคือการพยายามจัดกระดูกให้เข้าที่ และอาจต้องทำการเอกซเรย์เพิ่มเติมเพื่อตรวจว่ากระดูกกลับเข้าไปที่เบ้าเรียบร้อยแล้วหรือไม่ พยายามไม่ขยับและลดความเคลื่อนไหว รวมไปถึงการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ แต่ในรายที่อาการหนักอาจจะต้องมีการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการด้วย
สำหรับผู้ป่วยแล้ว ควรลดการเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหรือปวดที่บริเวณไหล่ และหลีกเลี่ยงการยกของหนัก ควบคู่กับประคบเย็นครั้งละประมาณ 15-20 นาที ในช่วง 1-2 วันแรก เพื่อบรรเทาอาการปวดและบวม เมื่อพบว่ามีอาการที่ดีขึ้นแล้วอาจประคบร้อนเพื่อช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อครั้งละไม่เกิน 20 นาที โดยสามารถใช้ยาแก้ปวดควบคู่กันไปได้ด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
>>Pain for Get – เจ็บแค่ไหนก็ยังไหวอยู่ : ‘เอ็นเข่าฉีก’ อาการหนักที่ทำนักกีฬาพักยาว
>>Pain for Get – เจ็บแค่ไหนก็ยังไหวอยู่ : ‘ปวดหลังล่าง’ ปัญหาจากการกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง
-------------------------------------------------